[How to] วิธีทำ Facebook Catalog Ads เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ E-Commerce แบบละเอียดยิบ เปิดทำตามได้ตั้งแต่ต้นจนจบ!
E-Commerce คือ ธุรกิจที่เน้นการซื้อ-ขายสินค้า และให้ลูกค้าสามารถกดจ่ายเงินบนหน้าเว็บไซต์นั้นๆได้เลย โดยจะโฟกัสไปที่ยอดขายที่จะได้กลับเข้ามา หรือที่นักการตลาดส่วนใหญ่เรียกมันว่า Conversion ซึ่งธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ไม่ว่าใครก็ต้องรู้จักอย่าง Shoppee / Lazada ก็ถือว่าเป็นธุรกิจแบบ E-Commerce ที่มียอดขายกลับมาในแต่ละวันอย่างมหาศาล และถ้าคุณคือเจ้าของธุรกิจ E-Commerce หรือนักการตลาดที่ดูแลลูกค้าธุรกิจ E-Commerce อยู่ตอนนี้ แต่ดันมีเว็บไซต์ไว้เป็นแค่แบนเนอร์โฆษณาโชว์สินค้า แต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลับมาแล้วล่ะก็ เครื่องมือที่เรียกว่า Facebook Catalog Ads หรือเรียกสั้นๆว่า Facebook Catalog คืออีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการช่วยสร้าง Conversion เพิ่มยอดขายกลับเข้ามา แม้ไม่มากมายมหาศาลเท่า Shopee / Lazada แต่ก็ดีกว่ามีเว็บไซต์ไว้เป็นแค่ทางผ่านของลูกค้าแน่นอน!
Photo Cover Credit: Shopping vector created by stories – www.freepik.com
วิธีทำ Facebook Catalog Ads ง่ายๆ ใน 3 Step
แต่ในแต่ละ Step มีข้อย่อยๆอีกเพียบ แต่เขียนไว้แค่ 3 กลัวท้อกันซะก่อน! ส่วนใครพร้อมแล้วไปเริ่มกันได้เลย
Step 1: สร้าง Facebook Catalog ใน Catalog Manager
1. เข้า https://business.facebook.com คลิก Business Manager ตรงมุมบนซ้าย แล้วเลือก Catalog Manager หรือถ้าไม่มีตรง Shortcut ให้เลื่อนลงไปหาคำว่า Sell Product and Services จะเจอ Catalog Manager อยู่ด้านล่าง
2. เมื่อกดเข้ามา จะเป็นหน้าของ Catalog Manager คลิกปุ่มสีฟ้าเพื่อ Create Catalog > คลิกเลือก Ecommerce > Next ส่วนอันอื่นๆ จะเป็น Catalog ad สำหรับธุรกิจประเภท ท่องเที่ยว บ้านและคอนโด รวมถึงรถยนต์ ให้เลือกประเภท Facebook Catalog ให้ตรงกับธุรกิจที่เราทำ
3. หลังจากนั้นมันจะถามเราว่า อยากใส่ข้อมูลสินค้าที่ต้องการขายด้วยวิธีไหน
- Upload Product Info คือการใส่ข้อมูลสินค้าด้วยตัวเอง โดยการใช้ฟอร์มที่มีให้, ใช้ Excel Sheet หรือ ใช้ Facebook Pixels ซึ่งจะอธิบายลึกลงไปใน Step 2
- Connect E-Commerce Platform คือการใส่ข้อมูลสินค้าแบบอัตโนมัติ โดยการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ของเรา เข้ามาที่ Facebook Catalog แต่ต้องดูว่าระบบเว็บไซต์ของเรานั้น เป็นระบบที่รองรับหรือเปล่า ซึ่งระบบที่รองรับการใส่ข้อมูลแบบอัตโนมัติคือ Shopify, Magento, WooCommerce, BigCommerce และ OpenCart ตามภาพตัวอย่าง
