ใคร ๆ ก็อยากลองขายของออนไลน์ ตลาด E-commerce ทุกวันนี้จึงแทบจะมีแต่คนขาย ส่งผลให้บรรยากาศการแข่งขันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ ร้อนแรงยิ่งขึ้น อาวุธชิ้นเดียวที่จะช่วยให้คุณเอาชนะธุรกิจคู่แข่งได้ คือการวาง กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่เฉียบขาด มั่นใจ ภายใต้การศึกษาข้อมูลลูกค้ามาเป็นอย่างดี และในบทความนี้ Cotactic ขอแชร์เทคนิคการวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจออนไลน์ เพื่อพาคุณไปให้ถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วทันใจ
กลยุทธ์การตลาดออนไลน์คืออะไร?
กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ คือ การวางแผนเพื่อทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ อาทิ Website, Facebook, Instagram, Youtube หรือ แอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น โดยรวมแล้วคือการทำ Marketing ผ่านการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด
Online Marketing แตกต่างกับ Digital Marketing อย่างไร?
เมื่อเอ่ยถึง “การตลาดออนไลน์” คุณอาจนึกถึงศัพท์สองคำที่ค่อนข้างคุ้นหู คือ Online Marketing และ Digital Marketing สงสัยหรือไม่ว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบคือ Online Marketing ใช้อ้างถึงเฉพาะการตลาดบนช่องทางออนไลน์ (ช่องทางที่เข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต) ในขณะที่ Digital Marketing จะใช้อ้างถึงการตลาดบนระบบดิจิทัล ซึ่งรวมทั้งการตลาดบนช่องทางออนไลน์ และการตลาดที่ต้องใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เช่น การป้ายโฆษณาดิจิทัล (Digital OOH Advertising) การเปิด Podcast หรือการจัดทำ E-books เป็นต้น
นิยามข้างต้นแสดงให้เห็นว่า Online Marketing ก็คือ Subset ของ Digital Marketing ดังนั้น จึงอาจมีเนื้อหาบางส่วนที่ทับซ้อนกัน และอาจนำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาปรับใช้ร่วมกันได้นั่นเอง
กลยุทธ์การตลาดออนไลน์วางผ่านช่องทางใดได้บ้าง?
ปัจจุบันช่องทางที่รองรับการตลาดออนไลน์มีมากมาย แต่โดยทั่วไปจะนิยมใช้ 3 ช่องทางหลัก ๆ ดังนี้
1. Search Engine Marketing
การทำการตลาดออนไลน์โดยอาศัยการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ SEO และ SEM
-
SEO (Search Engine Optimization)
การทำ SEO คือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของ Search Engine นั้น ๆ โดยการสร้างคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับประเภทเว็บไซต์ ควบคู่กับการปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น Title, Meta Description, Keywords, Alt Text รวมถึงการปรับดีไซน์หน้าเว็บไซต์ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน เป็นต้น
-
SEM (Search Engine Marketing)
SEM หรือที่เรียกอีกอย่างว่า PPC (Pay Per Click) คือการซื้อโฆษณาบน Search Engine โดยชำระค่าบริการตามจำนวนครั้งที่มีคนคลิกชม ตัวอย่างเช่น Banner โฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือเว็บไซต์ที่จะปรากฏในผลการค้นหาเป็นลำดับแรก ๆ โดยมีไอคอน Ad กำกับ อย่างไรก็ดี การทำ SEM จะให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่า SEO แต่ต้องใช้งบประมาณมากกว่า
2. Social Media Marketing
การทำการตลาดโดยอาศัย Social Media ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, Tiktok, Youtube ฯลฯ ซึ่งมักจะมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งบทความและภาพประกอบ วิดีโอขนาดสั้น วิดีโอขนาดยาว ตลอดจนการจัด Streaming Live และการ Create Stories สั้น ๆ รายวัน ข้อดีของการทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ คือการเปิดโอกาสให้แบรนด์ได้สื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค และสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นกว่าเดิม
