ในการประกอบธุรกิจทุกประเภท หากเราสามารถวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจของเราได้ล่วงหน้า ว่าในอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ก็คงจะดีไม่น้อยจริงไหม เเต่ในความเป็นจริงเเล้วนั้น เป็นไปได้ยากมากที่เราจะสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นล่วงหน้าในอนาคตได้ เนื่องจากโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ผมขอยกตัวอย่างสิ่งที่ธุรกิจต้องเจอในเบื้องต้น ว่ามีอะไรบ้าง ดังนี้ เช่น ภาครัฐเปลี่ยนนโยบายในการประกอบธุรกิจ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายเเรงงาน ทั้งค่าจ้างขั้นต่ำและสวัสดิการ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ เงินฝืด เงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน การเเข็ง-อ่อนค่าของเงิน เทรนด์สุขภาพ ค่านิยมพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีที่จะมาเเทนที่มนุษย์
เหล่านี้ คือ ปัจจัยภายนอก ที่ผู้ประกอบการทุกคน ควบคุมไม่ได้ เเต่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมากทั้งในระยะสั้นเเละระยะยาว เนื่องจากเราต้องดำเนินธุรกิจไปตามกฎหมาย ภายใต้นโยบายต่างๆของภาครัฐ เเละคำถามถัดมาก็คือ เเล้วจะมีเครื่องมือ หรือ ตัวช่วยอะไรบ้าง ที่จะทำให้เราสามารถช่วยให้เราวิเคราะห์ธุรกิจ เเละปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันได้ ซึ่งเครื่องมือที่ว่านั้นก็คือ PEST Analysis นั่นเอง
PEST Analysis คืออะไร?

PEST Analysis คือ เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต ซึ่งเเบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้ การเมือง P=Political, เศรษฐกิจ E=Economic, สังคม S=Social, เเละเทคโนโลยี T=Teachnology เครื่องมือนี้จะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อรับมือกับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ถูกพัฒนาขึ้นใน ปี 1967 โดย Francis J. Aguilar ซึ่งเป็นนักวิชาการชาวอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์เเละการบริหารจัดการ หากนำเครื่องมือนี้มาวิเคราะห์ ทบทวน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ นโยบายที่สอดคล้องกัน จะทำให้วางแผนเเละปรับกลยุทธ์ของธุรกิจได้เเม่นยำมากยิ่งขึ้น ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ เครื่องมือนี้เป็นดั่ง “โหราประจำตัว” ผู้ประกอบการ
มาดูกันต่อว่าปัจจัยภายนอกทั้ง 4 ปัจจัยนี้ คืออะไรเเละมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง
ปัจจัยภายนอกของ PEST Analysis
1. การเมือง (Political)
สำหรับข้อเเรกนั่นคือ การเมือง (Political) ไม่ว่าจะเป็นนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ กฎหมายเเรงงาน ค่าจ้างขั้นต่ำเเละสวัสดิการ ตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลปรับขึ้นค่าเเรงขั้นต่ำ ก็จะส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผลกำไรน้อยลง ผู้ประกอบการก็จะชะลอการจ้างงาน หรือ มองหาเครื่องมืออื่นเพื่อมาทดแทนการจ้างเเรงงานเนื่องจากค่าเเรงมีราคาสูงขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเเละส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีหน้าร้านเป็นอย่างมาก นั่นคือ นโยบายการ Lockdown ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ที่ผ่านมา นโยบายนี้ทำให้ยอดขายหลายธุรกิจลดลงเพราะผู้คนไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านได้ ไม่มีการพบปะ หรือ เจอหน้ากัน หลายธุรกิจได้รับผลกระทบ เเต่ก็มีหลายธุรกิจที่ปรับตัว เช่น ร้านอาหารเปลี่ยนจากการนั่งกินที่ร้าน เป็นการสั่งผ่าน Delivery เเทนทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเเละคงอยู่ได้ ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้้นในขณะนั้น
2. เศรษฐกิจ (Economic)
ข้อถัดมาคือ เศรษฐกิจ (Economic) ปัจจัยนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างชัดเจน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เช่น อัตราการเเลกเปลี่ยนของเงิน ภาวะเงินฝืด-เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หรือ เมื่อเกิดวิกฤตเกิดขึ้น ผู้คนจะจับจ่ายน้อยลง ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ผู้ประกอบการก็ขายไม่ได้ รายได้ลดลง เเต่รายจ่ายเท่าเดิม ส่งผลให้เกิดการขาดทุนในที่สุด เเต่ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น การว่างงานลดลง ผู้คนมีรายได้มากขึ้น ก็จะกล้าใช้จ่าย ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ผู้ประกอบการก็จะมีกำไร เอาไปต่อยอดธุรกิจได้ในอนาคต
