click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ปัจจุบันไม่ว่าใครก็สามารถเปิดธุรกิจและขายของออนไลน์ได้ง่าย ๆ ซึ่งส่งผลทำให้การแข่งขันทางการตลาดยิ่งดุเดือดเข้มข้นกว่าที่เคยและถ้าแบรนด์ไหนที่ไม่มี “ตัวตน” หรือ “ภาพลักษณ์” ที่ชัดเจน จะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการดึงดูดลูกค้าและสร้างยอดขาย อย่างไรก็ตามคุณสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ เพียงแค่สร้างการจดจำและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านการทำกลยุทธ์การตลาด Brand Character หรือบุคลิกภาพของแบรนด์ ซึ่งได้กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่ง

บทความนี้ Cotactic บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ จะพาคุณไปรู้จักกับ Brand Character เจาะลึกกลยุทธ์การสร้างบุคลิกภาพของแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์  พร้อมตัวอย่างแบรนด์ดังที่ประสบความสำเร็จ

Brand Character คือ

What is Brand Character

Brand Character หรือบุคลิกภาพของแบรนด์ คือ การกำหนดลักษณะเฉพาะ ตัวละครและตัวตนที่แบรนด์ต้องการสื่อสารออกไปสู่ลูกค้า การสื่อสารนี้รวมถึงคุณค่า ความเชื่อ จุดยืนและอารมณ์ที่แบรนด์ต้องการให้ลูกค้าจดจำและรู้สึกเมื่อคิดถึงแบรนด์ กุญแจสำคัญของการสร้าง Brand Character จะต้องเชื่อมโยงความรู้สึกของแบรนด์กับลูกค้าให้ได้ ซึ่งการสร้างบุคลิกภาพของแบรนด์ที่แข็งแกร่งไม่เพียงแต่ช่วยสร้างการรับรู้เท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด รวมทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการตลาดในระยะยาว

2 ทฤษฎีสำคัญที่ต้องใช้ในการสร้าง Brand Character

1. Brand Personality

ในขั้นตอนแรกจะต้องทำการเลือกบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับแบรนด์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • ความจริงใจ (Sincerity)
    แบรนด์ที่แสดงถึงความจริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นเหมือนเพื่อนที่ไว้ใจได้ สื่อถึงความเสียสละ จิตใจดี อบอุ่น น้ำเสียงและภาษาที่ใช้มักสุภาพ อ่อนโยน เข้าถึงง่าย เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า เน้นสร้างความไว้วางใจ เช่น แบรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ แบรนด์ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
  • ความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ (Excitement)
    สื่อสารให้แบรนด์ออกมาในรูปแบบที่ตื่นเต้นเร้าใจ เปรียบเสมือนผู้สร้างความสนุกสนาน ท้าทาย โลดโผน ไม่อยู่ในกรอบ นิยมสื่อสารด้วยโทนเสียงที่กระตือรือร้น สนุกสนาน เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการกระตุ้นความสนใจ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ชอบความท้าทาย เช่น แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง แบรนด์รองเท้ากีฬา
  • ความมีอำนาจ (Competence)
    สร้าง Brand Character ที่ให้ความรู้สึก เปรียบเสมือนมีผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ มีความเฉลียวฉลาด และทรงพลัง ให้ความรู้สึกเป็นผู้นำ น้ำเสียงที่ใช้ควรเป็นโทนเสียงที่มั่นใจ น่าเชื่อถือ ซึ่งเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นและนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ เช่น แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า แบรนด์สถาบันการเงิน
  • ความแพรวพราว (Sophistication)
    หากคุณทำแบรนด์เครื่องประดับ แบรนด์รถยนต์หรู หรือธุรกิจที่มีความหรูหรา ต้องสร้างตัวละครของแบรนด์ให้มีรสนิยม ดูดี พรีเมียม เป็นสง่า มีระดับ ใช้โทนเสียงที่หรูหรา นุ่มนวล เน้นกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง
  • ความแข็งแรง (Ruggedness)
    เป็นตัวละครที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง แข็งแรง ทนทาน มุ่งมั่น เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือในด้านประสิทธิภาพ ความทนทาน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เน้นการใช้งานจริง เช่น แบรนด์เครื่องมือช่าง แบรนด์อุปกรณ์กีฬา

