click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นสร้างธุรกิจ จำเป็นต้องรู้จัก Revenue และ Income เพื่อวางรากฐานสำคัญอย่างการเงินการบัญชีให้ดี เพื่อจะตั้งต้นกิจการด้วยแนวคิดอย่างมืออาชีพ เพียงวางระบบคิดที่ถูกต้อง และถี่ถ้วนกับทุกค่าใช้จ่าย ก็เป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จแล้ว เพราะข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทางการเงินที่สะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจสร้างความเสียหายแก่คุณได้

Cotactic Media จึงอยากให้คุณรู้ไว้ก่อนเจ๊ง เราจะมาเริ่มกันด้วยเรื่องการเงินพื้นฐานสำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ ที่ควรทำความเข้าใจเรื่องของ ‘รายได้’ เพราะแม้ว่าจะเป็นรายได้เหมือนกัน แต่มีวิธีจัดการที่ไม่เหมือนกัน

Revenue คืออะไร

Image1

รายรับ หรือ รายได้ คือ คำจำกัดความของ ‘Revenue’ ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินกิจการทางธุรกิจของบริษัท โดยยังไม่หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือคำนวณแยกต้นทุน กำไร ขาดทุน ซึ่งปกติแล้วแต่ละธุรกิจอาจมีแหล่งรายได้มาจากหลายช่องทางด้วยกัน

ประเภท Revenue รายได้จากการดำเนินธุรกิจ

เราสามารถแบ่งรายได้ Revenue เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1. รายได้จากการดำเนินงาน (Operating Revenue)

เป็นรายได้หลักที่เกิดจากการดำเนินงานทางธุรกิจ เมื่อสามารถขายผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ลุล่วง ได้รับการชำระเงินเป็นรายชิ้น รายครั้ง รายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ไม่นับรวมเงินมัดจำล่วงหน้า

รายได้จากการดำเนินงาน = ราคาสินค้า * จำนวนสินค้าที่ขายได้
หรือ รายได้จากการดำเนินงาน = จำนวนลูกค้า * ราคาค่าบริการ

Image3

2. รายได้อื่น ๆ (Non-Operating Revenue)

เป็นรายได้พิเศษอื่น ๆ ที่ได้รับเข้าบริษัท นอกเหนือจากการขายและให้บริการ เช่น เงินอุดหนุนจากภาครัฐ, ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร, รายได้จากค่าเช่า, รายได้จากการขายสินทรัพย์ของบริษัท, รายได้จากเงินปันผล, กำไรจากการขายหุ้น, กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, รายได้จากค่าธรรมเนียมนำเข้า, รายได้ค่าลิขสิทธิ์, รายได้หรือทรัพย์สินที่ได้รับเป็นมรดกของบริษัท, รายได้จากบริษัทประกันภัย, รายได้จากการฟ้องร้องคดี, และรายได้จากการรับเงินบริจาค เป็นต้น

ดังนั้น REVENUE = รายได้จากการดำเนินกิจการ + รายได้อื่น ๆ ซึ่งยังมีเงื่อนไขของการบันทึกรายได้ที่แตกต่างกันในรายละเอียด ดังนี้

  • บันทึกรายได้ที่ได้รับการชำระเงินเป็นเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีเต็มจำนวนเท่านั้น
  • บันทึกรายได้แม้ว่ายังไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนจากลูกค้า อาจเป็นเพียงการวางเงินมัดจำ วางเครดิตไว้ล่วงหน้า ในทางบัญชีจะบันทึกว่าเป็น ‘รายได้ค้างรับ’ อยู่ในระหว่างรอการชำระจำนวนเต็ม หรือชำระเป็นสินเชื่อเงินผ่อนตามระยะเวลาที่กำหนด

Income คือ

รายได้ หรือ รายรับ คือ Income จากผลตอบแทนรายบุคคล สำหรับนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องคอยติดตามเงินได้ส่วนนี้เป็นประจำ เพื่อวางแผนการเงินส่วนบุคคล และโดยมากมักใช้ข้อมูลและเอกสารเพื่อประกอบการยื่นภาษีตามหน้าที่ทางกฎหมาย ที่ต้องนำส่งเงินภาษีไปช่วยพัฒนาประเทศในฐานะพลเมืองที่ดี มีสิทธิและหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อส่วนรวม

Image2

ประเภท Income รายได้ส่วนบุคคล

เราสามารถแบ่งรายได้ Income เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. รายได้จากการทำงาน (Active Income)

หมายถึง รายได้ที่ได้รับเป็นค่าตอบแทนแรงงาน ค่าไอเดีย ค่าสร้างสรรค์ผลงาน และค่าบริการ อาจได้รับเป็นรายครั้ง รายสัปดาห์ หรือรายเดือน รวมถึงรายได้จากการเปิดรับค่าสมาชิก Subcription หรือได้รับส่วนแบ่งรายได้จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในฐานะ Content Creator หรือ User Generated Content ผู้ผลิตสื่อสาระและความบันเทิงเผยแพร่ด้วยตนเอง

