click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

เมื่อไหร่ที่มนุษย์เราอยากทราบคำตอบในเรื่องที่สงสัย ก็มักจะเริ่มต้นตั้งคำถามและสืบหาความจริงเพื่อไม่ต้องรู้สึกติดค้างคาใจ เราต่างเพิ่มความเข้าใจเรื่องราวรอบตัวมากขึ้น ตั้งแต่การมาถึงของยุคอินเทอร์เน็ต พฤติกรรมความขี้สงสัยของมนุษย์ก็ได้รับการตอบสนองผ่านเครื่องมือดิจิทัลอย่าง Search Engine ซึ่ง Google เป็นบริษัทเทคโนโลยีรายแรก ๆ ที่คิดค้นการเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มหาศาลได้สำเร็จ

เนื้อหาไม่ได้ส่งตรงจากผู้เชี่ยวชาญและสถาบันต่าง ๆ ผ่านสื่อดั้งเดิมทางเดียวอีกต่อไป แต่ผู้คนทั่วโลกสามารถแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของตนเองผ่านการสื่อสารบอกเล่าในโลกออนไลน์ ให้เกิดการค้นพบคำตอบหลายแหล่งเรียนรู้อย่างง่ายดายในไม่กี่คลิก จนเป็นเรื่องปกติของชีวิตมนุษย์ยุคใหม่ไปแล้ว

ในบทความนี้ Cotactic จะช่วยเจ้าของธุรกิจและนักการตลาดทบทวนความเข้าใจ ว่าทำไมธุรกิจคุณจึงควรจัดทำเว็บไซต์แบรนด์และวางกลยุทธ์ SEO  (Search Engine Optimization) เพื่อมุ่งหาเทคนิคการสื่อสารการตลาดผ่านคำค้นหาที่มีผู้สนใจเสิร์ชสูงผ่าน Google SERP ซึ่งมีกฎเกณฑ์การคัดเลือกเนื้อหาขึ้นแนะนำเว็บไซต์หน้าแรก Google

SERPs หรือ Google SERP คืออะไร?

SERPs ย่อมาจาก Search Engine Results Page หมายถึง ระบบการประมวลผลการค้นหาของ Google เพื่อคัดสรรเนื้อหาก่อนนำมาแสดงรายการการค้นหา ตามบริบทที่สอดคล้องกับคำสำคัญที่ผู้ค้นหาป้อน Keyword เข้าสู่ Web Platform ของ Google ซึ่งเปรียบเสมือนประตูเปิดไปสู่มิติอื่น ๆ บนโลกออนไลน์ โดยมอบอำนาจการรับรู้และการตัดสินใจกลับมาสู่มือของผู้ใช้ทุกคนผ่านการ SERPs ค้นหาข้อมูลอย่างรอบด้าน และเชื่อมต่อผู้ใช้จำนวนมากในทุกวินาทีแบบไม่มีวันหยุด

เพียงนักสื่อสารการตลาดต้องคอยหมั่นสอดแทรกเนื้อหาเข้าไปอยู่ในผลการค้นหาคำสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์คุณให้ได้อย่างแนบเนียน เพื่อเชื้อเชิญลูกค้าหน้าใหม่คลิกเข้ามาทำความรู้จักแบรนด์ (Brand Awarness) ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ ตรงกับความสนใจของผู้ค้นหา จนสามารถสร้างความคุ้นเคยและความไว้วางใจต่อแบรนด์ เพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย (Conversion) ในอนาคตได้

Google SERP หรือ SERPs คืออะไร? ทำไมนักการตลาดออนไลน์ต้องรู้วิธีการทำงาน

ประเภทการแสดงผลของ Google SERP

SERPs จัดแสดงรายการเว็บไซต์เรียงลำดับตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ โดย Google จะวิเคราะห์ประมวลผลเนื้อหาภายในเว็บไซต์ โครงสร้างเว็บไซต์ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ และจำนวน Backlinks ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดอันดับการค้นหา

โดยประเภทของ SERPs ที่แสดงผลการค้นหาบน Google สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. Organic SERP Listing

