Data Analysis คืออะไร?
Data Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกเก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อค้นหาสิ่งที่มีประโยชน์มาต่อยอดการทำงานที่เราต้องการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการนำเอาข้อมูลและผลประกอบการทั้งหมด มาตรวจสอบ แยกแยะ และแจกแจงให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนกลยุทธ์ หรือประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของตัวธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถคาดเดาผลลัพธ์หรือจำลองความเป็นไปได้ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด
ดังนั้น Data Analysis จึงถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในยุคดิจิทัล เพราะเราจะสามารถนำเอาข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์โฮมเพจและสื่อสังคมออนไลน์มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ เพื่อนำไปพัฒนาตัวธุรกิจให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่เราต้องการ นับเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ทั่วโลกต่างเลือกใช้
การทำงานของ Data Analysis
1. Market Analysis
Market Analysis คือการวิเคราะห์ตลาดผ่านข้อมูลทั้งหมดที่ตัวธุรกิจได้เก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อหาแนวโน้มการทำงานและความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ แคมเปญ โปรโมชั่น หรือเลือกช่องทางการจำหน่ายสินค้าบริการได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล เพราะมันจะช่วยให้การทำการตลาดบนโลกออนไลน์มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการทำ Market Analysis จึงจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ถึงจะวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและมีความถูกต้องมากที่สุดนั่นเอง
2. Data Mining
Data Mining คือนำเอาข้อมูลจากคลังข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data มาตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียดในเชิงสถิติ เพื่อนำเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปใช้ตามจุดประสงค์ต่าง ๆ ที่เราวางไว้ เช่น เป้าหมายทางธุรกิจ, เป้าหมายทางเศรษฐกิจ, เป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ หรือเป้าหมายทางการแพทย์ ซึ่งการทำเหมืองข้อมูลนั้น จะเป็นการนำเอาข้อมูลดิบที่ถูกเก็บไว้มาเปลี่ยนเป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในอนาคต ซึ่งในภาคธุรกิจนั้นก็มักจะนำเอาข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงแคมเปญทางการตลาด หรือสร้างโปรโมชั่นส่งเสริมการขายเพื่อผลกำไรต่อไป โดยขั้นตอนการทำ Data Mining นั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอนดังนี้
- รวบรวมข้อมูล (Collection) ขั้นตอนแรกจะเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก Big Data หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อทำให้ข้อมูลทั้งหมดที่เรามีเป็นชุดข้อมูลเดียวกัน
- วิเคราะห์และทำความเข้าใจ (Understanding) เมื่อเราได้ชุดข้อมูลมาแล้ว ลำดับถัดไปคือการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นว่าคืออะไร มีที่มาอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวธุรกิจ
- เตรียมข้อมูล (Preparation) ขั้นตอนนี้คือการจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดที่คัดกรองและตรวจสอบแล้ว ให้กลายเป็นไฟล์หรือรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมนำไปใช้
- จำลองข้อมูล (Modeling) ถัดมาเราจะนำข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านการคัดกรองไปจำลองเป็นแบบแผน เพื่อให้สามารถคาดการณ์และแยกประเภทของข้อมูลได้
- ประเมินข้อมูล (Evaluation) ขั้นตอนสุดท้ายคือการประเมินและวิเคราะห์ผลลัพธ์ทั้งหมดที่เราได้มา เพื่อนำเอาข้อมูลที่มีประโยชน์ไปใช้งานให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
อ่าน ทำไม Digital Agency ถึงมีบทบาทสำคัญในยุคสงคราม Big Data เพิ่มเติมได้ที่นี่
ประโยชน์ของ Data Analysis
1. รู้จักกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
อย่างที่เราทราบกันดีว่าทุกวันนี้ Social Media ได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น มันจึงส่งผลให้หลายธุรกิจเริ่มหันมาสร้างตัวตนบนช่องทางออนไลน์เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการนำข้อมูลหรือผลประกอบการต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกออนไลน์มาวิเคราะห์และตรวจสอบ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้เรารู้จักพฤติกรรมลูกค้าและความต้องการของพวกเขามากยิ่งขึ้น มันอาจทำให้เราได้รู้ว่าสินค้าบริการอะไรที่ลูกค้าสนใจซื้อมากที่สุด พวกเขาสนใจคอนเทนต์แบบไหน หรือโปรโมชั่นอะไรที่โดนใจพวกเขามากที่สุด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ในการทำการตลาดทั้งสิ้น เพราะเราจะทราบได้อย่างทันทีว่าต้องออกแบบแคมเปญแบบไหนกลุ่มเป้าหมายถึงจะสนใจมากที่สุด
2. มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ
การทำ Data Analysis จะช่วยให้เรามองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ทางธุรกิจที่เราไม่เคยมองเห็น เพราะมันเป็นกระบวนการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ตัวธุรกิจได้เก็บหรือบันทึกไว้ ทำให้เราได้เห็นข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจเคยมองข้าม นำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมันจะช่วยให้เรามองเห็นว่าเป้าหมายหรือทิศทางที่แบรนด์กำลังเดินไปนั้นถูกต้องหรือไม่ กลยุทธ์หรือแคมเปญการตลาดที่ใช้ได้ผลมากขนาดไหน ซึ่งมันจะช่วยให้ตัวธุรกิจสามารถก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง
3. เพิ่มผลกำไรในระยะยาว
เมื่อเรารู้จักธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น รู้จักลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย ขั้นต่อไปเราก็สามารถนำเอากระบวนการ Data Analysis มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลประกอบการได้ในระยะยาว เพราะตอนนี้เราจะทราบแล้วว่าแคมเปญหรือกลยุทธ์ใดใช้ได้ผลมากที่สุด ลูกค้าชอบโปรโมชั่นแบบไหน ชอบสินค้าหรือบริการอะไร คอนเทนต์อะไรที่ดึงดูดความสนใจพวกเขา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเสริมในสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก หรือแก้ไขปัญหาที่ตัวธุรกิจกำลังเผชิญได้อย่างตรงจุด
4. ศึกษาตลาดและแนวโน้มความเป็นไปได้ในอนาคต
เราสามารถใช้กระบวนการ Data Analysis ศึกษาความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต เพื่อให้ตัวธุรกิจสามารถปรับตัวและพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทำให้เรามองเห็นแนวโน้มความเป็นไปของตลาด และช่วยให้เจ้าของธุรกิจวางแผนหรือวางกลยุทธ์ล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ Data Analysis จึงถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้ตัวธุรกิจสามารถแข่งขันและก้าวเดินต่อไปในอนาคตได้อย่างมั่นคง
แม้ Data Analysis จะเป็นกระบวนการสำคัญที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ามันจำเป็นต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการวิเคราะห์เชิงลึก ถึงจะสามารถแปลงข้อมูลดิบให้ออกมาเป็นฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ คุณควรจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์มืออาชีพมาจัดการหน้าที่ตรงนี้ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องและมีความแม่นยำมากที่สุดครับ
——————————————————————–
หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้
โทร.065-095-9544
Inbox: m.me/cotactic
Line: @cotactic
——————————————————————–
ขอบคุณข้อมูลจาก