ซึ่งในบทความนี้เราจะสอนการใส่ข้อมูลสินค้าแบบ Upload Product Info ถึงแม้ว่าจะดูยุ่งยากกว่าแบบอัตโนมัติ แต่การใส่ข้อมูลโฆษณาหมวดหมู่แบบนี้จะทำให้เราเข้าใจระบบของ Facebook Catalog ได้ดียิ่งขึ้น
4. ตรง Who owns this catalog? เลือกว่าจะให้ใครเป็นเจ้าของ และจัดการ Facebook Catalog โดยเลือก Business Account ของคุณ หรือเลือกเป็น Personal ก็ได้ เมื่อเลือกได้แล้วก็ตั้งชื่อ Catalog จากนั้นคลิก Create > View Catalog เป็นอันเสร็จเรียบร้อยใน Step 1
Step 2: ใส่ข้อมูลสินค้าที่ต้องการขาย
เมื่อเสร็จจาก Step 1 แล้ว จะเข้าสู่ Step 2 ในส่วนของการใส่ข้อมูลสินค้าที่เราต้องการโฆษณา
1. ตรงเมนูด้านซ้ายมือ คลิก Product Data Sources > Add Products
2. จะมีหน้าที่ถามว่า เราอยากใส่ข้อมูลสินค้าด้วยวิธีไหน
- Add Manually คือ การใส่ข้อมูลทีละอย่าง ตามแบบฟอร์มที่ Facebook กำหนดไว้ให้
- Use Data Feeds คือ การอัพโหลดไฟล์ Excel เข้าไปในระบบ ซึ่งควรมีสินค้ามากกว่า 50 ชิ้นขึ้นไปตามที่ Facebook เขา Reccommend มา แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่เป็นไร ยังสามาถทำ Facebook Catalog ได้
- Connect Facebook Pixels คือ การอัปเดตข้อมูลใน Facebook Catalog ด้วย Facebook Pixel ที่ติดอยู่บนเว็บไซต์
ซึ่งเราได้บอกไปแล้วว่าเพื่อให้เข้าใจระบบของ Facebook Catalog ได้ดียิ่งขึ้น เราจะไม่ใช้ฟอร์ม หรือ Facebook Pixels แต่จะใช้ Data Feeds ที่เป็นไฟล์ Excel ในการอัปโหลดขึ้นไป
3. เลือก Use Data Feeds > Next > คลิก Download CSV Template จากนั้นเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา แล้วใส่ข้อมูลให้ครบ
4. ซึ่งในไฟล์ที่โหลดมา จะมีคอลัมน์เยอะแยะมากมาย ให้สังเกตคอลัมน์ที่มีคำว่า # Required คอลัมน์ใดก็ตามที่มีคำนี้ บังคับเลยว่าจะต้องใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน ส่วนคอลัมน์ที่มีคำว่า # Optional จะใส่ข้อมูล หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่เราแนะนำว่าควรใส่ข้อมูลให้ได้เยอะที่สุด แม้ว่าจะเป็นคอมลัมน์ # Optional ก็ตาม เพราะยิ่งใส่เยอะ ระบบก็จะทำความรู้จักสินค้าของเราได้ดียิ่งขึ้น Remark สักนิด บวก *** อีกสามตัว ควรจำให้ขึ้นใจเลยว่า การใส่ข้อมูลในไฟล์ Excel ที่โหลดมานั้น ต้องเป็น Format ข้อมูลที่ Facebook Catalog มันอ่านออกเท่านั้น!!!
