click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ไม่ว่าคุณจะมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการมากแค่ไหน แต่ในความเป็นจริง สินค้าทุกชิ้นย่อมไม่ได้เหมาะกับผู้บริโภคทุกคน ด้วยเหตุนี้ นอกจากการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแล้ว คุณยังจำเป็นต้องเฟ้นหา “ว่าที่ลูกค้าตัวจริง” เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และบริหารเงินทุนสำหรับทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยคุณในกระบวนการนี้ได้ มีชื่อว่า STP Marketing

RECOMMENDED E-Book
วิธีจัดการงบกว่า 1 ล้านบาท กับ KPI ที่สูงขึ้น!
จ้างเอเจนซี่แต่ละที มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
สูตรลับบรีฟงาน AGENCY ให้ได้งานตามแผน!

STP คืออะไร? 

STP หรือ Segmentation Targeting Positioning คือ การรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์สร้าง “จุดขาย” ให้กับสินค้าและบริการของธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับว่าที่ลูกค้าตัวจริงให้ได้มากที่สุด เนื่องจากหากแบรนด์มุ่งทำการค้ากับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีน้อย และเสี่ยงเสียเงินลงทุนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น 

 

STP Marketing วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

 

เข้าใจองค์ประกอบ – STP มีอะไรบ้าง?

STP Marketing เกิดจากการรวมกันของคำ 3 คำ ได้แก่ Segmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.Segmentation

ขั้นตอนแรกของ STP Marketing คือ Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มทางการตลาด ซึ่งมุ่งเน้นการนำข้อมูลลูกค้าที่หลากหลายมาจัดระเบียบใหม่ผ่านการใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ โดยทั่วไปจะใช้ทั้งหมด 4 เกณฑ์ ดังนี้

  • Demographic Segmentation 

แบ่งตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ฯลฯ 

  • Behavioral Segmentation 

แบ่งตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค เช่น คนที่ซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ คนที่ซื้อของหน้าร้าน เป็นต้น

  • Geographic Segmentation 

แบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือพื้นที่ที่ลูกค้าอยู่อาศัย โดยอาจแบ่งตามประเทศ จังหวัด ตำบล หรือชื่อย่าน

  • Psychographic Segmentation 

แบ่งตามลักษณะทางจิตวิทยา เช่น แนวคิด ทัศนคติ ความคิดเห็น บุคลิกภาพ เป็นต้น

นอกจาก 4 เกณฑ์ข้างต้นนี้ STP Marketing ยังเปิดโอกาสให้คุณสามารถใช้เกณฑ์อื่น ๆ เพื่อแบ่ง Segmentation ได้ ตามความเหมาะสมของข้อมูล

  • Value Segmentation

การจำแนกกลุ่มลูกค้าตาม “มูลค่าในการทำธุรกรรม (Transactional Worth)” เพื่อประเมินว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละคนมีแนวโน้มใช้จ่ายไปกับธุรกิจของคุณเท่าไหร่ โดยอาจพิจารณาจากข้อมูลการซื้อ – ขายก่อนหน้านี้ ว่าใครมีเคยซื้อสินค้ามาก ใครเคยซื้อสินค้าน้อย และซื้อบ่อยแค่ไหน 

  • Firmographic Segmentation

สำหรับธุรกิจประเภท B2B (Business to Business) อาจเปลี่ยนจากการพิจารณาข้อมูลลูกค้าจากรายบุคคลเป็นรายบริษัท เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่บริษัท ประเภทธุรกิจ จำนวนพนักงาน หรือรายได้ต่อไตรมาส เป็นต้น

  • Generational Segmentation

ภายใต้ความเชื่อว่าช่วงอายุมีผลต่อความคิดและพฤติกรรม บางองค์กรจึงใช้การจำแนกกลุ่ม (Segment) จาก Generation อาทิ Baby Boomers, X, Millenials, Z เป็นต้น

2. Targeting

หลังจากนำข้อมูลลูกค้าที่มีทั้งหมดมาจากจัดกลุ่มแล้ว ขั้นตอนต่อไปของ STP Marketing คือ การพิจารณาว่าควรเลือกลูกค้ากลุ่มใดเป็นกลุ่มเป้าหมาย และโฟกัสการสร้างกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิด Conversion ในกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่ การประเมินสถานการณ์ตลาด และการเลือกตลาดเป้าหมาย

2.1 การประเมินสถานการณ์ตลาด

  • ขนาดของตลาด (Size) 

พิจารณาว่าลูกค้าแต่ละกลุ่ม (Segment) ของคุณใหญ่แค่ไหน และในอนาคตจะสามารถเติบโตได้ไกลเท่าใด

  • ประสิทธิภาพการทำกำไร (Profitability) 

พิจารณาว่าลูกค้ากลุ่มใดมีความสามารถในการใช้จ่ายมากที่สุด โดยอาจนำข้อมูลการซื้อ – ขายตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน

  • โอกาสในการเข้าถึง (Reachability) 

ลองประเมินโอกาสโดยรวมดูว่า คุณสามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ยากหรือง่ายแค่ไหน โดยพิจารณาจากต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า (Customer Acquistion Cost: CAC) และต้องไม่ลืมว่า ยิ่งใช้ต้นทุนในการเข้าถึงมากเท่าไหร่ กำไรก็ยิ่งลดลง

