Core Web Vitals คืออะไร
Core Web Vitals ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทาง Google คิดค้นขึ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าค้นหา โดยยกเอาประสบการณ์การใช้งานของตัวเว็บไซต์หรือ UX (User Experiencs) มาเป็นมาตรฐานในการตัดสิน ผ่าน 3 องค์ประกอบหลักอย่าง Largest Contentful Paint (LCP), Cumulative Layout Shift (CLS) และ First Input Delay (FID) ที่บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress ที่มีบริการรับทำ SEO ทั่วโลกต่างยึดเป็นเกณฑ์ในการทำงาน
ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นเหมือนตัวชี้วัดคุณภาพของเว็บไซต์ ว่าโฮมเพจธุรกิจของคุณเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขนาดไหน เนื่องจากในปัจจุบันนี้ทาง Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นอันดับหนึ่ง หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าค้นหา ก็จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงองค์ประกอบเหล่านี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่ธุรกิจคุณต้องการ
3 ส่วนประกอบหลักของ Core Web Vitals ที่สำคัญกับการทำ SEO
1.Largest Contentful Paint (LCP)
Largest Contentful Paint หรือ LCP คือการวัดค่าความเร็วในการโหลดของตัวเว็บไซต์ โดยมุ่งเน้นไปที่คอนเทนต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ ซึ่งค่า LCP ที่ดีและเหมาะสมควรใช้เวลาโหลดไม่เกิน 2.5 วินาที แต่ถ้าเกิน 4 วินาทีขึ้นไปเมื่อไหร่ เว็บไซต์ของคุณจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและปรับปรุงอย่างเร่งด่วน โดยปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการที่เว็บไซต์โหลดช้า มีดังนี้
- รูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไป เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการย่อไฟล์ของภาพให้มีขนาดเล็กลง หรือ เปลี่ยนสกุลไฟล์ให้เป็น .jpg แทน .png ก่อนอัปโหลดขึ้นเว็บ
- นำ JavaScrip ที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้ตัวเว็บไซต์มีอัตราการดาวน์โหลดไวขึ้น
- ลบ Plugin ที่ไม่ได้ใช้ หาก Plugin ที่ไม่จำเป็นในเว็บไซต์คุณเยอะเกินไปจะทำให้เว็บโหลดช้าขึ้น
- เอาไฟล์ CSS ที่ไม่ได้ใช้ออก เพื่อป้องกันไม่ให้เบราวเซอร์ต้องโหลดไฟล์ที่ไม่จำเป็น ทำให้เว็บโหลดช้าลง
2.First Input Delay (FID)
First Input Delay หรือ FID คือการวัดการตอบสนองของคำสั่งต่าง ๆ ของผู้ใช้งานกับตัวเว็บไซต์โฮมเพจ เช่น หลังจากที่ผู้ใช้งานกดปุ่มเปิดหน้าต่อไปตัวเว็บจะใช้เวลาโหลดนานไหม หรือกดปุ่มบนเว็บไซต์แล้วมีการตอบสนองทันทีเลยรึเปล่า ซึ่งตัวเว็บไซต์ที่มีค่า FID ในเกณฑ์ที่ดีนั้นจะมีความเร็วในการตอบสนองอยู่ที่ 0.1 วินาที ไม่นับรวมการซูมหรือการ Scroll เลื่อนขึ้นลง โดยปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการที่เว็บไซต์มีการตอบสนองช้า มีดังนี้
- มี Plugin ที่ไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะ Plugin Third Party ที่ไม่ได้มาจาก WordPress โดยตรง เพราะมันอาจทำให้เว็บไซต์ตอบสนองช้าลงได้
- ขาดการ Optimize JavaScript เป็นประจำ หากพบว่า JavaScript ของหน้าเว็บไซต์ประมวลผลมากเกินไป คุณต้องหมั่นคอยตรวจเช็กและ Optimize อยู่เสมอ ว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นและทำไมถึงประมวลผลช้าลง