2. รายได้จากทรัพย์สิน (Recurring Income)

หมายถึง รายได้ที่ได้รับเป็นผลตอบแทนนอกจากการทำงาน เช่น รายได้จากการชิงโชคลุ้นรางวัล, รายได้จากการลงทุน, รายได้จากการให้เช่าอุปกรณ์ ยานพาหนะ ที่พักอาศัย สถานที่ หรือพื้นที่จัดงาน, รายได้จากมรดก, รายได้จากสิทธิบัตรและค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น

ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องไม่ลืมแยกกระเป๋าทางการเงิน

เรื่องพื้นฐานที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่มักทำพลาด เพราะมุ่งหน้าแต่จะหาทางทำเงิน ไม่เด็ดขาดเรื่องการจัดการบัญชี แยกรายรับ-รายจ่ายส่วนตัวกับธุรกิจ ทำไปขายไป ประเมินตามความรู้สึกว่าสถานการณ์ธุรกิจของเราดูไปได้ดี ไม่น่าห่วงอะไร

Image7

เมื่อไม่ได้จัดประเภทเงินได้ให้เป็นสัดส่วน ว่าแต่ละกองควรกันไว้เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะเรื่องไหน Cotactic เลยต้องเข้าร่วมย้ำเตือนคุณอีกเสียง ว่าทำไมถึงไม่ควรรวมกระเป๋าเงินใช้จ่ายปะปนกัน ด้วย 4 เหตุผล ต่อไปนี้

1. ป้องกันเจ๊งไม่รู้ตัว

แม้ว่าจะขายดีแต่คุณก็ยังเจ๊งได้ เคสขายดีจนเจ๊งมีโค้ชการเงินเล่าสู่กันฟังเอาไว้มากมาย ปัญหาส่วนใหญ่ก็เริ่มต้นมาจากการละเลยเรื่องพื้นฐานทางการเงิน ที่หลายคนอาจพูดติดปากว่า “หมุนเงินไม่ทัน” ในเหตุการณ์ที่เกิดมีเงินไม่พอจ่ายในเรื่องสำคัญจำเป็นจริง ๆ ขึ้นมาเสียอย่างนั้น ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องปุบปับฉุกเฉิน เป็นเรื่องคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะต้องใช้เงินก้อนนี้

แม้แต่เจ้าตัวก็อาจจะนึกไม่ออกเสียด้วยซ้ำว่า “เงินหายไปไหนหมด” ทุกอย่างงุนงงและน่าสับสนเพราะคุณอาจลืมระบุตัวเลขเงินเดือนของตัวเอง รวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้องในธุรกิจนี้ให้ชัดเจน แม้ว่าพวกเขาจะเป็นคนกันเอง มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคุณแค่ไหนก็ตาม เพื่อจะประมาณการค่าใช้จ่ายเท่าที่ตนเองหรือแต่ละคนควรจะได้รับ ไม่ให้เรื่องเงินส่วนตัวมากระทบกับเงินที่ใช้ดำเนินกิจการ

2. เห็นสภาพคล่อง เห็นหนทางต่อยอด

เพียงแค่เริ่มต้นจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายพื้นฐาน ในวิธีที่คุณเองถนัด ไม่ว่าจะลงกระดาษ จัดเก็บเป็นสมุดเป็นแฟ้มเล่มโต หรือลงเอกสารดิจิทัลใช้งานออนไลน์ จะเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดก็แล้วแต่ เอาเท่าที่คุณมีอยู่ ให้พอที่จะเริ่มต้นทำระบบอย่างง่ายสำหรับตัวคุณเอง

เมื่อเริ่มติดตามเส้นทางรายได้เข้า-ออกรายวัน เห็นส่วนแบ่งรายได้ของตนเองและคนอื่น ๆ คุณจะเริ่มมองเห็นภาพรวม เห็นกำไรส่วนที่จะต้องตัดสินใจต่อไปว่าจะนำไปทำเงินต่ออย่างไรดี เริ่มรู้ว่ารายได้และรายจ่ายรายเดือนอยู่ที่เท่าไหร่ คุณจะเริ่มเห็นศักยภาพของตัวคุณและธุรกิจนี้

Image4

ยิ่งคุณติดตามบันทึกข้อมูลสำคัญในหมวดหมู่ต่าง ๆ ไว้ได้มาก ก็ต้องจัดเก็บให้ดีด้วย เพื่อที่จะสามารถค้นหาเจอได้โดยไม่ยุ่งยากในวันข้างหน้า ที่เกิดจำเป็นต้องกลับมาค้นหาข้อมูลตัวเลขย้อนหลังขึ้นมา

