click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า Metaverse คือ พื้นที่กลางหรือมิติโลกเสมือนที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมหรือมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้แบบเรียลไทม์และเพิ่มพูนประสบการณ์ที่มีด้วยกันภายในโลกเสมือนไม่ต่างอะไรกับโลกจริง 

นอกจากนี้การจะสร้างพื้นที่กลางในโลกดิจิทัลยังต้องคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่อวตารของเราสามารถเข้าไปอยู่ได้จริงรวมถึงจะต้องมีปัจจัยและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รันบนระบบ Metaverse  เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมกับสภาพแวดล้อมในโลกเสมือนได้และมีปฏิกิริยาตอบกลับมา นี่จึงเป็นนิยามของคำว่า  Metaverse Ecosystem (หรือ ระบบนิเวศโลกเสมือน) เพื่อดึงดูดให้เหล่านักลงทุน นักธุรกิจ  เกมเมอร์เข้ามาสร้างคอมมูนิตี้และออกแบบโลกเสมือนให้น่าอยู่มากขึ้น


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


แต่ทว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่โลกเสมือนกลายมาเป็นกระแสทางเทคโนโลยีในปี 2021  ก็เหมือนจะมีข่าวลือหนาหูในด้านลบเข้ามาเพิ่มขึ้น เช่น ข่าวการรุมข่มขืนตัวละครอวตารหญิงใน  Metaverse  ทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและความปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกจริง หรือจะเป็นข่าวการยุบทีมผลิตแว่น VR ของ Meta (aka  Facebook)  ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ 

แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีโลกเสมือนก็ดูเหมือนจะเป็นอีก สื่อกลางหนึ่ง ที่ช่วยเชื่อมต่อผู้คนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นท่ามกลางสภาวะทางโลกที่ต้องห่างไกลกันและกัน ซึ่งจะขอยกตัวอย่างข่าวดีเกี่ยวกับวงการ   Metaverse ในไทยให้เห็นเป็นภาพรวม 

1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตรียมเปิดตัววิทยาเขตแห่งที่ 5 ในโลก  Metaverse  ภายใต้แพลตฟอร์ม T-verse พื้นที่โลกเสมือนสัญชาติไทย พร้อมมอบประสบการณ์เรียนรู้ที่เป็นได้มากกว่า Online และ  Onsite อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่

Thammasart metaverse

ที่มา : The Standard

2. SCB 10X ลุยโลก Metaverse  พร้อมเปิดตัวสำนักงานใหญ่ใน  Metaverse  บน sandbox  ที่พัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ให้ได้ชมเป็นครั้งแรก อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่นี่

SCB metaverse

ที่มา : SCB

 

สรุปคร่าว ๆ ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวมายังไม่ถึงครึ่งปีเต็มอาจจะยังไม่สามารถคาดเดาทิศทางของมันในอนาคตได้อย่างเที่ยงตรงในเวลานี้ เพราะพื้นฐานความรู้และความไม่เข้าใจที่ยังไม่ถ่องแท้เพียงพอ และมีช่องโหว่ให้ต้องพัฒนาไปอีกหลายจุด ซึ่งก็เหมือนกับเทคโนโลยีหลาย ๆ ชิ้นก่อนหน้านี้ที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจนบ้างก็ว่า “บ้า” แต่ในท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมารอดูกันต่อว่าโลกเสมือนจะพาเราไปได้ไกลแค่ไหน อันนำไปสู่หัวข้อ “โลกเสมือนจะดีกว่าโลกจริงหรือไม่? ” ในท้ายบทความ ซึ่งจะมีส่วนอ้างอิงของนิยามระบบนิเวศโลกเสมือนในหัวข้อถัดไปนี้อยู่ด้วย


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


ระบบนิเวศโลกเสมือน (Metaverse Ecosystem) มีอะไรบ้าง?