3. สังคม (Social)
ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับผู้คนใน สังคม (Social) ความเชื่อ เเละวิถีชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจ ตัวอย่าง เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค เทรนด์สุขภาพ ความงาม หรือ Generation ต่างๆ จึงต้องมีการจำเเนกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้อง ตอบโจทย์กับสินค้าที่ผลิต เนื่องจากทุกวันนี้สินค้าชิ้นเดียว ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้กับทุกคน หรือ ทุกวัย เพราะเเต่ละช่วงอายุ มีความชอบ ไลฟ์สไตล์เเละวิถีชีวิต ที่เเตกต่างกัน จึงควรต้องรู้ว่า
ผู้บริโภคกำลังสนใจอะไร อยากได้อะไร เพื่อที่ธุรกิจจะได้วางแผน เเละปรับกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์กับความต้องการนั้น
4. เทคโนโลยี (Technology)
เป็นสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ในยุคปัจจุบันในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ปรับตัวได้ทันเท่านั้นจึงจะเป็นผู้อยู่รอด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การที่ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด ในอดีตเคยใช้จ่ายด้วยเงินสดตลอดมา เเต่ทุกวันนี้ สามารถใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ผ่านมือถือเเค่เครื่องเดียว เพียงเเค่สแกน QR Code ก็สามารถโอนเงิน-รับเงิน กันได้เเล้ว ไม่ต้องขึ้นเช็ค ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารดั่งสมัยก่อน หรือ ในยุคปัจจุบันสามารถซื้อของผ่าน Social แบบไม่มีต้องมีหน้าร้าน ทำให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจที่จะต้องมีหน้าร้าน มีที่ดิน ทำเลทอง เหมือนยุคที่ผ่านมา
ความสำคัญของ PEST Analysis กับธุรกิจ

ถัดมาเราจะมาดูกันต่อว่าเเล้ว PEST Analysis มีความสำคัญอย่างไรบ้างกับธุรกิจของเราเเละเราสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างจากเครื่องมือนี้
1. การวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
PEST Analysis ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจสภาพแวดล้อมที่คู่แข่งต้องเผชิญเช่นเดียวกัน ทำให้สามารถประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งในบริบทของปัจจัยภายนอกได้ เช่น เมื่อภาครัฐออกนโยบายนี้ ส่งผลกระทบต่อคู่เเข่งอย่างไร เเละเราจะปรับตัวอย่างไร อะไรคือ สิ่งที่คู่เเข่งไม่มีเเละเรามี เรามีความเเตกต่างมากน้อยเเค่ไหน ยังมีช่องว่างทางการตลาดเพื่อให้เพิ่มส่วนเเบ่งทางธุรกิจได้อีกหรือไม่
2. การเข้าใจลูกค้าและการทำการตลาดที่ตรงใจ
PEST Analysis ช่วยให้เข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า เช่น เทรนด์สุภาพ ลูกค้าต้องการน้ำดื่มที่มีประโยชน์ มีวิตามิน เเละยังต้องการความอร่อย เมื่อรู้ถึงความต้องการ เข้าใจสิ่งที่ลูกค้าคิด ก็จะสามารถผลิตสินค้าได้ตอบโจทย์ ทำการตลาดที่ตรงใจกับผู้บริโภคได้ในที่สุด
3. การพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยเเล้ว ผู้ประกอบการก็จะรู้ว่า ปัจจัยทั้ง 4 ส่งผลอย่างไร สิ่งไหนที่ดีเเละไม่ดี อะไรที่ทำเเล้วเวิร์ค ทำให้เราสร้างกลยุทธ์ที่ตรงจุด เลือกการทำการตลาดได้อย่างเหมาะสมกับช่องทางเเละพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
4. การประเมินความเสี่ยงและเตรียมการรับมือ
PEST Analysis ช่วยในการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น
- ความเสี่ยงทางการเมือง ภาครัฐมีการเปลี่ยนนโยบาย ปรับเปลี่ยนกฎหมาย
- ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น-ลดลง อัตราเเลกเปลี่ยน
- ความเสี่ยงทางสังคม ค่านิยมเดิมเปลี่ยนไป เทรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมา เช่น สุขภาพ ความงาม พฤติกรรมผู้บริโภค
- ความเสี่ยงทางเทคโนโลยี สินค้าที่ล้าสมัย ไม่ตอบโจทย์กับยุคปัจจุบัน เมื่อทำการวิเคราะห์จะสามารถพัฒนาเเละวางแผนผลิตสินค้า ในสอดคล้องกับเทคโนโลยีในอนาคตได้
5. การติดตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกอย่างทันท่วงที
ในการวิเคราะห์ PEST Analysis เราจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอยู่เเล้ว ซึ่งเราสามารถนำการวิเคราะห์มาปรับใช้ในการเตรียมพร้อมเพื่อการปรับตัว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ เเละเป็นตัวช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจบนข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัจจุบันเเละครอบคลุม
ขั้นตอนในการใช้ PEST Analysis