2. Brand Archetypes

Brand Archetypes คือ แม่แบบหรือต้นแบบของบุคลิกภาพแบรนด์ที่พัฒนาโดย Carl Jung นักจิตวิทยาชาวสวิสและ Margaret Mark & Carol S. Pearson นักเขียนและนักคิดค้นได้ทำการแบ่งบุคลิกภาพของแบรนด์ออกเป็น 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีภาพลักษณ์ อุปนิสัยและเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  1. วีรบุรุษ (The Hero): มุ่งมั่น กล้าหาญ ต้องการเอาชนะอุปสรรค เปลี่ยนแปลงโลก เช่น Adidas, Nike, FedEx
  2. ผู้กบฏ (The Outlaw): ต่อต้านกฎระเบียบ ท้าทายอำนาจ มุ่งมั่นสร้างความแตกต่าง เช่น Virgin, Diesel
  3. ผู้วิเศษ (The Magician): ชาญฉลาด สร้างสรรค์ มุ่งมั่นสร้างสิ่งใหม่ ๆ เช่น Cocacola, Disney, Dyson
  4. คนรัก (The Lover): โรแมนติก ดึงดูดใจ ความสัมพันธ์ที่หวานชื่น เช่น Chanel, Victoria’s Secret
  5. ผู้ขบขัน (The Jester): ร่าเริง สนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะ เช่น M&M Old spice Dollar, Shave Club
  6. ผู้คนทั่วไป (The Everyman): เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย แสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริง เช่น LYNX, Target, Ikea
  7. ผู้รอบรู้ (The Sage): ฉลาด รอบรู้ แสวงหาความรู้ เช่น Google, BBC, Oxford
  8. ผู้บริสุทธิ์ใจ (The Innocent): มองโลกในแง่ดี ซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ เช่น Dove, Aveeno
  9. ผู้ปกครอง (The Ruler): ทรงพลัง ชาญฉลาด มีความมั่นคง เช่น Louis Vuitton, Rolex, Mercedes Benz
  10. ผู้สร้างสรรค์ (The Creator): คิดนอกกรอบ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น Apple, LEGO, Adobe
  11. ผู้ดูแล (The Caregiver): เมตตา เสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น เช่น TOMs, WWF, Unicef
  12. ผู้ผจญภัย (Explorer): ลึกลับ น่าค้นหา เช่น The North Face, Jeep, Patagonia

Brand Character ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ

1. Visual  

การสร้าง Brand Character หรือการออกแบบตัวละครจำเป็นต้องมีการร่างรูปลักษณ์ภายนอกของตัวละครให้มีความโดดเด่น จดจำง่าย สื่อถึงบุคลิกและสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้สีสันเพิ่มเติม เพื่อสื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก และอาจจะนำโลโก้ของแบรนด์มาผสมผสานกับตัวละคร เพื่อเสริมสร้างการจดจำ

2. Typefaces

Typefaces หรือตัวอักษรใน Brand Character หมายถึงการออกแบบ “ฟอนต์” ที่แบรนด์เลือกใช้ ซึ่งฟอนต์จะมีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น หากนึกถึงฟอนต์ของ Disney จะสื่อให้เห็นถึงความสดใส ความสร้างสรรค์ และจินตนาการ เพื่อให้เห็นภาพเพิ่มเติมจะขอยกตัวอย่างฟอนต์ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้ในการออกแบบ Typefaces ได้แก่

  1. Serif (เซอริฟ) จะมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ ที่ปลายตัวอักษร สื่อถึงความน่าเชื่อถือ ความหรูหรา และความเป็นทางการ เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการภาพลักษณ์แบบคลาสสิค ดูแพง ความน่าเชื่อถือ เช่น แบรนด์เครื่องประดับ สถาบันการเงิน หรือโรงแรม
  2. Sans Serif (ซานเซอริฟ) ไม่มีเส้นเล็ก ๆ ที่ปลายตัวอักษร ดูเรียบง่าย ทันสมัย อ่านง่าย เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการภาพลักษณ์แบบโมเดิร์น เข้าถึงง่าย หรือแบรนด์ที่เน้นความเป็นมิตร เช่น แบรนด์เสื้อผ้า หรือร้านกาแฟ เป็นต้น

3. Element

Element หรือรูปทรงเป็นองค์ประกอบทางภาพต่าง ๆ ที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์ตัวตนของแบรนด์ เช่น

  • สี่เหลี่ยม สื่อถึงความเป็นทางการ มั่นคง น่าเชื่อถือ
  • วงกลม สื่อถึงความเป็นกันเอง ร่าเริง ร่วมสมัย
  • เส้นโค้ง สื่อถึงความอ่อนโยน สง่างาม หรูหรา
  • เส้นตรง สื่อถึงความแข็งแกร่ง มุ่งมั่น จริงจัง

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ Element ที่เหมาะสมกับ Brand Character จะช่วยสร้างภาพลักษณ์และอารมณ์ที่ต้องการให้กับแบรนด์ ช่วยให้แบรนด์เป็นที่จดจำและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. Text