ยกตัวอย่างเช่น คอลัมน์ราคา จะต้องเป็น Format ตัวเลขแล้วตามด้วย Currency แบบย่อเท่านั้น คือ ✔️ 4000 THB จะมาใส่ ❌ 4,000 THB ❌4000 Thai Baht ❌4000 Baht ไม่ได้
ดูตัวอย่างการใส่ข้อมูลใน Facebook Catalog ให้ถูก Format
อีกคอลัมน์ที่หลายคนมีปัญหาคือ google_product_category ที่ไม่รู้ว่าจะต้องใส่คำไหน ซึ่งมันต้องใส่คำ หรือตัวเลข category ที่ระบบกำหนดมาให้ เช่น ถ้าคุณขายเสื้อยืด ในช่อง google_product_category จะต้องใส่คำว่า Apparel & Accessories > Clothing > Shirts & Tops หรือเลือกใส่ตัวเลข 212 ในคอลัมน์นี้แทนก็ได้เช่นกัน
ดูลิสต์ google_product_category ทั้งหมด
ซึ่งถ้าคุณใส่คำอื่นๆ ที่ไม่ใช่ในลิสต์พวกนี้ Facebook Catalog จะอ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ เวลาอัปโหลดไฟล์จะกลายเป็น Error ทันที! ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงควรใส่ให้ถูก Format ตั้งแต่แรก ซึ่งบอกเลยว่านี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำหมวดหมู่โฆษณา
5. เมื่อใส่ข้อมูลในไฟล์ Excel ตาม Format ที่ Facebook Catalog ad กำหนดแล้ว กลับมาที่ Event Manager อีกรอบ แล้วทำแบบเดิมคือ คลิก Product Data Sources > Add Products > Use Data Feeds > Next
6. ตั้งชื่อ Data Source Name ส่วน Default Currency เปลี่ยนเป็น THB – Thai Baht
7. ตรง Select Upload Method ให้เราเลือกว่าจะอัปโหลดไฟล์แบบไหน
- Set Automatic File Upload Schedule
เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีรายการสินค้าค่อนข้างเยอะ มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสินค้า จำนวนสินค้าใน Stock อยู่ตลอดๆ สามารถตั้งค่าให้ Facebook Catalog อัปเดตข้อมูลเป็นรายชั่วโมง รายวัน หรือรายสัปดาห์ก็ได้ - Upload File Manually
เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีรายการสินค้าค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสินค้ามากนัก (ถ้าเลือกอัปโหลดด้วยวิธีนี้ สามารถข้ามไปที่ข้อ 10 ได้เลย)
8. ถ้าเลือก Set Automatic File Upload Schedule ให้ Copy ข้อมูลในไฟล์ที่เราใส่ข้อมูลสินค้าเรียบร้อยแล้ว ไปวางบน Google Sheet แล้ว Copy Link แบบ CSV ทำได้โดยการไปที่ Google Sheet ที่ต้องการ > File > Publish to the web
- ตรง Link เลือกเฉพาะ sheet ที่ใส่ข้อมูลรายการสินค้า หรือจะเลือก Entire Document เพื่อให้ Facebook Catalog อ่านข้อมูลทั้งหมดในไฟล์ก็ได้
- ตรง Embed เลือก Comma-separated values (.csv)
จากนั้นกด Publish > แล้ว Copy Link มาวางในช่อง Data Feed URL ส่วนตรง Username กับ Password ไม่จำเป็นต้องใส่
9. ด้านล่างจะมีให้ Set Automatic File Upload Schedule ว่าต้องการให้ระบบอัปเดตข้อมูลใน Sheet บ่อยแค่ไหน Hourly (อัปเดตทุกชั่วโมง), Daily (อัปเดตทุกวัน), Weekly (อัปเดตทุกสัปดาห์) รวมถึงตั้งเวลาวัน เวลา และ Time Zone ซึ่ง Time Zone ของประเทศไทย คือ GMT+07:00 พอตั้งค่าเรียบร้อยก็กด Start Upload
10. ถ้าคุณเลือกอัปโหลดข้อมูลหมวดหมู่โฆษณา แบบ Upload File Manually ให้กด Upload File > เลือกไฟล์ที่ต้องการ > Next
11. ระบบจะทำการอัปโหลดข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่มีปัญหาจะขึ้นเป็นสีเขียวตามภาพ แต่ถ้าขึ้นสีแดง หรือมีไอคอนตกใจสีเหลืองขึ้นมาแสดงว่าข้อมูลในไฟล์บางคอลัมน์อาจมีปัญหา หรือ Format ไม่ถูกต้อง ให้กลับไปแก้ไขใหม่ จนกว่าจะกลายเป็นสีเขียวให้ได้! (บอกเลยว่าครั้งเดียวไม่เคยผ่าน แต่ถ้านผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ที่เหลือก็สบาย)