ระบบนิเวศของ Metaverse คือส่วนขยายที่ส่งเสริมและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของตัวละครอวตาร เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นพื้นที่กลางและใช้สำหรับรองรับอีเวนต์ต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นในอนาคต ดังนั้น  Jon Radoff จึงจำแนกโลกเสมือนออกเป็น 7 ชั้นเพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ในส่วนไหน ซึ่งลำดับชั้นของระบบนิเวศของโลกเสมือนมีทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกัน ดังนี้

 

1. Experience

คือประสบการณ์ที่เราจะได้รับจากการเข้าไปสัมผัสกับโลกเสมือนทั้งการดูแคสเกม ดูคอนเสิร์ต ซื้อสินค้า/ไอเทมเกม การเรียน/ประชุมออนไลน์ เป็นประสบการณ์เสริมที่เราไม่สามารถใช้งานได้สะดวกในโลกจริงหรือเข้าถึงได้ยากลำบาก อาทิ การซื้อไอเทมเกมออนไลน์ที่ปกติจะต้องซื้อขายผ่านหน้า Workplace ของแต่ละเกม แต่โลกเสมือนจะพาผู้เล่นเข้าไปดูสินค้าได้จริง จับหมุนไปมาได้ หรือคุยกับผู้ขายได้แบบตัวต่อตัวในโลกเสมือน

 

2. Discovery

อัลกอริทึมหรือระบบช่วยค้นหา Search Engine ที่ช่วยจับคู่คนกับสิ่งที่ต้องการให้มาอยู่ด้วยกัน มีทั้งแบบ Organic ที่คนเข้าไปค้นหาเองทั้ง Google, Firefox, Epic game, Steam และ Google Play Store และยังรวมไปถึงการสร้าง Engagement กับผู้ใช้งานเช่น คอมเมนต์ ไลก์ แชร์ เป็นต้น และแบบ Ads ที่อัลกอริทึมวิ่งเข้าหาคนเอง เช่น โฆษณาใน Facebook, Instagram, Google, Email Marketing เป็นต้น 

 

3. Creator Economy

การสร้างโลกเสมือนเริ่มต้นมาจากการพึ่งพาเทคโนโลยีจากเหล่า Creator ที่ออกแบบโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์ โปรแกรม และแพลตฟอร์มสำเร็จรูปโดยเฉพาะโดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเอง และด้วยความสะดวกนี้นี่เองทำให้เทคโนโลยีจาก Creator1 กลายมาเป็นที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ให้บริการโปรแกรมสำเร็จรูปคือ Adobe, Shopify, Wix

 

4. Spatial Computing

หรืออีกชื่อคือ การคำนวณเชิงพื้นที่ ใช้เพื่อจำลองชุดข้อมูลที่สร้างมาบน Metaverse และยังสามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาซ้อนทับกับโลกจริงได้ เพื่อเข้าถึงและเพิ่มประสบการณ์จากเดิมให้มากขึ้น ส่วนมากแล้วการใช้เทคโนโลยีจำลองข้อมูลเสมือนหรือการซ้อนทับนี้จะอยู่ในรูปแบบเกมเสียเป็นส่วนมาก อาทิ Unreal Engine, Unity, 3D Engine เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นยังผสานกับอุปกรณ์เทคโนโลยีขยายความเป็นจริงหรือ XR เพื่อช่วยให้เข้าถึงประสบการณ์ได้ดีกว่าเดิม เช่น ระบบ Voice Incognition, การแลกเปลี่ยนข้อมูลชีวภาพ (Biometrics) เป็นต้น

 

5. Decentralization

ระบบไร้ตัวกลาง เราเริ่มเห็นระบบนี้เข้ามาใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เริ่มมีเหรียญคริปโตฯ เข้ามาดิสรับระบบการเงินแบบรวมศูนย์ รวมไปถึงระบบทางการเมืองอย่างการเลือกตั้งผ่านระบบ Decentralization ที่เข้าไปแทรกแซงหรือทุจริตได้ยาก ทั้งนี้ระบบไร้ตัวกลางยังเป็นระบบในอุดมคติที่บรรดาผู้พัฒนาและผู้ใช้งานต่างคาดหวังให้มันเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในโลกเสมือนเพราะจนถึงตอนนี้การเข้าใช้งานพื้นที่โลกเสมือนในแต่ละแพลตฟอร์มยังคงต้องขออนุญาตเข้าถึงได้จากเจ้าของแพลตฟอร์มอยู่เลย

ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ที่ Epic Game ยื่นฟ้องร้อง Apple จากการที่เกม Fortnite ไม่ยอมเสียค่าส่วนแบ่งวางขายเกมให้กับ Apple  ส่งผลให้เกมถูกแบนจากระบบ iOS จึงเป็นที่มาของการยื่นฟ้อง Apple  ที่กล่าวหาว่ามีพฤติกรรมผูกขาดการค้า เป็นต้น

 

6. Human Interface

สื่อกลางที่เชื่อมระหว่างบุคคลเข้ากับโลกเสมือน เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้จะต้องสวมใส่สำหรับเชื่อมต่อสู่โลกโลกเสมือน เช่น แว่น VR,  Nintendo switch,  Xbox  หรือแอปพลิเคชันที่มีส่วนผสมของ  AR เข้าไปด้วย  อาทิ  Instagram Story/ Reel,  Facebook  Story  เป็นต้น

 

7. Infrastructure

การวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงอุปกรณ์กับโลกเสมือนเข้าด้วยกันในรูปแบบฮาร์ดแวร์หรือชิป Semiconductors และการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยผู้ผลิตในกลุ่มนี้ได้แก่  NVIDIA,  AMD,  Apple  และ  Samsung  รวมไปถึงผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลกที่มีผู้ใช้บริการหลายประเทศ อาทิ   Starlink,  Verizon ยิ่งไปกว่านั้นยังนับรวมระบบเก็บข้อมูลพื้นฐานบนคลาวด์ด้วยอย่าง  Google Cloud,  iCloud  และ  Cloudflare เป็นต้น 

นี่คือระบบพื้นฐานตรงระบบนิเวศของโลกเสมือนทั้งที่จำเป็นต้องอาศัยการให้บริการทางอินเทอร์เน็ตรวมถึงชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ต่างๆเพื่อนำมาประกอบเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อผู้ใช้งานกับโลกโลกเสมือนเพื่อสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมสำหรับรองรับผู้ใช้งานที่หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นและลดตัวกลางลงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และเพิ่มความหลากหลายของคอนเทนต์ ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้งานบนโลกเสมือนได้

ซึ่งจากลำดับชั้นของโลกเสมือนทั้งหมด 7 ชั้นนี่เองจึงนำไปสู่คำถามสำคัญว่า “จริง ๆ แล้วการมีอยู่ของโลกเสมือนจะดีกว่าการในโลกจริงหรือเปล่า? หรือถ้ามีข้อดีจะเป็นไปในทิศทางไหน?”

metaverse ecosystem

ลำดับชั้นของระบบนิเวศโลกเสมือนทั้ง 7 ชั้น ที่มา : Medium


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โลกทางเลือก  Metaverse  จะดีกว่าโลกจริงหรือไม่? 

ก่อนหน้านี้มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าในอนาคตผู้คนจะอพยพเข้ามาในโลกโลกเสมือนกันมากขึ้น และละทิ้งโลกความเป็นจริงในที่สุด เขายังอ้างอีกว่าผู้คนจะยินยอมเข้ามาในโลกเสมือนอย่างโดยดีเพราะในโลกเสมือนนั้นมีอะไรที่ “น่าดึงดูด” และ “สะดวกสบาย” เสียจนเราไม่อยากออกไปจากที่นี่เลยด้วยซ้ำ ซึ่งเขาก็ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ถึงแม้ตอนนี้โลกเสมือนจะยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยครบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็เริ่มมีกลุ่มคนที่เข้าไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่ใน โลกเสมือนให้เห็นกันแล้วมากขึ้น”

แต่อย่างไรก็ตามคำถามถึงความน่าอยู่ของโลกเสมือนว่าจะเป็นตัวเลือกในการใช้ชีวิตที่ดีกว่าโลกจริงหรือไม่? ถ้านับจากเหตุการณ์แปลก ๆ ที่เริ่มมีเข้ามาแล้วอย่างการข่มขืนตัวละครอวตารที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น 

metaverse

หนึ่งในฉากจากภาพยนตร์เรื่อง Ready, Player One

 

หากว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วเป็นไปได้สูงที่ผู้คนจะแห่กันเข้ามาในโลกเสมือนมากขึ้น แต่คงไม่ถึงขั้นที่ใช้คำว่า “อพยพ” แบบที่มาร์คได้กล่าวไป สาเหตุเป็นเพราะโลกเราในตอนนี้สภาพแวดล้อมไม่ได้ต่างอะไรกับเมื่อ 20 ปีก่อนมากนักในแง่ของภาพรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด สภาพการเมืองที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดูจะไม่ค่อยเหนียวแน่น ภาวะสงครามที่อาจจะหรือมีมากขึ้นเรื่อย ๆ สภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือ Stagflation ที่อาจจะเกิดขึ้น สมทบกับความเครียดในประชาชนบีบบังคับให้ต้องหันหน้าเข้าสู่โลกที่ความเป็นจริงทำอะไรเราไม่ได้มากนัก ซึ่งก็คือโลกโลกเสมือนนี่แหละ