แสดงรายการผลการค้นหาแบบออร์แกนิก (Organic SERPs Listing) หมายถึงรายชื่อเว็บไซต์ที่ปรากฏอยู่บนหน้า SERPs แต่ละรายการนั้นไม่ได้เสียค่าโฆษณาเพื่อขึ้นอันดับต้น ๆ บนหน้าแรกของ Google นั่นเท่ากับว่าเว็บไซต์แบรนด์ได้รับคะแนนการประเมินผลจาก Google ว่าเนื้อหาหน้านั้นมีความเกี่ยวข้องและตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้มากที่สุด

ซึ่งนักการตลาดจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ SEO (Search Engine Optimization) วิเคราะห์หาคำสื่อสารการตลาด เพื่อผลิตเนื้อหาที่สนองตอบความอยากรู้ของผู้ที่ค้นหาข้อมูลดังกล่าวผ่าน Google

2. Paid SERP Listing

แสดงรายการผลการค้นหาแบบเสียค่าใช้จ่าย (Paid SERPs Listing) หรือที่เรียกว่า Google Ads หมายถึง รายการเว็บไซต์ที่ผู้ลงโฆษณาจ่ายเงินประมูลราคากับคู่แข่งรายอื่น เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ของตนไปปรากฏอยู่บนพื้นที่ตอนต้นของหน้าแรก ก่อนการแสดงผลการค้นหาแบบออร์แกนิกโดย SERPs ตามปกติ

นักการตลาดจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ SEM (Search Engine Marketing) เพื่อเจาะจงการแสดงผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของผู้ค้น ยิ่งสามารถเลือก Keyword ที่มีแนวโน้มว่าลูกค้าอยู่ระหว่างพิจารณาตัดสินใจซื้อ ก็จะมีโอกาสเสนอขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณได้มากขึ้น

Image5

ทั้ง 2 รูปแบบ SERPs จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหลังบ้านเพื่อติดตามเทรนด์การค้นหาและหลักการวิเคราะห์วิจัยคำค้นหาผ่านเครื่องมือดิจิทัลของ Google ต่อไปนี้

  • Google Search Console
  • Google Keyword Planner
  • Google Analytics
  • Google Business Profile
  • Google PageSpeed Insights

หาก Search Intense แสดงถึงผู้สนใจค้นหา Keyword นั้นเป็นจำนวนมาก หรือสังเกตเห็นแนวโน้มที่จะเกิดความสนใจค้นหาเพิ่มขึ้นในอนาคต นักการตลาดก็ควรจะติดตามคำเหล่านั้น และวางแผนการผลิตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องตามแต่วัตถุประสงค์ทางการตลาด ไม่ว่าจะเพื่อเพิ่มโอกาสนำเสนอแบรนด์สู่สายตาลูกค้าจำนวนมาก หรือมุ่งเน้นเจาะ Potential Customer เพื่อคาดหวังไปถึงการสร้างยอดขายหรือ Lead Generation ในสเตปต่อไป

ฟีเจอร์ Google SERP การแสดงผลการค้นหาที่พบบ่อย

ฟีเจอร์ SERPs มีรูปแบบการแสดงผลหลากหลายประเภท นำเสนอในหน้าแรกการแสดงผลการค้นหาโดยคละรูปแบบกันมากกว่าหนึ่งรูปแบบ ซึ่งผ่านกระบวนการตีความจากคำค้นหา คาดการณ์ความตั้งใจ หรือวัตถุประสงค์ของผู้ค้นหา รวมถึงอาจจัดลำดับการแสดงผลตามความนิยมของผู้ใช้ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนั้น ๆ หรือพฤติกรรมการค้นหาที่มักคลิกเนื้อหารูปแบบนั้นมากกว่ารูปแบบอื่น

1. Featured Snippets

หรือ ‘ผลการค้นหาคำอธิบาย’ มักสรุปข้อมูลเป็นพารากราฟสั้น ๆ ปรากฏอยู่ตอนบนของหน้า Google SERPs เหนือรายการแสดงผลการค้นหาตามปกติ โดยมากจะดึงข้อความท่อนหนึ่งออกมาอธิบายคร่าว ๆ จากเว็บไซต์อ้างอิง หากผู้ค้นหาอยากอ่านเต็ม ๆ ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านต่อได้ บ้างก็แสดงผลเป็นรายการคำตอบเป็นข้อ ๆ, ตาราง, วิดีโอ และ Knowledge Panel

