ปัจจุบันอัตราการเติบโตในแวดวงธุรกิจเทคโนโลยีโลกเสมือนดูจะเติบโตมากขึ้นแบบก้าวกระโดดโดยเฉพาะในวงการเกมและภาพยนต์แฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายความเป็นดิจิทัลและ Metaverse มาทำขายกันอยู่บ่อย ๆ และในโลกความจริงก็มีอะไรที่จับต้องไม่ได้แต่มีคุณค่าในเชิงนามธรรมออกมาใช้งานจริงกันมากมาย อย่าง NFTs, Cryptocurrency และ Smart Contract
Smart Contract คืออะไร?
ต้องท้าวความทำความเข้าใจที่มาที่ไปของ Smart Contract เล็กน้อย เริ่มจากตัวแม่แบบของมันอย่าง Blockchain ที่เป็นเทคโนโลยีประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ในหนึ่งโหนดจะแทนผู้ใช้งานหนึ่งคนเชื่อมต่อกับโหนดอื่น ๆ แตกแขนงเป็นเครือข่ายเชื่อมกันเป็นทอด ๆ คล้ายร่างแห ทำให้แต่ละโหนดสามารถตรวจสอบบันทึกการทำงานของโหนดอื่นได้ ซึ่งในแต่ละธุรกรรมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงธุรกรรมเหล่านั้นหรือลบมันออกไปจากระบบได้
ทั้งนี้โดยปกติเรามักจะพบเห็น Blockchain ใช้งานคู่กับ Cryptocurrency รวมถึงเหรียญ Ethereum ที่มีคุณสมบัติของการทำ Smart Contract กันอยู่บ่อย ๆ
ฉะนั้นถ้าจะนิยามความหมายของ Smart Contract ก็คือโค้ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกเขียนขึ้น ให้ใช้งานร่วมกับ Blockchain สามารถนำไปใช้ในการเขียนสัญญาว่าจ้าง สัญญาซื้อขาย หรือเอกสารสัญญาสำคัญต่าง ๆ ได้ ซึ่งพิเศษกว่าสัญญาแบบธรรมดาตรงที่จะถูกเขียนขึ้นจากโค้ดคอมพิวเตอร์ในการบันทึกเนื้อหาสัญญา ผู้ทำสัญญาและเงื่อนไขในสัญญา เมื่อผู้ทำสัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เขียนเอาไว้ครบถ้วน ตัวสัญญาจะทำหน้าที่ยืนยัน ดำเนินการและอนุมัติตัวเองทันที และจะปล่อยโค้ดสำเนาสัญญาลงในแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ผู้ใช้งานคนอื่นที่เข้ามาดูธุรกรรมนี้สามารถตรวจสอบได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งตัวกลาง ทำให้ไม่มีใครโกงใครได้เพราะสัญญาถูกเขียนขึ้นจากโค้ด ไม่ใช่กระดาษ เมื่อถูกเผยแพร่แล้วจะกลายเป็นเอกสารสาธารณะไปโดยทันที ไม่ว่าใครก็ตามที่กดเข้ามาดูสินค้าชิ้นนั้น ๆ ก็จะพบกับสัญญาซื้อขายประกาศอยู่คู่กับตัวสินค้าเสมอ
ทำไม Smart Contract ถึงใช้งานร่วมกับ Ethereum
Ethereum ถูกพูดถึงมากในวงการคริปโตเพราะคุณสมบัติที่เป็น Stablecoin พอ ๆ กับ Bitcoin และ USDT มีความมั่นคงสูง ล้มยาก มาพร้อมความสามารถในการสร้าง Smart Contract ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือ NFTs ได้ จึงมักถูกใช้ในการทำสัญญาเป็นวงกว้าง
การทำงานของสัญญาอัจฉริยะบน Ethereum ผู้ทำสัญญาจะต้องเขียนสัญญาขึ้นมาในรูปแบบโค้ดคอมพิวเตอร์โดยใช้เหรียญ Ethereum เป็นสกุลเงินในการแลกเปลี่ยนสินค้า (หรืออาจใช้เป็นเหรียญอื่นก็ได้หากเหรียญนั้นมีคุณสมบัติในการทำ Smart Contract ด้วย อาทิ Cardano, Polkadot หรือ Cosmos) ทั้งสินค้าที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่าง NFTs ซึ่งแพลตฟอร์มในตอนนี้ที่เปิดให้บริการซื้อขาย NFTs โดยใช้เหรียญ Ethereum ก็มีอย่างเช่น Opensea.io, Rarible, Superrare, Atomicmarket.io เป็นต้น
ความเกี่ยวโยงของ Smart Contract กับ Metaverse
การใช้งานระบบ Blockchain และการถือครองเหรียญคริปโตต่าง ๆ ก็ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Metaverse ทั้งสิ้น เพราะ Blockchain คือตัวกลางที่จะช่วยให้คุณสามารถมีสิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลในโลกเสมือนได้ จึงทำให้คุณไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลในโลก Metaverse เท่านั้น แต่ยังได้สิทธิ์เป็นเจ้าของในโลกความจริงอีกด้วย และยังสามารถใช้พื้นที่โลกเสมือนในการซื้อขายหรือขอนัดดูสินค้าแบบที่ไม่ต้องออกไปดูสินค้าถึงที่ก็ได้ เพิ่มความสะดวกให้กับทั้งลูกค้า ผู้ขายเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้พื้นที่ของ Metaverse เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายสูงเกิดจากกลุ่มคนหลายกลุ่มร่วมกันสร้างโลกเสมือนที่แตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตหลายกลุ่มอาจเริ่มสนใจรวมตัวกันสร้าง Metaverse ที่ขยายใหญ่ออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ รองรับตลาดที่กำลังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้โลก Metaverse