หลายครั้งในการจัดแคมเปญการตลาดเพื่อประสิทธิภาพ ในการเข้ารับชมเว็บไซต์ของร้านค้าบนออนไลน์ กระตุ้นความน่าสนใจแก่กลุ่มเป้าหมาย แต่แคมเปญไหนล่ะ? ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งหลายธุรกิจจะเลือกใช้วิธีการวัดผลการตลาดออนไลน์ โดย Google Analytics หรือ ตัววัดผลการตลาดออนไลน์อื่นๆ แต่เครื่องมือวัดผลของนักการตลาดออนไลน์ ที่เก็บทุกรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ คือ UTM เครื่องมือทางตลาดที่ตอบโจทย์ สำหรับนักการตลาดออนไลน์เป็นอย่างดี เพียงสร้างตัวแปร กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงเว็บไซต์ UTM คือ สิ่งที่รวบรวมทุกข้อมูลที่นักการตลาดต้องการมาไว้ให้ในที่เดียว
UTM คืออะไร ?
UTM หรือ Parameters ซึ่งย่อมาจาก Urchin Tracking Module เป็นเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล มเพื่อรายงาน การเข้าถึงของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของธุรกิจที่มาจากแต่ละช่องทาง
หน้าตาของ UTM จะเป็นตัวข้อความที่ไม่คุ้นตาอยู่ตามหลัง URL ที่กลุ่มเป้าหมายคลิกเพื่อเข้าเว็บไซต์ ซึ่งนั่นคือโค้ด UTM ที่นักการตลาดออนไลน์ใส่ตามหลัง URL โดยโค้ดจะแบ่งเป็นหัวข้อแต่ละตัว ตามที่นักการตลาดออนไลน์ต้องการทราบช่องทาง การเข้าถึงเว็บไซต์ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ช่องทางเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์
ประโยชน์ของการทำ UTM
การเก็บข้อมูลด้านการตลาดออนไลน์ที่ได้มาจาก Google Analytics ซึ่ง UTM จะทำหน้าที่รวมข้อมูลการเข้าถึงเฉพาะด้านที่มีเนื้อหาละเอียดมากกว่าเดิม
-
ระบุ Traffic และที่มาได้ชัดเจน
UTM สามารถระบุช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์ของผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการคลิกจากเว็บไซต์ การค้นหาจาก Google การโฆษณาบน Facebook หรือโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
-
รู้พฤติกรรมลูกค้าที่เข้ามาหน้าเว็บไซต์
UTM สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์ได้ละเอียดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคลิกลิงก์ไหนบ้าง ใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์นานขนาดไหน หรือมีการกดซื้อสินค้าบนหน้าเว็บหรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์และแคมเปญการตลาด
-
จัดสรรงบประมาณได้ถูกต้อง
UTM จะแสดงผลการเข้าถึงเว็บไซต์ ตามช่องทางการโปรโมทของแต่ละแคมเปญ ธุรกิจสามารถประเมินการลงทุน เทียบผลลัพธ์ที่ได้กลับมาว่าคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าผลลัพธ์ไม่ได้ควรย้ายการลงทุนไปที่ช่องทางไหน ถ้าผลัพธ์ดีควรเพิ่มงบการลงทุนเท่าไหร่
องค์ประกอบของ UTM มีอะไรบ้าง ?