ถัดมาเรามาดูกันว่าขั้นตอนในการใช้เครื่องมือ PEST Analysis นั้นมีอะไรบ้าง
1. รวบรวมข้อมูล
ในขั้นตอนเเรกเราจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในทุกด้านที่มีผลกระทบต่อธุรกิจของเรา ซึ่งสอดคล้องกับ 4 ด้านตาม PEST แบ่งเป็น
- การเมือง (Political) นโยบายภาครัฐเป็นอย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา มีอะไรบ้างที่เราจะต้องพิจารณาเพิ่มเติม
- เศรษฐกิจ (Economic) เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร มีการเติบโตหรือถดถอย อัตราเเลกเปลี่ยนที่ปรับตัว ส่งผลต่อธุรกิจเราหรือไม่ รวมทั้งเราต้องรู้ถึง ภาษีว่ามีการปรับตัวอย่างไร อัตราการว่างงานในตอนนั้นเป็นอย่างไร นี่คือข้อมูลที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อการตัดสินใจ
- สังคม (Social) ส่วนเรื่องของสังคมที่เกี่ยวกับผู้คน เราต้องรู้ถึงพฤติกรรมของบริโภคว่าเป็นอย่างไร พวกเขามีกำลังซื้อหรือไม่ มีความชอบหรือความต้องการอย่างไรบ้าง กลุ่มลูกค้าเเต่ละช่วงอายุนั้น มีความต้องการเป็นอย่างไร
- เทคโนโลยี (Teachnology) มีนวัตกรรมมอะไรบ้างที่ส่งเสริมธุรกิจของเรา หรือคู่เเข่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่าเราหรือไม่ นอกจากนั้น เรายังต้องมองหาเทคโนโลยีเพิ่มเติมเพื่อที่จะมาช่วยพัฒนาธุรกิจของเราให้เติบโตก้าวหน้ามากกว่าคู่เเข่งได้
2. วิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบเพื่อระบุโอกาสและสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ:
- การจัดระเบียบข้อมูล – ควรจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามมิติของ PEST เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ อาจใช้ตารางหรือเมทริกซ์เพื่อจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- การประเมินผลกระทบ – วิเคราะห์ว่าปัจจัยแต่ละด้านว่า มีผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบต่อธุรกิจอย่างไร โดยพิจารณาทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ควรใช้การให้คะแนนหรือระบบจัดลำดับความสำคัญเพื่อกำหนดว่าปัจจัยใดมีผลกระทบมากที่สุด
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ – พิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ เนื่องจากปัจจัยหนึ่งอาจส่งผลต่ออีกปัจจัยหนึ่ง ตัวอย่างเช่น นโยบายรัฐบาล (การเมือง) อาจส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอาจส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม
- การวิเคราะห์แนวโน้ม – ศึกษาแนวโน้มของปัจจัยต่างๆ ว่ากำลังเคลื่อนไปในทิศทางใด และคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การวิเคราะห์แนวโน้มช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น
- การสรุปประเด็นสำคัญ – จัดทำรายงานสรุปที่ระบุโอกาสและภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดที่ได้จากการวิเคราะห์ โดยเชื่อมโยงกับธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยตรง
3. วางกลยุทธ์
ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
- การกำหนดทิศทางกลยุทธ์ – นำผลการวิเคราะห์มากำหนดทิศทางกลยุทธ์องค์กรในระยะยาว โดยพิจารณาว่าปัจจัยภายนอกจะส่งผลต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์กรอย่างไร กลยุทธ์ที่วางไว้ควรตอบเพิ่มโอกาสให้ต่อธุรกิจมากขึ้นและควรพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย
- การจัดทำแผนปฏิบัติการ – พัฒนาแผนปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองต่อผลการวิเคราะห์ PEST โดยกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ และทรัพยากรที่จำเป็น แผนปฏิบัติการควรมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
- การประยุกต์เข้ากับแผนธุรกิจ – ผสานผลการวิเคราะห์และกลยุทธ์ที่วางไว้เข้ากับแผนธุรกิจโดยรวม ทั้งแผนการตลาด แผนการผลิต แผนการเงิน และแผนทรัพยากรบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่าทุกส่วนขององค์กรดำเนินงานสอดคล้องกัน
- การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ – พัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ เพื่อติดตามความคืบหน้าและประเมินผลลัพธ์ของกลยุทธ์ ตัวชี้วัดควรมีความเฉพาะเจาะจง วัดผลได้ และสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ
- การทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง – กำหนดกรอบเวลาในการทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากปัจจัยภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรควรทำการวิเคราะห์ PEST ซ้ำเป็นประจำเพื่อให้กลยุทธ์มีความทันสมัยและตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ยกตัวอย่างการใช้ PEST Analysis [1300 คำ]