 

แต่ก็คงจะอยู่ได้ไม่นานนักเพราะในท้ายที่สุดแล้วการออกมาเจอกันตัวต่อตัว การมีปฏิสัมพันธ์แบบซึ่งหน้าก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งโลกต่างโหยหาและคิดถึง หนำซ้ำจะเกิดช่องโหว่ขนาดใหญ่ระหว่างกลุ่มคนที่เข้ามาในโลกเสมือนกับกลุ่มคนที่ไม่ได้เข้ามาในโลกเสมือน 

 

Dr. Linda Kaye ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาไซเบอร์ มหาวิทยาลัย Edge Hill กล่าวว่า “ในขณะที่คนส่วนใหญ่สิงอยู่ในโลกเสมือน สร้าง และเชื่อมต่อกับดิจิทัล พฤติกรรมเหล่านี้จะสร้างกำแพงกีดกันกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในโลกเสมือนห่างออกไปเรื่อย ๆ ” สอดรับกับคำกล่าวของ Leo Gebbie นักวิเคราะห์ VR/AR จากบริษัท CCS Insights ที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “มีระดับความอันตรายอยู่มากหากสัดส่วนประชากรอังกฤษและอเมริกาใช้ชีวิตแทบทั้งหมดอยู่แต่ใน โลกเสมือนทั้งทำงาน ใช้ชีวิต และการสร้างสังคม ทำให้ถูกตัดขาดออกจากกลุ่มประชากรอื่น ๆ ทั้งหมดที่ไม่ได้เข้าสู่โลกเสมือน” สร้างรอยร้าวที่สานต่อได้ยากระหว่างกลุ่มคนทั้งสองแบบที่อาจต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากกว่าจะกลับมาเชื่อมต่อถึงกันได้สำเร็จอีกครั้ง

 

แต่อย่างไรก็ตามก็ใช่ว่าแนวคิดโลกเสมือนจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสียทีเดียว ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากเกมที่นำเสนอประเด็นนี้เอาไว้ได้ดีเมื่อหลายปีก่อน เมื่อคำถามที่ว่า จะเป็นอย่างไรถ้าต้องรักษาชีวิตคนนับล้านเอาไว้บนโลกที่แตกสลายไม่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่กับเกมที่มีชื่อว่า Soma Project

soma project

Soma Project พูดถึงการรักษาเผ่าพันธ์ุมนุษย์ไว้หลังโลกล่มสลาย นำมาสู่คำถามของนักวิทยาศาสตร์ว่าจะรักษาเผ่าพันธ์ุมนุษย์นับพันล้านให้อยู่รอดได้ยังไงโดยที่ไม่พึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย จึงทำให้เกิดแนวคิดแปลกแหวกแนว คือไม่จำเป็นต้องรักษากายเนื้อของคนเอาไว้ แต่เลือกที่จะเก็บรักษา ‘วิญญาณ’ และ ‘ชุดความคิด’ ของคนในรูปแบบรหัสคอมพิวเตอร์ดิจิทัลหรือก็คือการสร้างตัวละครอวตารโดยอาศัยการออกแบบระบบนิเวศโลกเสมือนเอาไว้รองรับจำนวนมนุษย์อวตารที่ถูกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ที่ผูกติดกับดาวเทียมเพื่อยิงขึ้นสู่อวกาศ กลายเป็นมนุษย์ค้างฟ้าอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์ คล้ายกับแนวคิดเรื่อง transhumanism ที่ใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ควบรวมร่างกายและจิตใจมนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับจักรกลที่มีคอนเซปต์ออกมาให้เห็นอยู่แล้ว

 

ประเด็นที่เกมนำมาเล่นนั้นน่าสนใจที่ผมมองว่าอาจเป็นหนึ่งในข้อดีของการมีอยู่ของ Metaverse และหากว่ากันตามโครงสร้างแล้วก็จะไปตรงกับข้อ Human Interface, Infrastructure และ Spatial Computing ที่ช่วยสร้างโลกดิจิทัลใบใหม่ ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริง ๆ เหล่าผู้นำโลกจะรับมือกับมันยังไง? ไม่แน่ว่าโลกเสมือนอาจเป็นทางเลือกเดียวที่ใช้ในวินาทีสุดท้ายก็เป็นได้