ตัวอย่างเช่น
คำค้นหา: เมืองหลวงของประเทศไทย
กล่องคำตอบ: กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
พร้อมแนบ Link จากเว็บ Wikipedia สรุปเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร

2. People Also Ask

หรือ ‘คำถามที่เกี่ยวข้อง’ แสดงชุดคำถามเป็นไอเดียเพิ่มเติมด้านล่าง Featured Snippet ซึ่งเป็นคำถามที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักค้นหาเพิ่มเติมหลังจากถามคำถามหลัก ช่วยให้ผู้ใช้ไ้ด้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่พวกเขาสนใจอย่างเจาะลึกขึ้น

ตัวอย่างเช่น
คำค้นหา: จักรยาน
คำถามที่เกี่ยวข้อง:
 จักรยานราคาเท่าไหร่ และ วิธีการซ่อมจักรยานเบื้องต้น

3. Related Searches

หรือ ‘ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้อง’ นำเสนอหัวข้อค้นหาเป็นชุดอื่น ๆ ปรากฏตัวเลือกต่อท้าย Featured Snippet ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาคำอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่พวกเขาสนใจในมุมมองที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น
คำค้นหา: จักรยาน
ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้อง:
 ประเภทของจักรยาน, วิธีเลือกซื้อจักรยาน, และแบรนด์จักรยานยอดนิยม

4. Knowledge Panels

หรือ ‘แถบข้อมูลเชิงลึก’ มักปรากฏอยู่ด้านขวาของหน้า SERPs  แถบข้อมูลนี้ดึงฐานข้อมูลมาจาก Knowledge Graph นำมาแสดงข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับประวัติย่อบุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ของสถานที่และสิ่งของ ศิลปะและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหานั้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความรู้จัก หรือเข้าใจเรื่องราวโดยสรุปในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว

5. Web Stories

หรือ ‘สไลด์รวมเรื่องเด่น’ รูปแบบการแสดงผลนี้ปรากฏเฉพาะบนหน้าจอมือถือ นำเสนอข้อมูลคล้ายสไลด์ภาพประกอบเนื้อหาหรือวิดีโอสั้น ค่อนข้างดึงดูดความสนใจผู้ใช้มากกว่าปกติ สามารถเลื่อนดูอัลบั้มจากซ้ายไปขวาตามแนวนอน มักสรุปข่าวสารเหตุการณ์ประจำวันอัปเดตล่าสุด บอกโปรโมชันปัจจุบัน เกร็ดความรู้ หรือเนื้อหาฮาวทู DIY อย่างง่ายทำตามได้ทันที

6. Image Packs

หรือ ‘ผลการค้นหารูปภาพ’ นำเสนอรูปภาพที่ตรงกับคำค้นหา แสดงตัวอย่างบางส่วนจาก Google Image Search โดยปรากฏอยู่ตอนต้นของหน้า SERPs ช่วยให้ผู้ค้นหาเห็นภาพ ซึ่งอาจเลือกอ่านเนื้อหาเว็บไซต์นั้น ๆ ต่อจากภาพประกอบบทความที่ดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้

7. Video Carousels

หรือ ‘ผลการค้นหาวิดีโอ’ ปรากฏเป็นลิสต์รายการแนวตั้ง คัดสรรวิดีโอขนาดยาวจาก Youtube ตามบริบทของคำค้นหา นำเสนออยู่ตอนกลางของหน้า SERPs ผู้ค้นหามักจะมีจุดประสงค์อยากเรียนรู้บทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ หรือรับชมรีวิวเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยมากจะนำเสนอหน้าปกวิดีโอ และสามารถคลิกที่ลูกศรชี้ลงใต้คลิปเพื่อชมภาพ Key Moments สารบัญเนื้อหาแบ่งส่วนสำคัญ ๆ ตาม Timestamp