เมื่อรู้ขั้นตอนกระบวนการในการใช้ PEST Analysis เเล้ว ทีนี้เรามาดูตัวอย่างในการใช้ PEST Analysis กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจ เห็นภาพมากยิ่งขึ้น
การใช้ PEST Analysis ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท ABC
บริษัท ABC เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรในเมืองใหญ่ บริษัทต้องการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
1. การเมือง (Political)
- สถานการณ์: นโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม เช่น การลดหย่อนภาษีหรืออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ อาจส่งผลดีต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ
- กลยุทธ์: บริษัท ABC ควรติดตามนโยบายภาครัฐและการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสนอโปรโมชันหรือแคมเปญที่เหมาะสมกับนโยบายการกระตุ้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น ส่วนลดหรือโปรโมชั่นพิเศษในช่วงที่ภาครัฐสนับสนุน
2. เศรษฐกิจ (Economic)
- สถานการณ์: ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน หรือการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจสามารถทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายของอสังหาริมทรัพย์
- กลยุทธ์: บริษัท ABC ควรพิจารณาปรับราคาและพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก โดยอาจพิจารณาสร้างคอนโดมิเนียมหรือบ้านในทำเลที่มีราคาสมเหตุสมผล หรือเสนอเงื่อนไขการชำระเงินที่ยืดหยุ่น เช่น การผ่อนชำระระยะยาว หรือแคมเปญสินเชื่อพิเศษร่วมกับสถาบันการเงิน
3. สังคม (Social)
- สถานการณ์: พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายและการใช้ชีวิตในเมือง อาจส่งผลให้ความต้องการคอนโดมิเนียมในเขตเมืองสูงขึ้น
- กลยุทธ์: บริษัท ABC ควรพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มคนเมือง เช่น คอนโดมิเนียมที่มีการออกแบบทันสมัย และสะดวกในการเดินทาง โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับชีวิตในเมือง เช่น ฟิตเนส สระว่ายน้ำ หรือที่จอดรถส่วนตัว
4. เทคโนโลยี (Technology)
- สถานการณ์: การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่ ๆ หรือการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (VR) เพื่อแสดงแบบบ้านหรือคอนโดมิเนียม
- กลยุทธ์: บริษัท ABC ควรลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้ VR หรือ 3D เพื่อให้ลูกค้าสามารถชมโครงการได้แบบเสมือนจริงผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ และนำเสนอการออกแบบบ้านหรือคอนโดมิเนียมในรูปแบบที่น่าสนใจ พร้อมข้อมูลที่ละเอียดและสามารถตรวจสอบได้
การใช้เครื่องมือ PEST Analysis ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากโลกในยุคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจของเรา ซึ่งครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เเละเทคโนโลยี ดังที่กล่าวไปข้างต้น เเละสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ทั้งนั้น ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท เราควรใช้เครื่องมือนี้ในการตรวจสอบธุรกิจของเราอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจยังคงเจริญเติบโตต่อไป เเม้ในโลกที่เปลี่ยนแปลง ติดอาวุธให้ธุรกิจ พิชิตทุกอุปสรรคที่ผ่านมาเข้ามา ดั่งมี “โหรา” หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจไว้ข้างกาย หวังว่าผู้ประกอบการทุกท่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้
ท้ายที่สุดนี้หากผู้ประกอบการธุรกิจไม่อยากปวดหัว ยุ่งยากในการทำความเข้าใจเรื่องการตลาด เรามีผู้เชี่ยวชาญรับดูแล Digital Marketing ให้ Cotactic Media เป็นผู้ช่วยธุรกิจของคุณ ช่วยสร้างสรรค์ผลงาน สร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละช่วยให้ธุรกิจของคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างยั่งยืน ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ผู้เป็นดั่งเสือเเห่งวงการเอนเจนซีโฆษณา
Phone: 065-095-9544
Inbox: m.me/cotactic
Line: @cotactic
——————————————————————–
Source
- The Economic Time : What is ‘PEST Analysis’
- Drexel University Libraries : What is PEST or PESTLE Analysis?
- Investopedia : What Is PEST Analysis? Its Applications and Uses in Business
- Asana : 4 steps of the PEST analysis process