2.2 การเลือกตลาดเป้าหมาย

  • เลือกตลาดเฉพาะส่วนโดยใช้ผลิตภัณฑ์เดียว 

มุ่งเน้นขายสินค้าหรือบริการเดียวให้กับกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว ซึ่งการเลือกตลาดเป้าหมายเช่นนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ แต่ต้องแบกรับความเสี่ยงสูง 

  • เลือกตลาดหลายส่วนโดยใช้หลายผลิตภัณฑ์

หากแบรนด์ของคุณมีสินค้าและบริการหลายประเภท คุณอาจขายสินค้าหรือบริการมากกว่า 1 ประเภท ให้กับกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า คนแต่ละกลุ่มหมายย่อมมีความต้องการต่างกัน จึงอาจต้องใช้มากกว่า 1 กลยุทธ์เพื่อรองรับความต้องการของทุกคน

  • เลือกตลาดหลายส่วนโดยใช้ผลิตภัณฑ์เดียว 

ในบางกรณีคุณอาจอาศัยจุดเด่นของสินค้าและบริการประเภทเดียว เพื่อทำการตลาดให้กับกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มได้ 

  • เลือกตลาดเดียวโดยใช้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด

ในทางกลับกันเลือกกลุ่มเป้าหมายเด่น ๆ ขึ้นมาเพียงกลุ่มเดียว จากนั้นศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้น และจัดหาสินค้าหรือบริการหลายชนิดเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างครอบคลุม

  • เลือกตลาดรวม

การเลือกตลาดรวม คือ การจัดหาสินค้าและบริการหลายชนิด เพื่อตอบสนองความต้องการของหลาย ๆ กลุ่มเป้าหมาย โดยธุรกิจที่เลือกตลาดตามแนวทางนี้ได้ มักเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามารถใช้งานได้ทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกตลาดเช่นนี้ใช้เงินทุนมหาศาล และต้องมีแผนการตลาดรองรับหลายแผนอย่างรัดกุม

3. Positioning

ขั้นตอนสุดท้ายของ STP Marketing คือ การวางตำแหน่งของสินค้าและบริการที่จะขายให้แตกต่างกับคู่แข่ง โดยวิเคราะห์จากการรวบรวมข้อมูลส่วน Segmentation และ Targeting แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลฝั่งคู่แข่ง เพื่อให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของคุณมีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไร นอกจากนี้ ในบรรดาทุกแบรนด์ที่ขายผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน แบรนด์ของคุณจัดอยู่ในตำแหน่งไหนในตลาด

เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจลองสร้าง Positioning Map เป็นลักษณะแผนภูมิดังภาพ โดยกำหนดให้แกน X และแกน Y เป็นข้อเปรียบเทียบหลัก ๆ ระหว่างแบรนด์ของคุณและคู่แข่งทุกแบรนด์ในตลาด เช่นในตัวอย่าง กำหนดให้แกน X เป็นราคา และแกน Y เป็นคุณภาพ

STP Marketing วางตำแหน่งสินค้าและบริการ

ที่มา: asana 

ประโยชน์ของ STP Marketing คืออะไร?

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพของแคมเปญ

ประโยชน์ของแรกของการทำ STP คือ การช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ เพราะหากกำหนดกลุ่มเป้าหมายกว้างเกินไป หรือมุ่งขายสินค้าและบริการให้คนหมู่มาก โดยไม่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย อาจเป็นการละลายงบประมาณโดยใช่เหตุ และเกิดผลกำไรน้อย

2.ช่วยพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

ข้อมูลที่คุณรวบรวมได้จาก STP Marketing สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในอนาคต ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของคุณสามารถเข้าใจพวกเขาได้มากกว่าแบรนด์อื่น

3. นำไปสู่การขยายตลาดใหม่

การรวบรวมข้อมูลของลูกค้าอาจทำให้คุณค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจนำไปสู่ความพยายามในการขยายตลาดใหม่ ๆ ได้  เช่น บริษัทอาจทำยอดขายส่วนใหญ่ได้จากหน้าร้าน แต่เมื่อสังเกตพฤติกรรมอย่างจริงจัง กลับพบว่าลูกค้าจำนวนมากนิยมซื้อของออนไลน์ ดังนั้น ในอนาคตคุณอาจพิจารณาเปิดหน้าร้านออนไลน์เพิ่มขึ้นมาได้ เป็นต้น

การเลือกเป้าหมายที่แม่นยำด้วย STP Marketing นอกจากจะทำให้คุณสามารถกำหนดทิศทางกลยุทธ์การตลาดที่ถูกต้องได้แล้ว ยังช่วยประหยัดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างมหาศาล ตลอดจนนำไปสู่การสำรวจตลาดใหม่ ๆ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจรวมถึงต้องการหาบริษัทรับทำ SEO กับทีมงานมืออาชีพ ติดต่อ บริษัทรับทำการตลาด Cotactic Media ได้เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

Personalized Marketing

Personalized Marketing ทำการตลาดแบบรู้ใจลูกค้า

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้