ไม่เพียงแต่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สันทนาการร่วมกันระหว่างมนุษย์อวตารทั้งหลายแล้ว บางส่วนก็ยังถูกใช้ในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ได้เฉพาะในโลก Metaverse เท่านั้น อย่างเช่น ร่างอวตาร เสื้อผ้าตัวละคร เครื่องประดับ ของหายากในเกม หรือการเคลื่อนไหวของตัวละครก็นับเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเช่นกัน และก็แน่นอนว่าการจะได้สินทรัพย์เหล่านี้มาก็ต้องเกิดการซื้อขายผ่าน Smart Contract มาก่อน (แต่ก็ไม่ใช่ทุกอัน เพราะเราสามารถซื้อขายสินทรัพย์ผ่านเหรียญ Crypto อื่น ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องใช้งาน Smart Contract)
ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไม Metaverse ถึงถูกใช้งานเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าผ่าน Smart Contract เพราะว่า ถ้าผู้ขายเปิดร้านอยู่ใน Metaverse ผู้ซื้อสามารถอวตารตัวเองเข้ามาขอดูสินค้าได้แบบ 3D จะจับต้องหรือหมุนดูสินค้าได้เหมือนซื้อสินค้าในโลกจริง หรืออาจดีกว่าด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์มือสองที่คุณไม่สามารถมุดเข้าไปดูใต้ท้องรถได้ในโลกจริง แต่คุณกลับหมุนมัน พลิกไปพลิกมาได้ในโลกเสมือน ตราบเท่าที่เจ้าของรถสแกนภาพใต้รถเข้าไปใน Metaverse ด้วย
ซึ่งหลังจากที่คุณทำข้อตกลงผ่าน Smart Contract เรียบร้อยแล้ว คริปโตวอลเล็ตที่เชื่อมอยู่กับรหัสยืนยันตัวตนในโลกจริงจะช่วยยืนยันตัวบุคคลและเริ่มทำการโอนถ่ายสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นคุณก็ไม่จำเป็นต้องจำรหัสเข้าเว็บไซต์ Metaverse ทุกเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชมก็ได้ ขอเพียงแค่คุณจำรหัสผ่านเข้าวอลเล็ตของคุณให้ได้ก็พอ เพราะหากว่าคุณลืมรหัส หรือทำรหัสหาย คุณก็เหลือโอกาสอยู่ไม่กี่ครั้งแล้วที่จะเปิดวอลเล็ตเองแบบสุ่มรหัส
ข้อกังวลเกี่ยวกับ Smart Contract ใน Metaverse
สิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับการใช้งาน Smart Contract ที่บางคนก็อาจรู้สึกว่ามันยังไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควร หากการใช้งานสัญญาเกิดมีปัญหากับตัวโค้ด ไม่ได้สินค้าตามที่ระบุหรือไม่ได้เงิน เราควรจะทำยังไงต่อ? ติดต่อสอบถามคนขาย? หรือจะไปฟ้องศาลดี? แล้วศาลจะไปฟ้องร้องกับ Blockchain ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ยังไงได้ มากสุดก็แค่บังคับให้คนเขียนโค้ดทำการแก้ไข แต่ก็อาจไม่ได้ครอบคลุมทุกความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หรือในกรณีเลวร้ายที่สุดที่การใช้งานโค้ดอาจเกี่ยวข้องกับชีวิตคนจนทำให้มีผู้เสียชีวิตในท้ายที่สุด แล้วเรื่องนี้ใครจะรับผิดชอบ? ดังนั้น หากอยากทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน Blockchain ที่ใช้งานร่วมกับ Metaverse แล้วล่ะก็ ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่โค้ดไม่ได้เป็นไปตามที่เราหวังเอาไว้ ลองติดต่อ Smart Contract Lawyer ที่มีความรู้ในด้านกฎหมายมาให้คำปรึกษาที่เหมาะสมในการทำสัญญาอัจฉริยะ และใช้ข้อกฎหมายที่รองรับการทำธุรกรรมตามสมควร เพื่อลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้
ทั้งนี้การตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้สัญญาอัจฉริยะก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าเชื่อมั่นในความปลอดภัยและโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดมากแค่ไหน แต่ในทางกลับกันข้อดีของการใช้ Smart Contract ก็มีดีไม่น้อย ลดโอกาสการโจรกรรมได้สูง ถึงแม้ในตอนนี้การใช้งาน Smart Contract อาจจะยังไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ แต่หากปรับแต่งไปเรื่อย ๆ ก็อาจกลายมาเป็นการทำสัญญาหลักในอนาคตแทนก็ได้ ดังนั้นก็ควรศึกษา Smart Contact และ Metaverse ให้ดีก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง
——————————————————————–
ร่วมงานกับทีม Cotactic Media บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress หนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
https://thematter.co/futureverse/futureword-smart-contract/160767
https://thenextweb.com/news/metaverse-will-have-you-hooked-onto-a-blockchain-syndication
https://www.thefashionlaw.com/the-metaverse-is-money-crypto-is-king-breaking-down-blockchain/