8. Local Packs

หรือ ‘ผลการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งในพื้นที่’ ที่สอดคล้องกับคำค้นหา ปรากฏเป็นภาพแผนที่จาก Google Map บนแถบขวาของหน้า SERPs โดยแสดงหมุดที่ตั้งกระจายกันไปในพื้นที่ใกล้เคียงคำค้นหา เช่น ชื่อสถานที่ใกล้ฉัน (Near Me) จะแสดงพิกัดตามตำแหน่งที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ หรือแวดวงพื้นที่บริเวณที่ระบุชื่อย่าน เพื่อเตรียมตัววางแผนการเดินทางไปในบริเวณดังกล่าวล่วงหน้า ใต้แผนที่มักจะแสดงรายละเอียดสถานที่ ชื่อธุรกิจ เวลาทำการ ที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ วิธีการเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว และความหนาแน่นของการจราจร เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สำรวจปัจจัยต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเดินทางไปเข้าใช้บริการ

9. Shopping Results

หรือ ‘ผลการค้นหาสินค้า’ มักปรากฏการแสดงผลอยู่ส่วนบนหรือกลางหน้า Google SERP เพื่อเชื่อมโลกธุรกิจ e-commerce หรือ e-marketplace มาสู่ชีวิตประจำวันของผู้คน โดยรวบรวมมาจากหลายแหล่งซื้อขายโดยไม่ได้รับเงินค่าโฆษณา หากมีใครเริ่มแสดงความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทใด Google ก็จะเสนอช่องทางให้เข้าไปเลือกซื้อและเปรียบเทียบราคาด้วยตนเอง

10. Reviews

หรือ ‘ผลการให้คะแนนจากผู้ใช้’ มักแสดงผลลัพธ์เป็นรูปดาวและผลคะแนนเฉลี่ยใต้ผลิตภัณฑ์ สถานที่ หนังสือ และภาพยนตร์ที่ได้รับการรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อเป็นหนึ่งในข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ค้นหา

ข้อดีเมื่อเว็บไซต์ติดหน้าแรก SERPs หรือ Google SERP

ข้อดีเมื่อเว็บไซต์ติดหน้าแรก Google SERP

หาก SERPs แสดงผลเว็บไซต์แบรนด์คุณอยู่ติดหน้าแรก Google จะเพิ่มโอกาสให้แบรนด์คุณเป็นที่รู้จัก และยังมีประโยชน์ต่อธุรกิจอีกมากมาย

1. เพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์

Google SERP จะช่วยเพิ่มโอกาสนำเสนอสื่อในมือของคุณเอง โดยเฉพาะถ้าธุรกิจของคุณมีตัวชี้วัดเป็นจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์ ก็จำเป็นต้องใช้เป็นข้อพิสูจน์ว่าคุณสร้างสรรค์เนื้อหาที่ตรงความสนใจ เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายของคุณ คุณจึงสร้างแรงดึงดูดและมีอิทธิพลทางความคิดของผู้อ่านหรือผู้ชมได้ เป็นผู้นำการขับเคลื่อนสังคมในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ทำให้ผู้คนให้เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ และจดจำแบรนด์คุณได้ผ่านความประทับใจในเนื้อหา ซึ่งอาจนำพาลูกค้าหน้าใหม่หรือพันธมิตรที่ดีมาหาคุณเพิ่มขึ้นในอนาคต

2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

ผู้ค้นหาอาจสนใจผลิตภัณฑ์และบริการของคุณอยู่ก่อนแล้ว การได้ทราบข้อมูลจากเว็บไซต์แบรนด์โดยตรง และสามารถค้นพบได้ง่ายที่หน้าแรกของ Google SERP ก็ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้ใจที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์คุณได้มากขึ้น

3. ลดต้นทุนการทำการตลาด

การวางกลยุทธ์สื่อสารการตลาดออนไลน์ด้วย SEO ทำให้คุณไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าโฆษณาให้ Google และยังเป็นการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน คุ้มค่าแก่การลงทุน เห็นผลระยะยาว หากเว็บไซต์แบรนด์ติดหน้าแรกของ SERPs อย่างต่อเนื่อง ก็เพียงต้องหมั่นตรวจสอบเพื่อรักษาอันดับให้ยาวนาน โดยปรับปรุงเนื้อหาใหม่ เพิ่มความลึกของเนื้อหา ไม่ให้คู่แข่งเอาชนะคุณได้โดยง่าย