3. Email Marketing
การส่งบัตรเชิญ โปรโมชันประจำเดือน หรือข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับแบรนด์ให้กับว่าที่ลูกค้าหรือลูกค้าเก่าผ่านทางอีเมล ซึ่งข้อดีของการทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ คือความรวดเร็วในการรับ – ส่งข้อมูล และการเลือกส่งสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างจำเพาะเจาะจง อย่างไรก็ดี แบรนด์สามารถสร้าง Formal Email ขึ้นมาเพียงฉบับเดียวแล้วส่งให้กับผู้รับหลักร้อยคนภายในครั้งเดียว หรือสร้าง Personalized Email เพื่อส่งแยกเฉพาะบุคคลได้ตามความเหมาะสม
4 ข้อที่เจ้าของธุรกิจมักทำพลาด เมื่อต้องวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์
เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ คือสิ่งที่สำคัญมากแค่ไหน เราขอยกตัวอย่าง 4 ข้อผิดพลาดยอดฮิตที่เจ้าของธุรกิจมักมองข้าม เมื่อเริ่มเข้าสู่โลกของ Online Marketing
1. โปรโมทกว้าง ๆ ไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
เมื่อเริ่มทำธุรกิจออนไลน์ เจ้าของธุรกิจส่วนมากมักเน้นทำการตลาดเพื่อคนหมู่มากโดยไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น หากคุณทำธุรกิจเครื่องสำอางเกาหลีสำหรับวัยรุ่น แต่เลือกที่จะโปรโมทกว้าง ๆ หลายช่องทาง โดยไม่ได้เจาะจงลูกค้าเฉพาะกลุ่ม คุณจะต้องใช้เงินลงทุนไปกับการโปรโมทจำนวนมาก แต่จะมีโอกาสปิดการขายกับลูกค้าจริง ๆ เพียงไม่กี่คน ดังนั้น เพื่อการบริหารจัดการงบประมาณที่เหมาะสม เราขอแนะนำให้คุณใช้เทคนิค STP Marketing ในการวิเคราะห์หาลูกค้าตัวจริงอย่างแม่นยำ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ (แนบลิงก์: STP คืออะไร? วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้แม่นยำด้วย STP Marketing)
2. เน้นโพสต์ขายสินค้าอย่างเดียว
เนื่องจากคอนเทนต์ให้ความรู้ (Knowledge Content) มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และต้องใช้เวลาสร้างสรรค์นาน เจ้าของธุรกิจบางท่านจึงให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ขายสินค้า (Hard Sell Content) ที่เน้นระบุเพียงคุณสมบัติของสินค้าและราคา มากกว่า แต่รู้หรือไม่? ข้อดีของคอนเทนต์ให้ความรู้ไม่ใช่แค่การกอบโกย Engagement อย่างมหาศาลเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ และทำให้คนเชื่อมั่นว่าแบรนด์ของคุณเชี่ยวชาญในตัวสินค้าชนิดนั้นอย่างแท้จริงอีกด้วย
3. สนใจแต่ยอดไลก์ ยอดแชร์
แม้หนึ่งในจุดประสงค์ของการวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ คือการเพิ่มยอด Engagement ให้กับช่องทางออนไลน์ แต่ในทางปฏิบัติจริง ยอดไลก์ ยอดแชร์ หรือแม้แต่จำนวนคอมเมนต์ไม่สามารถวัดผลความสำเร็จได้ทั้งหมด เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่คุณสามารถนำมาวัดผลได้ อาทิ จำนวนลูกค้าที่ทัก Inbox เข้ามาทางเพจ กระแสตอบรับของลูกค้าบนโลกออนไลน์ หรือแม้แต่จำนวนลูกค้าที่สามารถปิดการขายได้ในแต่ละไตรมาส เป็นต้น
4. ลืมให้ความสำคัญกับเว็บไซต์
เป็นความจริงที่การโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์เห็นผลเร็วและเข้าถึงคนได้ค่อนข้างง่าย แต่หากคุณอยากประสบความสำเร็จในระยะยาว และทำให้ลูกค้ามองคุณเป็น Professional Business มากขึ้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับการตลาดบนเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์เปรียบเสมือน “หน้าบ้าน” ของทุกธุรกิจ เมื่อลูกค้าต้องการทำความรู้จักกับธุรกิจของคุณ พวกเขามักจะ Search หาเว็บไซต์ และค้นคว้าข้อมูลที่จำเป็นจากช่องทางนั้น
แชร์เทคนิคการตลาดออนไลน์ เพิ่มยอดขายแบบเห็นผลเร็ว
หัวข้อสุดท้าย Cotactic ขอแชร์ 5 กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณปิดการขายได้ทะลุเป้า ลองศึกษาแต่ละเทคนิคก่อนนำไปปรับใช้ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายรวดเร็วยิ่งขึ้น!