Text ใน Brand Character หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ น้ำเสียง ตลอดจนวิธีการเล่าเรื่องของแบรนด์ ซึ่งจะสื่อถึงตัวตน เอกลักษณ์ การเลือกใช้ Text ที่เหมาะสมนั้น จำเป็นต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ก่อนว่าเป็นใคร มีลักษณะนิสัยอย่างไร เพื่อที่แบรนด์จะสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น กลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น อาจจะใช้ภาษาที่เรียบง่าย สนุกสนาน เข้าใจง่าย ใกล้ชิดกับวัยรุ่น กลุ่มเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญ อาจจะใช้ภาษาที่เป็นทางการ เน้นข้อมูลหลักฐาน เชื่อถือได้ เป็นต้น

การสร้าง Brand Character ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

How to Identify a Brand Character

หลังจากที่เราได้ทราบถึงความหมาย และคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการของ Brand Character ไปแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาเจาะลึกกลยุทธ์การสร้าง Brand Character ที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นและประสบความสำเร็จ

1. Friendliness

การสร้าง Brand Character ให้กับแบรนด์ควรจะสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครให้เข้าถึงง่าย มีความสุภาพ และเป็นมิตร ซึ่งอาจจะเสริมในเรื่องของอารมณ์ให้ตัวละเข้าไปด้วย เช่น อารมณ์สนุกสนาน ความตลก รวมทั้งเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และไม่เป็นทางการมากเกินไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความรู้ที่ดีให้แก่ลูกค้า

2. Trustworthiness

สร้างภาพลักษณ์ตัวละครให้มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา และสามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้าได้ เพื่อสร้างความไว้วางใจ ซึ่งความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า

3. Expertise

หากจะสร้าง Brand Character คุณจำเป็นต้องสื่อสารกับลูกค้าด้วยการแสดงออกถึงการมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ตนเอง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถสร้างตัวละครที่มีภาพลักษณ์ที่เชี่ยวชาญคือ คุณจะต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อให้สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4. Enthusiasm

การสร้าง Brand Character ควรสอดแทรกความรู้สึกที่แสดงถึงความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ทำให้ลูกค้ามั่นใจในแบรนด์ เพื่อดึงดูดความสนใจ สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้ลูกค้าอยากทดลองสินค้าและบริการของแบรนด์

ประโยชน์ของ Brand Character

The Benefits of a Unique BrandCharacter

การสร้าง Brand Character ที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างชัดเจนว่าแบรนด์มีตัวตนอย่างไร ซึ่งหากคุณสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้แบรนด์ของคุณสามารถบรรลุเป้าหมายทางการตลาดได้ รวมทั้งยังได้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. สร้างความโดดเด่น

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าในปัจจุบันใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ง่าย  ทำให้การแข่งขันในตลาดทวีความรุนแรงมากขึ้นและหากสินค้าของแบรนด์คุณไม่มีความโดดเด่นโอกาสที่จะดึงดูดใจลูกค้าและประสบความสำเร็จก็จะยิ่งยากขึ้น ดังนั้นการทำ Brand Character จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้แบรนด์มีความแตกต่างและโดดเด่นอย่างชัดเจน

2. สร้างการจดจำ

เคล็ดลับสำคัญของการสร้าง Brand Character คุณจะต้องนำเอกลักษณ์และคาแรคเตอร์ของแบรนด์ออกมา ควรสื่อถึงคุณค่า ความเชื่อ จุดยืนของแบรนด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้แบรนด์โดดเด่น ลูกค้าจะจดจำแบรนด์ได้ อย่างไรก็ตามการจะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สีและโลโก้ที่น่าจดจำ การเลือกใช้ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ การสร้างตัวละครให้น่าสนใจ เป็นต้น

3. สร้างความเข้าใจ

การสร้างตัวละครของแบรนด์ไม่เพียงแต่จะทำให้ลูกค้าจดจำได้ แต่ยังสามารถทำให้ลูกค้าเข้าใจแบรนด์ได้อีกด้วย เนื่องจากตัวละครที่แบรนด์สร้างขึ้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารระหว่างแบรนด์และลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเข้าใจง่ายขึ้นว่าแบรนด์ต้องการส่งเสริมอะไรและจะมอบคุณค่าอะไรให้แก่ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น Dove แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม สร้างตัวละครที่สื่อถือความเป็นธรรมชาติ ความงามที่แท้จริง และการยอมรับตัวเอง โดยการโฆษณาของ Dove มักจะใช้ผู้หญิงทั่วไปแทนที่จะเป็นนางแบบมืออาชีพ และส่งเสริมให้ผู้หญิงยอมรับและรักตัวเอง อย่างแคมเปญ “Real Beauty” ที่ใช้ผู้หญิงที่มีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ แสดงถึงความงามที่หลากหลาย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อลูกค้าเจอโลโก้หรือนึกถึงแบรนด์ลูกค้าจะเข้าใจได้ทันทีว่า Dove มีจุดยืนและคาแรคเตอร์อย่างไร

