click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

Infographic เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกันดี เวลาเราเล่น Social Media ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือเวลาเราหาข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ต การใช้ Infographic คือการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ออกมาเป็น ‘ข้อมูลรูปภาพ’ และมีวิธีการนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ หลายครั้งที่เราเห็นคนนำ ข้อมูลรูปภาพ มาใช้งานโดยไม่มีข้อความอธิบาย หรือแม้แต่เราเองยังเคยกดบันทึกข้อมูลรูปภาพที่เป็นประโยชน์กับเราลงบนโทรศัพท์ โดยไม่ได้สนใจข้อมูลหรือเนื้อหาที่ผู้จัดทำแนบประกอบมาด้วย ดังนั้นข้อมูลที่เลือกมาทำข้อมูลรูปภาพ ต้องสามารถเข้าใจได้ง่าย ในเวลาอันรวดเร็ว เนื้อหาถูกต้อง มีข้อมูลครบถ้วนในสิ่งที่ต้องการสื่อสารจริง ๆ และไม่หลุดประเด็นไปจากหัวข้อที่เลือกมานำเสนอ

วันนี้ Cotactic เราเป็น Digital Marketing Agency จะพามาทำความรู้จักกับ Infographic กันให้มากขึ้น ลองมาดูกันว่า Infographic คืออะไร มีกี่ประเภท และเราจะออกแบบอย่างไรให้เข้าใจได้ง่าย

Infographic คืออะไร?

Infographic (อินโฟกราฟิก) มาจากคำว่า Information + Graphics คือ ข้อมูลที่นำเสนอออกมาในรูปแบบภาพเพื่อย่อยข้อมูลบางอย่างให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย สามารถสื่อสารออกมาในรูปแบบของกราฟ แผนผัง สัญลักษณ์ แผนภูมิ แผนที่ หรือลายเส้นต่าง ๆ นิยมใช้อธิบายสถิติ ตัวเลข หรือแม้แต่การนำรายละเอียดหลาย ๆ อย่าง มารวบรวมให้เข้าใจในภาพเดียว สามารถนำเสนอผ่านภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้

Infographic คืออะไร มีกี่ประเภท ทำยังไงให้เข้าใจง่าย

 

ประเภทของ Infographic

ประเภทของ Infographic แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ตามรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. รูปแบบข้อมูลเนื้อหา (Information Infographic)

Informational Infographic คือ รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สามารถพบเห็นบน Social Media ได้ทั่วไป เป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ มาสรุปไว้บนรูปภาพเดียว เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ย่อยง่าย เข้าใจได้รวดเร็วกว่าการอ่านข้อมูลแบบข้อความ

2. รูปแบบข้อมูลเชิงสถิติ (Statistics Infographic)

ข้อมูลเชิงสถิติถ้าอธิบายกันด้วยการใช้ข้อความ อาจจะทำให้ต้องนึกภาพในหัวกันยกใหญ่ บางข้อมูลก็ยากที่จะจดจำ และต้องใช้เวลาในการประมวลผลเพื่อทำความเข้าใจ หากนำข้อมูลเชิงสถิติเหล่านี้มานำเสนอในรูปแบบ Infographic ก็จะช่วยให้ผู้อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

3. รูปแบบข้อมูลตามลำดับเวลา (Timeline Infographic)

การใช้ Timeline Infographic สามารถช่วยเล่าเรื่องราวที่เราต้องการเรียงลำดับเวลาให้ผู้อ่านเข้าใจและจดจำได้ง่าย นิยมใช้เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมา หรือวิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น

4. รูปแบบข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparison Infographic)

ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเป็นการเอาข้อมูลที่มากกว่าสองชุด มาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างการเรียนในห้องเรียน กับการเรียนออนไลน์ ข้อมูลเปรียบเทียบสินค้า A และสินค้า B เป็นต้น

5. รูปแบบลิสต์รายการ (List Infographic)

การเล่าแบบ List Infographic คือการลิสต์ข้อมูลบางอย่างออกมาเป็นข้อ ๆ เป็นการพูดถึงภาพรวมไม่ได้เจาะรายละเอียดลงไปเหมือนกับ Information Infographic เหมาะสำหรับคอนเทนต์นำเสนอเคล็ดลับ วิธีการต่าง ๆ เช่น 9 วิธีมัดใจลูกค้า, 9 ทริกเพิ่มยอดผู้ติดตามบน TikTok เป็นต้น

6. รูปแบบกระบวนการ (Process Infographic)

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Process Infographic จะคล้ายกับรูปแบบ Timeline Infographic แตกต่างกันแค่ข้อมูลในภาพจะเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจกระบวนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ว่าเริ่มจากจุดไหนไปยังจุดไหน สามารถอธิบายขั้นตอนบางอย่างที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

7. รูปแบบลำดับความสำคัญ (Hierarchical Infographic)

การนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบ Hierarchical Infographic นั้น จะเป็นการเรียงข้อมูลตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย โดยใช้สีหรือสัญลักษณ์ในการบ่งบอกถึงความสำคัญ ผู้อ่านจะเข้าใจภาพได้โดยทันที นิยมใช้แผนผังหรือพีระมิดในการเล่าข้อมูล

องค์ประกอบใน Infographic ควรมีอะไรบ้าง?