แล้วเมื่อไหร่ที่คุณเริ่มตั้งคำถามจากข้อมูล ปะติดปะต่อจนเห็นโอกาสใหม่ ๆ เกิดเป็นแรงบันดาลใจ แรงผลักดันให้ต่อยอดปรัชญาทางธุรกิจของคุณเอง ซึ่งนำพาไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น รู้จักตลาดและลูกค้าได้ลึกซึ้งขึ้น

หลังจากที่คุณพบแก่นแท้ของธุรกิจ หมั่นคอยลับฝีมือ และไหวพริบไว้พร้อมสู้ทุกสถานการณ์ คุณก็จะไม่มีทางแพ้ ด้วยความรู้ ประสบการณ์ และวินัยทางการเงิน จะทำให้คุณค่อย ๆ ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และลดข้อจำกัดที่อาจเป็นข้ออ้างให้ตัวคุณเองใช้แก้ต่างในวันที่ยากลำบาก ทั้งที่จริง ๆ แล้วบางทีคุณแค่ไม่อยากยอมรับความจริงที่คุณทำพลาดก็เท่านั้นเอง

3. น่าเชื่อถือ น่าร่วมลงทุน

ความน่าเชื่อถือเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจทุกประเภท เกิดจากความตั้งใจดีในทุก ๆ มิติ โดยเฉพาะเรื่องการเงินที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เพราะเป็นเครื่องวัดและประเมินกิจการและศักยภาพของผู้ประกอบการได้แจ่มชัดที่สุด ถ้าคุณอยากชนะใจธนาคารและนักลงทุนในอนาคต เพื่อจะกลายเป็นธุรกิจทำเงินที่โตพรวดหลายเท่าตัวแล้วล่ะก็ ต้องลงมือสร้างความน่าเชื่อถือทางการเงินตั้งแต่วันแรกที่เริ่มดำเนินกิจการ

กฎเหล็กของเจ้าของธุรกิจที่พร้อมจะประสบความสำเร็จนั่นคือ
ต้องฝันให้ใหญ่เข้าไว้และทำให้มากเท่ากับขนาดที่ฝัน

4. หมดกังวลเรื่องภาษี

แค่เอ่ยคำว่า “ภาษี” เจ้าของกิจการก็เป็นอันปวดหัวแบบเฉียบพลัน ยิ่งเราขยาดเราก็ยิ่งต้องรู้ให้กระจ่างในเรื่องนั้น และสิ่งที่ง่ายดายที่สุด คือการทำให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันเรื่องจริงที่เป็นเรื่องใหญ่และส่งผลข้างเคียงยิ่งกว่าอาการข้างต้น อย่าต้องไปถึงขั้นเข็ดขยาด ด้วยฝันร้ายที่สุดเมื่อเจอใบเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

Image5

ถ้าคุณแจกแจงเงินได้ของกิจการและตัวคุณได้ครบถ้วน รู้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในทุกกรณี คุณอาจไม่ต้องจ่ายมากเท่าที่คุณคิด และยิ่งหลบเลี่ยงก็มีแต่จะดิ้นไม่หลุดเสียเปล่า ๆ ถ้าเพียงคุณมี Mindset แต่แรกว่ายังไงก็ต้องจ่ายเป็นเรื่องปกติ คุณจะมองหาวิธีจัดการเรื่องนี้อย่างดีที่สุดโดยไม่ต้องเจ็บปวด

สุดท้ายตัวเลข Revenue Growth จะสะท้อนความสามารถการเติบโตของธุรกิจคุณ เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจะต้องคอยหมั่นปรับปรุงประสิทธิภาพ ปรับกลยุทธ์การขายและการสื่อสารการตลาดอยู่เสมอ เพื่อหาลูกค้าที่ใช่ในช่องทางที่ถูกต้อง แล้วคุณจะสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตทางธุรกิจ จนมีกำไรมาลงทุนขยายกิจการ และพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไปอย่างยั่งยืน

สนใจปรึกษา Cotactic

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่มีทีมการตลาด หรือเป็นนักการตลาดที่ต้องการผู้ช่วยทำโฆษณาให้ติดตลาดออนไลน์ ไม่อยากสูญเงินเปล่าให้แพลตฟอร์มโฆษณาจากการลองผิดลองถูกเองแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

ลองให้ Cotactic Media เสือในวงการ Digital Marketing Agency อย่างเรา ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ธุรกิจและการตลาด Digital Marketing ประสบการณ์กว่า 8 ปี มาเป็นผู้ช่วยคุณเพิ่มความมั่นใจในทุกโจทย์ท้าทายทางธุรกิจ

ติดต่อขอรับคำปรึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์กับ Cotactic ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารับทราบโจทย์ที่ท้าทายของคุณเบื้องต้น คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Google SERP

ทำไมแบรนด์ถึงควรทำ SEO เรียนรู้กลยุทธ์ติดอันดับการค้นหาผ่าน Google SERP หรือ SERPs

RMF Model

RFM Model คืออะไร? ทำไมการแบ่งกลุ่มลูกค้าถึงสำคัญ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้