4. สร้างยอดขาย

เมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น ย่อมเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณผ่านเว็บ e-commerce หรือคลิกต่อไปยังช่องทางออนไลน์ที่พวกเขาสะดวก ติดต่อสอบถาม หรือขอรับคำปรึกษา เพื่อส่งต่อให้นักขายของคุณปิดการขาย

5. ดึงข้อมูลเชิงลึกมาปรับปรุงการสื่อสารการตลาด

นักการตลาดสามารถดึงข้อมูลน่าสนใจผ่านเครื่องมือของ Google ต่าง ๆ ที่เราแนะนำไปข้างต้นได้ เพื่อติดตามอันดับเว็บไซต์ ติดตามคำค้นยอดนิยมในแวดวง และวิเคราะห์ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าของคุณ และเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีแนวโน้มให้ความสนใจแบรนด์ของคุณ สามารถนำข้อมูลมาใช้พิจารณาปรับปรุงตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์แบรนด์ และการสื่อสารการตลาดเพื่อเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าเดิมให้กลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง

หลักการวางกลยุทธ์ SEO ดันเว็บไซต์แบรนด์ติดหน้าแรก Google SERP

SERPs เกี่ยวข้องกับการทำ SEO โดยตรง หากนักการตลาดเข้าใจเกณฑ์การคัดสรรการแสดงผลการค้นหา เพื่อดันเนื้อหาเว็บไซต์แบรนด์ให้ติดอันดับหน้าแรกของ Google จำเป็นต้องวางกลยุทธ์โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้

  • Marketing Goals ตั้งเป้าสื่อสารแบรนด์ได้ชัดเจน เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาด เพื่อกำหนดตัวชี้วัดสำหรับติดตามผลลัพธ์ SEO ให้บรรลุจุดมุ่งหมายของแบรนด์ตามระยะทางการเติบโตของธุรกิจ
  • Keyword Research and Analysis ค้นคว้าและวิเคราะห์คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ตรงตาม Customer Insight และความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เลือกลงทุนในคำที่มี Search Intense สูง หากสามารถระบุจุดมุ่งหมายของประเภทคำค้นหา แยกตามสเตจของ Customer Journey ได้ จะยิ่งช่วยให้วางกลยุทธ์เนื้อหา Content Marketing ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
    • คำค้นหาประเภทสินค้า ผู้ค้นหายังไม่ได้ปักใจเลือกแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง พวกเขาอาจต้องการอ่านเนื้อหาเปรียบเทียบคุณลักษณะเด่น ข้อแตกต่าง และทราบราคาประกอบการตัดสินใจ
    • คำค้นหาข้อดี-ข้อเสีย โดยระบุชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์และชื่อแบรนด์ มีโอกาสสูงที่พวกเขาจะกลายเป็นลูกค้าของคุณ แสดงว่าพวกเขากำลังต้องการทราบ Funtional Benefit ขั้นตอนการใช้งาน ผลลัพธ์ บริการหลังการขายโดยละเอียดเพื่อตัดสินใจซื้อ แบรนด์อาจนำเสนอเนื้อหาแชร์ประสบการณ์ ผลวิจัย หรือผลลัพธ์จากรีวิวของลูกค้าผู้ใช้จริง มาสนับสนุนข้อดี และเสริมแรงจูงใจด้วยแคมเปญ Giveaway ส่งเสริมการขาย ที่ทำให้ลูกค้าเพิ่มความอยากได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • Content Strategy กำหนดทิศทางเนื้อหา จัดหมวดหมู่คำค้นให้อยู่ภายใต้แต่ละ Content Pillar ยิ่งได้ Long-tail Keyword ก็ยิ่งดี ทำให้สามารถลงลึกเนื้อหาเจาะกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ลึก ถึงแม้จะเล่าหลักการเรื่องเดียวกัน แต่รายละเอียดเนื้อหาจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ เช่น
    • แบ่งย่อยเนื้อหาตาม Pain Point ปัญหาของลูกค้า
    • แบ่งย่อยเนื้อหาตามบริบทชีวิตที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
    • แบ่งย่อยเนื้อหาตามกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเลือกใช้คำศัพท์ที่มีความจำเพาะเจาะจง ตรงสาขาวิชาชีพของผู้เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ ที่มีแนวโน้มจะเป็น Potential Customer เพื่อแสดงตนว่าบริการของคุณมีความเข้าใจธุรกิจของลูกค้าดีพอ และสามารถเป็นเพื่อนคู่คิดของลูกค้าได้
  • Content Quality ใส่ใจในคุณภาพของเนื้อหาเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด ผู้คนสัมผัสได้เสมอว่าคุณมีจุดมุ่งหมายอะไรซ่อนอยู่ มีความจริงใจแค่ไหนที่จะช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ลูกค้า ซึ่งยิ่งลูกค้าของคุณรู้ลึก เข้าใจในเชิงเทคนิคดีขึ้น ลูกค้าของคุณเข้าใจแน่ชัดว่าพวกเขาต้องการอะไรกันแน่ บทสนทนาระหว่างคุณกับลูกค้าจะสนุกและชัดเจน ทีมของคุณก็จะสามารถนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ตรงใจลูกค้า และสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าได้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  • Backlinks แลกลิงก์กับเว็บไซต์ของพันธมิตรหรือสื่อออนไลน์คุณภาพ เพื่อยืนยันว่าคุณมีตัวตนจริงและเป็นที่รู้จักในวงการนั้น ๆ อย่างกว้างขวาง
  • SEO Audits ปรับแต่งเว็บไซต์ให้ลดเวลาการโหลด ช่วยให้ลูกค้าเข้าสู่เว็บไซต์ได้รวดเร็วทันใจ สามารถแสดงผลได้ดีในทุกอุปกรณ์ทั้ง Desktop, Tablet, และ Mobile-friendly