การทำ Infographic เป็นการออกแบบที่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจ และตกผลึกจากข้อความมาเป็นข้อมูลภาพ หากเราเลือกข้อมูลหรือภาพประกอบใน Infographic ไม่ดี ก็อาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านได้ Infographic ที่ประสบความสำเร็จคือภาพที่คนสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยใช้เวลาอันรวดเร็ว

1. หัวข้อ

หัวข้อที่เราเลือกใช้ควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและชัดเจน จนสามารถดึงดูดผู้อ่านให้อยู่กับเราได้

2. เนื้อหาของ Infographic

เนื้อหาที่ต้องการนำมาใส่ลงใน Infographic นั้น ควรถูกเรียบเรียงมาแล้วระดับหนึ่ง ข้อมูลต้องถูกต้อง กระชับ และชัดเจน เน้นข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสารจริง ๆ เพื่อให้สามารถใส่ข้อมูลลงบนภาพได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ควรเช็กความถูกต้อง และไม่ให้ข้อความดูสั้นเกินไปจนคนอาจเข้าใจความหมายผิดได้

3. ธีมและการออกแบบ Infographic

การออกแบบ Infographic ก็เหมือนอย่างเช่นการออกแบบภาพประกอบทั่วไป ที่ต้องอาศัยความสวยงามเพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจคอนเทนต์ของเรา การนำข้อมูลเยอะ ๆ มาใส่ลงบนภาพ อาจจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าจะต้องใช้เวลาในการเสพข้อมูลของเราเยอะมากกว่าภาพประกอบทั่วไป แต่ถ้าเราสามารถเรียบเรียงข้อมูลให้ดูอ่านง่าย แบ่งสัดส่วนชัดเจน หรือใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยอย่าง การเลือกใช้สี การเลือกใช้ไอคอน หรือแม้แต่การออกแบบที่สื่อถึงหัวข้อที่กำลังนำเสนออยู่ ก็ช่วยให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนใจคอนเทนต์ของเรามากขึ้นได้

Infographic ที่ดี ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

Infographic ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง รวม 4 การทำ Infographic ให้กระชับ เข้าใจง่าย

1. หัวข้อมีความโดดเด่น ดึงดูดผู้อ่าน

การเขียนหัวข้อทำหน้าที่ตั้งแต่ส่งสารที่เราต้องการนำเสนอออกไปยังผู้อ่าน ไปจนถึงย่อเนื้อหาที่กำลังจะนำเสนอเล็กน้อย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่ากำลังจะต้องเจอกับข้อมูลประมาณไหน ดังนั้นหัวข้อที่เราใช้จะต้องโดดเด่น และดึงดูดผู้อ่านให้ได้

2. เนื้อหากระชับ ไม่หลุดประเด็น และถูกต้อง

ข้อมูลบน Infographic ที่ดี ควรจะมีข้อความที่กระชับ และถูกต้อง เนื้อหาควรถูกตรวจสอบและเรียบเรียงมาแล้ว คัดเฉพาะข้อความที่ต้องการสื่อสารอย่างตรงประเด็น ที่สำคัญต้องไม่หลุดโฟกัสไปจากหัวข้อที่เราเลือกมา

3. การเลือกรูปภาพ และไอคอนที่เข้าใจง่าย

จุดประสงค์ของ Infographic คือต้องการให้ผู้อ่านข้อมูล เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้นกว่าการอ่านข้อความ ดังนั้น การเลือกรูปภาพและไอคอน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ควรเลือกรูปภาพและไอคอนให้เหมาะกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร เล่าเรื่อง เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เรากำลังจะนำเสนออยู่ เพื่อช่วยดึงดูดผู้อ่านและช่วยกระตุ้นให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

4.  ใช้ฟอนต์ – โทนสีให้เหมาะสม ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป

หลักการใช้ฟอนต์ก็เหมือนการออกแบบกราฟิกทั่วไป ควรเน้นไปที่ฟอนต์ที่อ่านง่าย สบายตา เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลบน Infographic ได้ไวขึ้น ถึงแม้จะใช้สีสันที่ดึงดูดสายตา แต่ก็ไม่ควรฉูดฉาดจนเกินไป เพราะข้อมูลบน Infographic ค่อนข้างเยอะ ประกอบไปด้วยหลายส่วน ทั้งข้อความ ไอคอน และรูปภาพ

สรุป

Infographic คืออีกหนึ่งรูปแบบในการนำเสนอคอนเทนต์ ให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่เราต้องการนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว และมองเห็นภาพมากขึ้น เราสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความยาว หรือต้องอาศัยการทำความเข้าใจบางอย่าง นำมาแปลรูปแบบในการนำเสนอให้เป็น Infographic ได้ ด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อความที่กระชับ ตรงประเด็น การใช้ภาพประกอบที่สื่อถึงเรื่องราวที่กำลังนำเสนอ การใช้สี และไอคอนต่าง ๆ ในการช่วยเล่าเรื่องให้สมบูรณ์ ดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจคอนเทนต์ของเรามากขึ้นได้

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราเชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจหลักการทำ และการใช้งาน Infographic ได้เป็นอย่างดี เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีคอนเทนต์ที่สามารถนำมาทำ Infographic ได้ ก็อย่าลืมหยิบยกวิธีการทำ Infographic ตามที่ Cotactic แนะนำ มาปรับใช้งานตามรูปแบบคอนเทนต์ของคุณ รับรองว่าภาพประกอบคอนเทนต์ของคุณ จะน่าสนใจและมีประโยชน์กับผู้อ่านแน่นอน

อ้างอิง

https://www.ninjakantalad.com/7-types-of-infographic/

https://digi.data.go.th/blog/what-is-infographic/

ต้องการบริษัทรับทำ SEO หรือทีมงานมืออาชีพด้าน Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


บทความที่เกี่ยวข้อง

Google SERP

ทำไมแบรนด์ถึงควรทำ SEO เรียนรู้กลยุทธ์ติดอันดับการค้นหาผ่าน Google SERP หรือ SERPs

RMF Model

RFM Model คืออะไร? ทำไมการแบ่งกลุ่มลูกค้าถึงสำคัญ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้