- ออกแบบโครงสร้างบนหน้าเว็บไซต์ไม่ดี ควรทำให้มีความซับซ้อนน้อยที่สุด เพื่อให้ประเมินผลได้เร็วและตอบสนองได้อย่างทันที
3.Cumulative Layout Shift (CLS)
Cumulative Layout Shift หรือ CLS คือตัวชี้วัดเพื่อเช็กว่าเว็บเรากระตุกหรือมีความเสถียรมากน้อยแค่ไหน ซึ่งความเสถียรที่ว่าคือรูปแบบ Layout ของส่วนประกอบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ ที่จะมีการเคลื่อนหรือมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างโหลดหน้าเว็บ เช่น ข้อความเบี้ยวไปมา, รูปภาพปรากฏในจุดที่ไม่ได้กำหนดไว้, ปุ่มต่าง ๆ เลื่อนอยู่ตลอดไม่หยุดนิ่ง หรือ โฆษณาเด้งรบกวนผู้ใช้งาน เป็นต้น โดยคะแนนหรือค่าที่วัดออกมาได้นั้นจะไม่เป็นหน่วยวินาทีเหมือนข้อก่อนหน้า แต่มันจะเป็นระยะทางที่ส่วนประกอบบนหน้าเว็บไซต์ขยับหรือเลื่อนไปไกลแค่ไหนระหว่างที่โหลด ซึ่งคะแนนที่ได้นั้นไม่ควรเกิน 0.1-0.25 ครับ โดยปัญหาที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุให้เว็บเรากระตุกนั้น มีดังนี้
- วางตำแหน่งปุ่มต่าง ๆ ใกล้กันเกินไป เวลาแสดงผลจึงไม่เสถียรและอาจซ้อนทับกันไปมาได้
- โครงสร้างเว็บไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานบนโทรศัพท์ อาจเพราะว่าคุณออกแบบโครงสร้างบนหน้าเว็บไซต์โดยไม่รองรับการแสดงผลบนโทรศัพท์ ทำให้การแสดงผลผิดเพี้ยนไปเมื่อเปิดบนหน้าจอที่เล็กกว่า
- วาง Layout ของส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่เป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ข้อความ หรือตัวโฆษณา ควรกำหนดขนาดทุกอย่างให้แน่นอนและพยายามจัดให้อยู่ในพื้นที่เหมาะสมที่สุด
วิธีการตรวจเช็กค่า Core Web Vitals ของเว็บไซต์เรา
หลังจากที่เราได้เรียนรู้ถึงความหมายและแนวทางในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตรงกับเกณฑ์การทำงานของ Google ไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่เราจำเป็นต้องรู้ คือการตรวจเช็กค่า Core Web Vitals ของตัวเว็บไซต์ ว่าเว็บของเรามีคะแนนอยู่ที่เท่าไหร่ จำเป็นต้องปรับปรุงหรือแก้ไขในส่วนไหนไหม เพื่อให้ตัวเว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วย 2 เครื่องมือที่ทาง Google พัฒนาขึ้นมาเองอย่าง Page Speed Insights และ Google Search Console
วิธีการใช้ Page Speed Insights ง่าย ๆ ด้วยการใส่ URL เว็บไซต์ลงไป จากนั้นก็กด Analyze
แม้การใช้ Google Search Console จะค่อนข้างยุ่งยาก แต่จะวิเคราะห์ภาพรวมและบอกรายละเอียดได้มากกว่า
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Core Web Vitals ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่คนทำ SEO ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยให้ Google มองเห็นเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือแล้ว มันยังช่วยให้ลูกค้าใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหาติดขัด ทำให้พวกเขาประทับใจและสามารถต่อยอดจนกลายเป็นกิจกรรมการซื้อขายในอนาคตได้ครับ
——————————————————————–
หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้
โทร.065-095-9544
Inbox: m.me/cotactic
Line: @cotactic
——————————————————————–
ขอบคุณข้อมูลจาก