หลังจากนักการตลาดกำหนดกลยุทธ์ SEO และวางแผนสร้างสรรค์เนื้อหาแล้ว ยังสามารถจัดทำ Social Media Marketing Strategy และ Email Marketing Strategy โดยใช้เนื้อหาเดิมนี้ไปต่อยอดได้อีกหลายต่อ แต่อย่าลืมตั้งวัตถุประสงค์ใหม่ และใช้คนละตัวชี้วัดกัน

Cotactic แนะนำให้คุณกระจายเนื้อหาเว็บไซต์ออกโปรโมทบนโลกโซเชียลร่วมด้วย เพื่อช่วยเพิ่ม Traffic กลับมายังหน้าเว็บไซต์ของคุณทางอ้อม และอาจเพิ่มโอกาสที่ผู้คนแชร์เนื้อหาไปยัง Social Media ของตน หรือนำไปให้เครดิตอ้างอิงต่อบน Blog หรือเว็บไซต์ของพวกเขา ขยายการรับรู้แบรนด์ และสร้างแรงดึงดูดลูกค้าทั้งหน้าใหม่และเก่าได้รับทราบความเคลื่อนไหวของแบรนด์ไปพร้อม ๆ กันด้วย

สนใจปรึกษา Cotactic

Digital Marketing Agency ประสบการณ์กว่า 8 ปี ที่พร้อมจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมวางแผนงานการตลาดดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของคุณ ปลดล็อกศักยภาพแบรนด์ของคุณอย่างเข้าใจวัตถุประสงค์เบื้องลึก ช่วยคุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจขึ้นไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ใช่ พร้อมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะคอยสนับสนุนงานสื่อสารการตลาดออนไลน์ ให้คุณประหยัดเวลาและทรัพยากรภายในของคุณ เพิ่มผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อทุกการลงทุนในโฆษณาออนไลน์

ติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรีจาก COTACTIC ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารู้โจทย์ที่ท้าทายของคุณในเบื้องต้น คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


Phone: 065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic

Line: @cotactic

——————————————————————–

Sources:

บทความที่เกี่ยวข้อง

RMF Model

RFM Model คืออะไร? ทำไมการแบ่งกลุ่มลูกค้าถึงสำคัญ

Personal Branding

Personal Branding คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญกับธุรกิจ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้