หากสังเกต URL ของเว็บไซต์ โดยปกติจะมีลักษณะแบบนี้ www.cotactic.com
UTM คือ ตัวแปรตามท้ายของ URL
ตัวอย่างเช่น www.cotactic.com?utm_source=googlr&utm_medium=organic&utm_campaign=blog
จะเห็นได้ว่าจะมีข้อความที่ไม่คุ้นตาต่อท้าย URL ซึงจะมีความยาวมากกว่าปกติ โดย UTM นั้นจะไม่เป็นปัญหาต่อผู้คลิกเข้าชมเว็บไซต์แต่อย่างใด โดย UTM จะแบ่งได้ 5 ตัวแปร คือ
-
UTM_source
แหล่งช่องทางที่ผู้เข้าชม เข้ามาในเว็บไซต์ เช่น Facebook , Instagram , แพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่นักการตลาดนำลิงก์ไปวางเพื่อโปรโมทเว็บไซต์
-
UTM_medium
ช่องทางการคลิกของผู้รับชมเว็บไซต์ การคลิกผ่านเว็บไซต์ที่นำไปฝากลงโฆษณา , คลิกผ่านลิงก์, คลิกผ่านช่องทางการตลาดอื่น ๆ
-
UTM_campaign
ชื่อแคมเปญการตลาดที่นำลิงก์เว็บไซต์วาง เพื่อกระตุ้นการเข้าชมเว็บไซต์ของธุรกิจ หรือ จะเป็นชื่อโปรโมชั่นที่ธุรกิจมีขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น
-
UTM_term
Keyword ที่ธุรกิจลงทุนสำหรับการค้นหาเว็บไซต์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพว่าควรลงทุนในครั้งต่อไปหรือไม่
-
UTM_content
สิ่งที่นอกเหนือจากการทำโฆษณา คือเนื้อหาที่สร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดความสนใจและนำลิงก์วางเพื่อเป็นช่องทางให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อติดตามรับชม เนื้อหาของธุรกิจในครั้งถัดไป
ขั้นตอนการทำ UTM
ขั้นตอนการสร้าง UTM นั้นไม่ยากเกินความสามารถอย่างแน่นอน ยิ่งหากรู้จักกับตัวแปรแต่ละตัวของ UTM แล้วนั้น เพียงแค่นำหัวข้อที่ต้องการจะรวบรวมข้อมูล ใส่ตามตัวแปรที่เป็นหัวข้อเดียวกัน การสร้าง UTM จะสมบูรณ์ได้เพียงไม่กี่นาที
-
เตรียม URL ที่ต้องการติด UTM
ส่วนแรกจะเป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์ธุรกิจ เช่น http://www.cotactic.com แล้วตามด้วยเครื่องหมาย (?) โดยข้อมูลที่อยู่หลังจากเครื่องหมาย (?) จะเป็นข้อมูลในส่วนของ UTM parameter หน้าตาจะเป็นลักษณะนี้ http://www.cotactic.com?utm
-
ระบุ utm_source
ระบุรายละเอียดของ Website Traffic ได้แก่ utm_source
http://www.cotactic.com?utm_source=google
-
ระบุ utm_medium
http://www.cotactic.com?utm_source=google&utm_medium=organic จะสังเกตได้ว่า utm_medium จะต่อท้าย utm_soure
-
ระบุ utm_campaign
http://www.cotactic.com?utm_source=google&utm_medium=organi&utm_campaign=blog
-
ระบุ utm_term
http://www.cotactic.com?utm_source=google&utm_medium=organi&utm_campaign=blog&utm_term=marketing
-
ระบุ utm_content
http://www.cotactic.com?utm_source=google&utm_medium=organi&utm_campaign=blog&utm_term=marketing&utm_content=what_is_utm
หน้าตาของ UTM parameter เมื่อรวมกันทั้งหมดจะมีลักษณะตามนี้และสามารถนำไปใช้งานตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ต้องการ
จะสังเกตได้ว่า UTM แต่ละค่าจะเชื่อมกันด้วยเครื่องหมาย (&) เมื่อกำหนดแต่ละค่าของ UTM ได้แล้วสามารถนำลิงก์ที่ได้ไปแปะไว้ที่ต้นทางตามที่ต้องการ และรอให้ผู้ใช้งานกดเข้ามาจาก URL นั้น ๆ เป็นอันเสร็จสิ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ UTM ไปแล้ว จะรู้ได้เลยว่าการสร้างโค้ดนั้นไม่ยากเลย หากเข้าใจความหมายของตัวแปรและใส่หัวข้อของแต่ละตัวได้ถูกต้อง
ขอบคุณสำหรับแหล่งอ้างอิงข้อมูล