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


นอกจากนี้การมีอยู่ของ Metaverse ก็ยังมีข้อดีที่ใครหลายคนอาจเข้าใจกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ในด้านของการเชื่อมต่อผู้คนที่อยู่ห่างไกลกันครึ่งโลกมาไว้ด้วยกัน ประชุมงานได้ง่ายขึ้นเหมือนอยู่ใกล้กัน
  • ส่งเสริมและปรับปรุงระบบสาธารณสุข สำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลสามารถวินิจฉัยโรคและประเมินอาการได้อย่างรวดเร็วโดยใช้การจำลองสภาพร่างกายของผู้ป่วยแล้วอัปโหลดเข้าสู่โลกเสมือน
  • ทำให้เกมออนไลน์น่าตื่นเต้นและสนุกมากขึ้น เกมส่วนใหญ่ในตอนนี้มีแผนที่จะนำเกมเข้าสู่โลกโลกเสมือนแล้ว อาทิ Roblox, Minecraft เป็นต้น นอกจากนี้ทีมผู้พัฒนายังนำหลักการ Decentralization หรือระบบไร้ตัวกลางสำหรับวางจำหน่ายเกมบนโลกเสมือนโดยตรงโดยที่ไม่ผ่านคนกลางอย่าง Steam, Epic games, Google Play, iStore ทำให้เกิดการซื้อขายไอเทมในเกมได้ง่ายขึ้น และผู้เล่นยังสามารถใช้อวตารในการสำรวจโลกเสมือนที่กว้างใหญ่ได้อีกด้วย
  • มอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เหนือชั้น เพราะทุกคนไม่ได้มีเวลาว่างมากพอที่จะไปเที่ยวได้ทั่วโลก การเที่ยวในโลกเสมือนจึงเป็นสิ่งชดเชย ที่จะพานักท่องเที่ยวไปยังที่ที่พวกเขาไม่สามารถไปได้ในโลกจริงด้วยการผสมผสานแว่น VR, AR เพื่อขยายพื้นที่โลกเสมือนออกไปทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเหมือนได้เข้าไปเที่ยวด้วยตัวเองในมุมมอง First-Person

 

และนี่ก็คือตัวอย่างข้อดีของโลกเสมือนที่ได้หยิบยกมาคร่าว ๆ แต่จนแล้วจนรอดเราก็ยังไม่สามารถทำนายอนาคตได้ว่าการมีอยู่ของโลกเสมือนจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการใช้ชีวิตอยู่ในโลกจริงหรือเปล่า หากสืบสาวเอาจากจุดประสงค์ของแพลตฟอร์มผู้พัฒนาที่ต้องการให้โลกเสมือนเป็นพื้นที่กลางอิสระที่ทุกคนมีสิทธิ์และสามารถทำอะไรก็ได้ตามที่อยากทำ ทว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาไปเหมือนจะสวนทางกับการพัฒนาทางจิตใจของมนุษย์ที่แปรเปลี่ยนไม่ทันจึงได้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายดังที่ได้ยกตัวอย่างมา 

 

อย่างไรก็ตามมีหยินก็ต้องมีหยาง หากสภาพแวดล้อมในโลกจริงไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตอีกต่อไป การย้ายตัวเองเข้าไปอยู่ใน Metaverse ตามที่มาร์คได้พูดไว้หรือตามที่เกม Soma Project ได้แต่งเรื่องขึ้นมาก็ดูจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจเกิดขึ้นจริงขึ้นมาได้

 

——————————————————————–

 

ร่วมงานกับทีม Cotactic Media หนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีมรับทำเว็บไซต์ WordPress อย่าง Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ

 

——————————————————————–

 

ติดต่อ

โทร.065-095-9544

Inbox: https://m.me/cotactic

Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล 

https://www.blockdit.com/posts/61986ae8a557e40ca13fd4c0 

https://blog.richardvanhooijdonk.com/en/the-metaverse-blurring-the-lines-between-our-physical-and-virtual-worlds/ 

https://in.mashable.com/tech/28254/humans-will-live-in-metaverse-soon-claims-mark-zuckerberg-what-about-reality 

https://newzoo.com/insights/infographics/metaverse-ecosystem-infographic/ 

https://www.blockdit.com/posts/61986ae8a557e40ca13fd4c0 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Google SERP

ทำไมแบรนด์ถึงควรทำ SEO เรียนรู้กลยุทธ์ติดอันดับการค้นหาผ่าน Google SERP หรือ SERPs

RMF Model

RFM Model คืออะไร? ทำไมการแบ่งกลุ่มลูกค้าถึงสำคัญ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้