ตัวอย่าง Brand Character

Sample brand character

Brand Character หรือตัวละครแบรนด์ เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าสามารถจดจำ เข้าใจ และเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมายกตัวอย่างของแบรนด์ชั้นนำที่ได้สร้างตัวละครแบรนด์ที่สื่อสารออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ตัวละครแบรนด์ของคุณเอง

1. Cotactic

Cotactic เลือกเสือสีส้มเป็นตัวละครของแบรนด์ Brand Character สื่อถึงบุคลิกอันเปี่ยมไปด้วยพลัง ความร่าเริง สดใส และความโดดเด่น ซึ่งเสือตัวนี้ไม่ใช่เสือธรรมดา แต่เป็นเสือที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ เชี่ยวชาญ และเป็นมืออาชีพในด้านการตลาด ซึ่งหากเจาะลึกไปที่การสร้าง Brand Character จะเห็นได้ว่า สีส้มจะสื่อถึงพลัง ความกระตือรือร้น และความสดใส สูทสีคลุมโทนบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพ ดวงตาที่มุ่งมั่นสื่อถึงความรู้ ความเฉียบคม และความมั่นใจ ท่าทางที่กระฉับกระเฉง แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน และความทุ่มเทพร้อมที่จะนำพาธุรกิจของลูกค้าไปสู่เป้าหมาย จึงสรุปได้ว่าเสือ Cotactic ตัวนี้เป็นเสมือนตัวแทนของทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Cotactic ที่พร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความทุ่มเท มุ่งมั่น และนำพาธุรกิจของลูกค้าไปสู่ความสำเร็จ

2. Ronald McDonald

โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เป็นตัวละครมาสคอตประจำแบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด แมคโดนัลด์ ที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยมี  Brand Character ที่โดดเด่น ด้วยการสร้างบุคลิกให้มีความร่าเริง เป็นมิตร และช่างเล่น เสมือนเป็นตัวแทนของความสนุกสนาน เหมาะกับบรรยากาศของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด สร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็ก ๆ และด้วยรูปลักษณ์ที่เป็นตัวตลก สวมชุดสีแดง เหลือง ขาว มีรองเท้าสีแดงขนาดใหญ่ แต่งหน้าด้วยสีสันสดใส ทำให้สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็ก ๆ  และผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี

3. Tony the Tiger

ไม่ว่าใครก็ต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับตัวการ์ตูนมาสคอตประจำซีเรียลอาหารเช้า Frosted Flakes  ของ Kellogg’s เสือตัวสีส้มที่มีชื่อว่า Tony the Tiger ที่ถูกออกมาตั้งแต่ปี 1952 โดย Eugene Kolkey and Leo Burnett และได้กลายเป็นมาสคอตที่ในปัจจุบันยังคงถูกนำมาใช้กับแบรนด์ ภาพลักษณ์ภายนอกจะเป็นเสือตัวใหญ่สีส้ม มีจมูกสีน้ำเงิน และสวมผ้าพันคอสีแดง ซึ่งบุคลิกของ Tony the Tiger จะมีความสดใส ร่าเริง  เป็นมิตร  มีพลัง ทั้งยังมีวลีเด็ดที่ชอบพูดคือ “They’re Grrrrreat!” ซึ่งบทบาทของเจ้าเสือตัวนี้เสมือนตัวแทนของอาหารเช้าที่ดี มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางโภชนาการ

สรุป

Brand Character คือภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่แบรนด์สร้างขึ้น ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการออกแบบโลโก้ บรรจุภัณฑ์ และตัวละครของแบรนด์ เพื่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างมีเอกลักษณ์ สะท้อนถึงคุณค่า ความเชื่อ และจุดยืนของแบรนด์ ซึ่งช่วยให้แบรนด์มีความโดดเด่นและน่าจดจำ การมี Brand Character ที่ชัดเจนและสอดคล้องกันจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า และเสริมสร้างความภักดีในระยะยาว

สนใจปรึกษา Cotactic

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่มีทีมการตลาด หรือเป็นนักการตลาดที่ต้องการผู้ช่วยทำโฆษณาให้ติดตลาดออนไลน์ ไม่อยากสูญเงินเปล่าให้แพลตฟอร์มโฆษณาจากการลองผิดลองถูกเองแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ

ลองให้ Cotactic Media บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 8 ปี คอยเป็นผู้ช่วยคุณเพิ่มความมั่นใจในทุกความท้าทายทางธุรกิจ เราพร้อมให้คำปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและสร้างยอดขายไปพร้อมกัน ช่วยคุณต่อสู้กับคู่แข่งในแบบฉบับของคุณ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้แบรนด์คุณเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ติดต่อขอรับคำปรึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์กับ Cotactic ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารับทราบโจทย์ของคุณ คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

Personalized Marketing

Personalized Marketing ทำการตลาดแบบรู้ใจลูกค้า

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้