1. Influencer ยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ปัจจุบันการโปรโมทผ่าน Influencer ไม่ใช่แค่การถ่ายภาพคู่กับสินค้าเท่านั้น แต่มักอยู่ในรูปแบบของคอนเทนต์วิดีโอหรือบทความรีวิวที่น่าสนใจ อีกทั้ง Influencer จะมีฐานผู้ติดตาม (Followers) ที่สนใจในคอนเทนต์ประเภทนั้น ๆ อยู่แล้ว คุณจึงมั่นใจได้ว่า สินค้าของคุณจะเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม การเลือก Influencer ควรเลือกให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งสารไปให้ถึงลูกค้าในอนาคตได้มากที่สุด
2. พยายามสื่อสารกับลูกค้าเป็นประจำ
ไม่เพียงแค่การตอบข้อความใน Inbox เป็นประจำเท่านั้น แต่การสื่อสารกับลูกค้าแบบ Active ยังทำได้อีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการอัปเดต Stories บน Social Media การสร้างโพลล์ตอบคำถาม หรือการทำคอนเทนต์เพื่อเชิญชวนคนมาแสดงความคิดเห็น การทำเช่นนี้นอกจากจะช่วยให้แบรนด์ได้ใกล้ชิดกับลูกค้าแล้ว ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจในความเอาใจใส่ของแบรนด์อีกด้วย
3. ลองใช้ Real-time Marketing
เพื่อสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดูจับต้องได้ เข้าถึงง่าย มัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด การใช้ Real-time Marketing คืออีกหนึ่งแนวทางที่สนใจ ปัจจุบันคุณจะเห็นได้ว่า แบรนด์ใหญ่ ๆ ที่เป็นรู้จักในระดับประเทศ เริ่มทำคอนเทนต์ Real-time เพื่อเพิ่มยอด Engagement และเรียกเสียงฮือฮาจากผู้ติดตามกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีข้อควรระวังเล็กน้อยสำหรับคอนเทนต์ประเภทนี้ คือควรระวังคำต้องห้าม และประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ เช่น ศาสนา การเมือง สีผิว ความเชื่อ ฯลฯ เพราะอาจกลายเป็นตัวจุดประกายความเกลียดชัง และส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์แบรนด์
4. เปิดใจให้ Affiliate Marketing
Affiliate Marketing คือ การตลาดที่แบรนด์ไว้ใจให้บุคคลช่วยหาลูกค้า เพื่อแลกกับค่า Commission ตอบแทน โดยหัวใจสำคัญของเทคนิคนี้ คือการคลิกลิงก์เพื่อสั่งซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ ปัจจุบัน Affiliate Marketing พบได้เป็นประจำในโพสต์รีวิวสินค้าบน Twitter หรือ Facebook ที่จะเกริ่นนำด้วยการแนะนำข้อดี – ข้อจำกัดของสินค้า พร้อมแนบลิงก์สำหรับสั่งซื้อไว้ในช่องคอมเมนต์ แม้ปัจจุบันคนจำนวนมากจะเริ่มรู้จักกับ Affiliate Marketing แล้ว แต่วิธีนี้กลับยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าแบรนด์จะยังโปรโมทโดยใช้วิธีนี้กันต่อไป
5. วางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ควบคู่กับการตลาดออฟไลน์
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการสร้างยอดขาย ลองโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออฟไลน์ เช่น Print Ads (ปิดประกาศตามพื้นที่ต่าง ๆ), Spot วิทยุ หรือ TVC ควบคู่ไปกับการโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะแม้ว่าการตลาดแบบออฟไลน์จะเป็นวิธีการแบบเก่า แต่ก็เป็นการตลาดที่แข็งแกร่งและจับต้องได้จริงมากกว่านั่นเอง
การวางกลยุทธ์การตลาดที่มีคุณภาพมักใช้เวลานาน และจำเป็นต้องอาศัยการลองผิดลองถูก ดังนั้น คุณจึงควรมีกระบวนการวัดผลที่แน่นอน ตลอดจนบันทึกกรณีศึกษาที่มีโอกาสได้พบเจอระหว่างทาง เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาสุดยอดกลยุทธ์ให้ดีขึ้นต่อไป
หากคุณต้องการมองหา บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress แบบครบทั้งระบบ หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้
โทร.065-095-9544
Inbox: m.me/cotactic
Line: @cotactic
——————————————————————–
ขอบคุณข้อมูลจาก: