“ข้อมูล” คือสิ่งล้ำค่าที่สุดในการทำการตลาด ยิ่งเรามีข้อมูลลูกค้ามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเข้าถึงตัวผู้บริโภคมากขึ้นเท่าไหร่ เพิ่มโอกาส และขยายฐานการตลาดในการค้นหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายมากขึ้น นั่นจึงทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากในแวดวงธุรกิจและการทำการตลาด ที่เจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญและใส่ใจมากขึ้น
ซึ่งการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อย่างเช่นกลยุทธ์การตลาดในวันนี้ ที่เราจะขอนำเสนอ นั่นก็คือ Contextual Marketing หรือการตลาดแบบใส่ใจ ตามคำนิยามของเพจการตลาดวันละตอนที่จะจับข้อมูลที่ลอยอยู่รอบตัวผู้บริโภคมาเป็นเสริมงานขายของทีม Sale ให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายนิดเดียว
Contextual Marketing คืออะไร?
Contextual Marketing คือ รูปแบบการตลาดออนไลน์แบบหนึ่งที่ใช้การพึ่งพาบริบทที่เกิดขึ้นรอบตัวของลูกค้าผสมผสานกับความต้องการของลูกค้าที่กำลังมองหาสินค้า/บริการแบบนี้อยู่พอดี ข้อดีของโฆษณาแบบนี้คือ ตัวโฆษณาที่เราเห็นเป็นสินค้า/บริการที่เรากำลังสนใจหรืออยากได้อยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยลดความน่ารำคาญของโฆษณาเวลาเด้งขึ้นมาให้เราเห็นได้ เพิ่มอัตรา Click Through Rate และค่า Conversion เพิ่ม Traffic ให้แบรนด์คุณหาลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งฝั่งการตลาดจะต้องทำความเข้าใจ Buyer Personas ให้ดีก่อนถึงจะวางแผนการโฆษณาให้ตอบโจทย์สำหรับลูกค้าได้
หลักการทำงานของ Contextual Marketing
Contextual Marketing จะเก็บข้อมูลจาก Cookies ที่ใช้ในการติดตามและเก็บข้อมูลกิจกรรมของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต นำมาประกอบการสร้าง Buyer Personas แสดงพฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภคสำหรับ ไว้ใช้ในการสร้างแคมเปญการตลาดภายหลัง ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะหยิบเอาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาวิเคราะห์ เลือกหาความสนใจที่มีร่วมกันระหว่างผู้บริโภคกับสินค้า/บริการ ออกแบบคอนเทนต์ให้น่าสนใจและนำโฆษณาไปแสดงให้ผู้บริโภคเห็นแบบเนียน ๆ ซึ่งผู้บริโภคก็จะเข้าใจไปเองว่าเป็นโฆษณาที่บังเอิญปรากฏขึ้นตามความสนใจของพวกเขา แต่ความจริงเกิดจากการวิเคราะห์ความสนใจของลูกค้ามาเป็นอย่างดีแล้วนั่นเอง
บริบทใดบ้างที่สามารถนำมาทำ Contextual Marketing ในการหาลูกค้าใหม่
- ระยะเวลาดูสินค้า
- ภาษาที่ใช้
- ช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานมี
- ประวัติการซื้อของ
- ที่อยู่
- พฤติกรรมการซื้อในช่วงเวลาก่อนหน้านี้
- อุปกรณ์ที่ใช้ (มือถือ แท็บเล็ต คอม)
- เทรนด์ หรือสถานการณ์ในสังคมนั้น ๆ ผู้บริโภคกำลังสนใจอะไรเป็นพิเศษอยู่
- ข้อมูลติดต่อกลับ (เบอร์มือถือ เมล เฟซบุ๊ก)
และในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้เองธุรกิจหลายแห่งก็เริ่มใช้กลยุทธ์นี้ในการหาลูกค้าใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน เพราะสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้ธุรกิจของคุณได้อีกมาก อาทิ
- ใช้ในการเลือกเป้าหมายการตลาดและช่วงเวลาได้อย่างชัดเจน
- สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ดี เหมือนรู้ใจลูกค้าอยู่ก่อนแล้ว
- ลดการเกิดความสับสนจากการที่ลูกค้าต้องอ่านคอนเทนต์หลายหน้าในการเปรียบเทียบสินค้า ช่วยนำเสนอสินค้าที่ตรงใจลูกค้าได้มากที่สุด
- ออกแคมเปญใหม่ที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้
- เพิ่มโอกาสการปิดการขายมากขึ้น เพราะลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาคือกลุ่มที่มีความสนใจในสินค้า/บริการนั้นอยู่แล้ว
- หาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น นำเสนอสิ่งที่ตรงใจได้เร็วและตรงจุดมากที่สุด
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Contextual Marketing ในการหาลูกค้าใหม่
-
IKEA Retail Therapy
ที่เลือกจับคู่หรือปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า ถ้าลูกค้าต้องนั่งโต๊ะร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานที่น่ารำคาญ ก็ซื้อโต๊ะทำงานแบบคู่แต่มีที่กั้นโต๊ะเสริมเข้าไป หรือถ้าบ้านของคุณมีคนนอนกรนและบ้านไม่ได้มีห้องนอนหลายห้องก็ซื้อโซฟาเบดแยกไว้ในห้องนั่งเล่น เผื่อวันไหนรำคาญก็เดินออกมานอนข้างนอกแทนได้
-
Dunk in Dark ของ Oreo
ในปี 2013 ในงานแข่ง Super Bowl เกิดเหตุไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ขึ้นใน Mercedes-Benz Superdome ในระหว่างการแข่งขัน แต่ Oreo ไม่รอช้ารีบตัดต่อรูปและเขียนแคปชันลงบนทวิตเตอร์ในวันนั้นว่า “Power out? No Problem.” แปลเป็นไทยว่า “ไฟดับเหรอ? ก็ไม่มีปัญหา” พร้อมแคปชันในภาพว่าคุณยังจุ่ม Oreo ได้ในความมืดนะ
-
M&M
M&M เองก็ได้หยิบยืมกลยุทธ์ Contextual Marketing มาช่วย Retargeting และหาลูกค้าใหม่ไปด้วยในเวลาเดียวกัน หลังจากที่พบว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าที่เป็น Millennials มีอัตราการซื้อ M&M ลดน้อยลงกว่าเดิม เลยออกแคมเปญสร้างโพลผ่านโซเชียลมีเดียให้ร่วมโหวตรสชาติ M&M ผ่านตัวเลือกรสชาติที่มีให้ 3 ตัว ได้แก่ Chili Nut, Honey Nut และ Coffee Nut ผลที่ได้คือแบรนด์ได้ยอด Engagement เพิ่มขึ้นมาก
3 ข้อควรรู้ก่อนเริ่มทำ Contextual Marketing
1. Privacy Protection กำลังมาแรง ขอข้อมูลยังไงไม่ให้เป็นการล่วงละเมิด
ก่อนหน้านี้เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเทรนด์ที่กำลังมาในปี 2022 (อ่านที่นี่) หนึ่งในนั้นมีข้อหนึ่งที่ระบุว่า Privacy Protection จะกลายเป็นเทรนด์ที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง ฉะนั้นฝ่ายการตลาดจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตัวเองใหม่เพื่อไม่ให้การเก็บข้อมูลรอบตัวลูกค้ากลายเป็นการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินไป ควรรู้ว่าข้อมูลแบบไหนที่ขอจากลูกค้าได้ อะไรที่ไม่ควรขอเป็นอย่างยิ่ง โดยที่การขอข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างจะไม่ย้อนกลับมาเล่นงานแบรนด์คุณในภายหลัง เพราะนอกจากจะผิดความหมายของ Contextual Marketing ที่ควรใช้ในการหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียงของแบรนด์คุณไปด้วยจากการฉวยเอาข้อมูลที่ลูกค้าไม่ได้ต้องการให้ออกไป
2. หาลูกค้าด้วยการใช้ Contextual Marketing ไม่ใช่หา “ข้อมูลลูกค้า” เพียงอย่างเดียว
จริงอยู่ที่หลักการทำ Contextual Marketing คือการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางแล้วต่อยอดข้อมูลแยกย่อยออกมาเพื่อนำไปทำโฆษณาได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าคุณกำลังทำการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการหรือ Pain Point ของตัวลูกค้าเองโดยอ้างอิงจากข้อมูลรอบตัวของลูกค้ามาทำคอนเทนต์และนำเสนอออกมาตามสื่อที่ลูกค้าใช้อยู่เป็นประจำ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ ถ้าคุณมีข้อมูลลูกค้ารายหนึ่ง คุณรู้ว่าลูกค้ารายนี้ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง มีแค่มือถือเพียงเครื่องเดียว การทำการตลาดโดยใช้ Email Marketing คงไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ เพราะคงไม่มีใครอยากเปิดอีเมลผ่านมือถือกันอยู่แล้ว ดังนั้นลองเปลี่ยนรูปแบบคอนเทนต์โดยอิงจากข้อมูลในมือ ยิงโฆษณาให้เข้าถึงอุปกรณ์ของลูกค้าได้ง่ายขึ้นอย่างการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย คุณก็จะได้ใจลูกค้าไป โฆษณาไม่เกะกะสายตา ไม่ดูยากเกินไป
ถ้ายิ่งคุณคำนึงถึง ‘ตัว’ลูกค้ามากเท่าไหร่ คุณก็จะมีแนวทางการทำคอนเทนต์ได้มากขึ้น และในทางกลับกันลูกค้าก็จะเปิดใจยอมรับคุณมากขึ้น เพราะโฆษณาที่ไม่ได้โผล่มาแบบรกสายตามากเกินไปจนรำคาญนั่นเอง
3. 1 คอนเทนต์ + หลายแพลตฟอร์ม = ผลลัพธ์ที่หลากหลาย
ตอนนี้แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียเรามีหลายแพลตฟอร์มให้เลือกใช้เยอะมาก ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีกลุ่มลูกค้าหลักที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแบบเดียวกันอยู่ด้วยกันในแต่ละแอปฯ ฉะนั้นหากทำแคมเปญหาลูกค้าใหม่โดยใช้คอนเทนต์เดิมแต่ละกระจายลงไปในแพลตฟอร์มที่ต่างกันก็อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ซ้ำกันก็เป็นได้ ฉะนั้นหลังจากที่ปล่อยแคมเปญออกไปแล้ว นักการตลาดควรคอยตรวจสอบ ROI ของแต่ละแพลตฟอร์มซ้ำ ๆ ภายใต้เงื่อนไขช่วงเวลาเดียวกัน พื้นที่ที่โฆษณาเดียวกัน ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน จะได้กลุ่มที่เป็นลูกค้าจริง ๆ ที่มีคุณภาพกลับมากี่ราย และนำไปปรับใช้ลดการโฆษณาในช่องทางที่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ อัดฉีดค่าการตลาดในแพลตฟอร์มที่ใช่มากที่สุด จึงจะมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าที่มีคุณภาพในงบคุ้มค่ามากที่สุด
วิธีการสร้าง Contextual Marketing
1. ระบุกลุ่มลูกค้าของคุณให้ได้ก่อน
จะทำคอนเทนต์ที่ตรงใจลูกค้ามากที่สุดก็ต้องค้นหาข้อมูลลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยใช้การจัดแบ่งกลุ่มเพื่อเป็นตัวควบคุมการออกแบบแคมเปญให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละแบบ จัดแบ่งกลุ่มลูกค้าอิงตามความสนใจ ข้อมูลพื้นฐาน หรือเขตที่อยู่อาศัยแล้วยึดโยงกับสินค้าที่จะเข้ามาตอบโจทย์ Pain Point ให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ในขั้นนี้จะใช้ขั้นตอนเดียวกันกับการทำ Buyer Personas ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ก็จะแยกย่อยออกไปได้ 2 กลุ่มใหญ่ได้อีก ดังนี้
1.1 ลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เป็นครั้งแรก ให้จัดหมวดหมู่กลุ่มนี้ตามประเทศ ที่อยู่ เมือง/จังหวัด ภาษา อุปกรณ์ที่ใช้งาน เบราว์เซอร์ที่ใช้ในการค้นหา (Google, Yahoo, Firefox) เป็นต้น
1.2 ลูกค้าที่เคยเข้ามาในหน้าเว็บไซต์มาก่อนแล้ว เป็นกลุ่ม Lead ที่มีคุณภาพ เคยให้ข้อมูลเบื้องต้นกับแบรนด์มาก่อนแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถนำมาทำ Personas หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายที่สุดอิงจากฐานข้อมูลลูกค้าเก่า และจัดหมวดหมู่ตามสถานะการซื้อขายของลูกค้า เช่น อยู่ในระหว่างตัดสินใจ อยู่ในระหว่างเลือกสินค้าที่เหมาะสม ประวัติการซื้อของก่อนหน้า พฤติกรรมการซื้อของก่อน ๆ เป็นต้น
2. ระบุช่องทางที่จะใช้ในการลงโฆษณา
การหาลูกค้าแต่ละแบบมักจะมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ต่างกัน ความเคยชินจากการใช้ชีวิตรูปแบบต่าง ๆ จะเป็นตัวกำหนดว่าแบรนด์ควรเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มด้วยช่องทางไหนมากที่สุด ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ
กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุ เมื่ออายุมาก สายตาก็เริ่มพร่ามัว มองใกล้ ๆ ไม่ชัด ดูมือถือซื้อสินค้าแต่ละครั้งก็ดูไม่รู้เรื่อง ประกอบกับกลุ่มคนวัยนี้เติบโตมาพร้อมกับทีวีตั้งแต่เด็ก ด้วยขนาดหน้าจอทีวีที่ใหญ่กว่ามือถือ ทำให้ดูสินค้าได้ชัดถนัดตามากกว่า ถ้าจะเจาะกลุ่มวัยผู้สูงอายุการทำโฆษณาผ่านทีวีก็คงเป็นอะไรที่ตอบโจทย์
หรือหากเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มวัยรุ่นหน่อยที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีและสมาร์ตโฟนและเล่น TikTok นักการตลาดก็อาจจะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นตามแต่ละแพลตฟอร์มที่เขาสนใจได้ไม่แพ้กัน
เพราะนี่คือสิ่งที่นักการตลาดควรวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้าให้ดีก่อนจะออกแบบแคมเปญในหัวข้อถัดไป
3. เลือกใช้คอนเทนต์รูปแบบที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด
ถึงขั้นนี้เราขอให้เจาะลึกด้านการใช้งานของลูกค้าเข้าไปอีก สืบหาให้ได้ว่าลูกค้าชอบเสพคอนเทนต์รูปแบบไหน ลูกค้าบางคนชอบการอ่านคอนเทนต์ผ่าน Blog Post ในขณะที่บางส่วนอาจจะเสพสื่อผ่านคลิปวิดีโอ เกมควิซ หรือคอนเทนต์ที่ให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมด้วย จะช่วยเพิ่มยอด Engagement สร้าง Brand Awareness ให้กลุ่มลูกค้าเข้าใจแบรนด์มากขึ้น เพิ่มฐานลูกค้าเก่า หาลูกค้าใหม่ได้โดยง่าย
ยิ่งไปกว่านั้นในขั้นตอนการตัดสินใจ ในหนึ่งคอนเทนต์สามารถออกแบบรูปแบบการนำเสนอออกไปได้หลากหลายแนวทาง สมมติว่าแบรนด์ของคุณเป็นบริษัทผลิตกระเป๋าหนัง ต้องการสร้างแคมเปญชู USP ของกระเป๋าหนัง สามารถแบ่งคอนเทนต์ออกได้ทำในแต่ละแบบได้ยกตัวอย่าง เช่น
- เขียน SEO Storytelling กว่าจะมาเป็นกระเป๋าหนังแบรนด์ XXX จนถึงทุกวันนี้
- ทำคลิป Storytelling แนะนำกระเป๋าหนังลงบน Facebook หรือ Instagram
- สร้างควิซเกมทายปัญหา Storytelling “กว่าจะมาเป็นแบรนด์ XXX คุณคิดว่ากระเป๋าหนังของเราทำมากจากหนังวัวสายพันธ์ุอะไร?” ผู้โชคดีได้กระเป๋าหนังพรีเมียมไปเลยฟรี ๆ เป็นต้น
4. วางกรอบ เส้นทางว่าลูกค้าจะต้องทำอะไรกับโฆษณาบ้าง
แน่นอนว่าลงโฆษณาแล้วก็ต้องมีหวังผลให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้า/บริการกันบ้าง แต่คำถามคือลูกค้าจะเข้ามายังไงผ่านแคมเปญโฆษณาล่ะ? ง่าย ๆ เลยคือการวาง CTA ไว้ การวางปุ่ม CTA หรือ Call-to-Action กระตุ้นให้ผู้ใช้งานกดเข้าไปกรอกแบบฟอร์มหลังการดูโฆษณาเสร็จ ทีม Sale ก็จะได้รายชื่อลูกค้าที่มีความสนใจรอการติดต่อกลับเพื่อเสนอขายอีกครั้งหนึ่ง
หากจะว่าไปการทำ CTA จริง ๆ แล้วไม่ได้หยุดอยู่แค่การสร้างปุ่มให้ลูกค้าอยากกดเข้ามาผ่านโฆษณาออนไลน์เท่านั้น CTA ในแพลตฟอร์มออฟไลน์ก็มีให้เห็นอยู่บ้างอย่างโฆษณาทางทีวีที่เป็นช่วงขายของ เราจะสังเกตได้ว่าช่วงที่พิธีกรขายของจะคอยพูดกระตุ้นย้ำเสมอว่า หากสนใจให้ติดต่อเบอร์โทรตามที่ปรากฏด้านล่างหรือแอดไลน์ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการทำ CTA ออฟไลน์แบบที่ไม่ต้องมีปุ่มกด เพียงแค่ใช้คำพูดคนและมอบข้อมูลติดต่อไว้ให้ก็สร้าง Traffic ให้กับผู้ชมได้แล้ว
5. สร้างคอนเทนต์ได้เลย
การสร้างคอนเทนต์มีหลายแนวทางให้เลือกขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเจาะตลาด แต่การผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ทีมคอนเทนต์และการตลาดต้องค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวม Pain Point และ Solution ที่ตอบโจทย์ ค้นหารูปแบบการทำคอนเทนต์ที่ดึงความสนใจกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้หากมีความคิดที่จะเกี่ยวกับการทำ SEO และทำ SEO Content สามารถอ่านบทความอื่นของเราต่อได้ที่นี่
นอกจากนี้สิ่งที่สาย Content Creator ควรยึดมั่นในการสร้างแคมเปญโฆษณาคือ “สร้างสื่อคอนเทนต์ให้ดีราวกับว่ากำลังพูดโดยตรงกับลูกค้ากลุ่มนั้น” นำเสนอในมุมมองที่ลูกค้ารู้สึกว่า “แบรนด์เรากำลังนำเสนอสิ่งที่มีคุณประโยชน์และดีที่สุดให้กับลูกค้า ถ้าไม่ซื้อตอนนี้แล้ว จะไปหาได้จากที่ไหนอีก!” นี่จึงจะทำให้คอนเทนต์ของคุณมีพลังมากขึ้น ชักจูงลูกค้า หาลูกค้าหน้าใหม่ได้ง่ายขึ้น
ข้อนี้คือปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ Contextual Marketing ที่คนทำการตลาดส่วนมากมักพลาดหรือลืมไป จนพลาดกลุ่มลูกค้ากลุ่มเล็ก ๆ แต่มีความต้องการซื้อสูงอยู่แล้วไปได้
6. หมั่นติดตาม วัดผลการทำงาน และปรับใช้กับโฆษณาตัวอื่น
คุณจะไม่มีวันรู้เลยว่าคอนเทนต์แคมเปญที่ปล่อยออกไปนั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ถ้ายังไม่ปล่อยออกไปสู่สาธารณะ เพราะสิ่งที่เราวิเคราะห์มาบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความสนใจของลูกค้าขนาดนั้น ฉะนั้นการติดตามคอนเทนต์และแคมเปญทุกชิ้นที่ปล่อยออกมาจะช่วยให้คุณประเมินประสิทธิภาพของโฆษณาได้ และนำไปปรับปรุงในการทำแคมเปญต่อ ๆ ไป
ความสำคัญของการติดตามและวัดผลยังไม่ได้หมดแต่เพียงเท่านี้ เพราะหากแคมเปญหนึ่งมีประสิทธิภาพดีดึงดูดกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งได้ ก็เป็นไปได้ว่าอาจปรับใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพียงแค่เปลี่ยนรายละเอียดการโฆษณาเพียงเล็กน้อยก็สามารถดึงดูดอีกกลุ่มนึงได้ไม่ต่างอะไรกับลูกค้ากลุ่มแรกเลย
และนี่คือนิยามของ Contextual Marketing ที่ฉวยโอกาสเอาเหตุการณ์หรือบริบทรอบตัวมาทำคอนเทนต์ดึงดูดลูกค้าแบบ Real-time เพิ่มโอกาสในการขาย หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยอ้างอิงเอาข้อมูลของลูกค้ามาเป็นศูนย์กลางและคิดต่อยอดเข้าถึงใจลูกค้าให้มากที่สุดจนกลายมาเป็น Contextual Marketing อย่างแท้จริง
——————————————————————–
ร่วมงานกับทีม Cotactic Media บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress และเป็นหนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การ หาลูกค้า ให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation หรือ บริการรับทำ SEO ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
https://searchcustomerexperience.techtarget.com/definition/contextual-marketing
https://www.everydaymarketing.co/knowledge/the-power-of-contextual-marketing/ https://www.popticles.com/marketing/contextual-marketing/
https://rockcontent.com/blog/contextual-content/