12. สำหรับใครที่ผ่านข้อ 11 มาได้ เราขอแสดงความยินดี เพราะคุณคือผู้ชนะที่สามารถผ่านด่านสุดหินของการทำ Facebook Catalog Ads ได้แล้ว ให้คุณไปตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าว่าถูกต้อง สวยงามตามที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า? โดยการไปกดเมนูด้านซ้ายมือ ตรงคำว่า Products ก็จะเจอรายการสินค้าของเราเรียงรายอยู่ในหน้านี้ตามภาพ
13. ถ้ารายการสินค้าของคุณมีเยอะมาก อยากจัดประเภทสินค้า ก็สามารถคลิก Create Product Set แล้วเลือกสินค้าในแต่ละ Product Set ได้ตามต้องการ เป็นการสิ้นสุด Step 2 ในส่วนของการใส่ข้อมูลสินค้าที่ต้องการขายเรียบร้อย
Step 3: นำ Catalog ที่สร้างไว้ไปยิงแอด
มาถึง Step สุดท้าย และเป็น Step สำคัญ นั่นก็คือการเอา Facebook Catalog ที่เราทำไว้ มารันโฆษณา
1. ไป https://business.facebook.com คลิก Business Manager ตรงมุมบนซ้าย แล้วเลือก Ads Manager หรือถ้าไม่มีตรง Shortcut ให้เลื่อนลงไปหาคำว่า Advertise จะเจอ Ads Manager อยู่ด้านล่าง
2. พอเข้ามาในหน้า Ads Manager แล้ว ให้คลิก Create > Catalog sales > เลือกชื่อ Facebook Catalog ที่เราต้องการ > Continue
3. ตั้งชื่อ Campaign > Next
4. จะเข้ามาอยู่ในหน้าของการตั้งค่า Audience ตรง Promote Products เลือกสินค้าใน Facebook Catalog ที่ต้องการโฆษณา โดยเลือกเป็น All Products (โฆษณาทุกชิ้น) หรือเลือกเฉพาะ Product set บางสินค้า ก็ได้ ถ้ายังไม่ได้ทำ Product set สามารถตั้งค่าตรงนี้ได้โดยการกดปุ่ม + > ใส่เงินสำหรับรันโฆษณา > ตั้งระยะเวลาการรันโฆษณา > ตั้งค่ากลุ่ม Audience ที่เราต้องการ > Next
5. จะเข้ามาในส่วนของการตั้งค่าตัวหมวดหมู่โฆษณา ให้ตั้งชื่อ Ad Name > เลือก Facebook Page และ Instagram Account > ใส่รายละเอียดสินค้าตามต้องการ จากนั้นก็กด Publish เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
6. ทีนี้ก็แค่รอดูผลของ Facebook Catalog Ads ที่เรารันไปว่ามันดีหรือแย่ แต่ถ้ายังมืดแปดด้านไม่รู้ว่าจะวัดผลยังไงเลื่อนไปที่หัวข้อด้านล่างเลย!
วัดผลยังไงว่า Facebook Catalog Ads ที่เราทำ มันดี / แย่?
สามารถดูผลได้ใน Ads Manager ที่เราใช้สร้างหมวดหมู่โฆษณา โดยการใช้ Metric ของ Facebook ที่มีมาให้ ซึ่งมันมีเยอะมาก แต่หลักๆ ที่เราจะใช้คือ
-
Link Clicks
จำนวนการคลิก Facebook Catalog Ads ว่ามีคนคลิกจำนวนทั้งหมดกี่ครั้ง
-
CTR
หรือก็คือ Click-Through Rate เป็นอัตราการคลิก Facebook Catalog Ads ของเรา จะบอกเป็น % ความน่าสนใจของตัวโฆษณา ถ้าตัวเลข % CTR สูง แสดงว่า Facebook Catalog Ads คนให้ความสนใจ ไม่ใช่แค่เห็น แต่ไม่คลิก
-
CPC
Cost Per Click (CPC) คือ เงินที่เราต้องจ่ายให้ Facebook เพื่อให้มีคนคลิก Facebook Catalog Ads ของ 1 คนเรา ถ้าราคา CPC สูงมากจนเกินไป เป็นสัญญาณที่บอกว่า Facebook Catalog Ads ของคุณกำลังแย่
-
ViewContent
อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นของบทความว่า ก่อนจะทำ Facebook Catalog Ads ควรมี Facebook Pixel Tracking ซะก่อน เพราะมันมีความสำคัญในการวัดผลนี่แหละว่ามันดีมันแย่อย่างไร โดย ViewContent คือ จำนวนครั้งที่คนเข้ามาชมสินค้าในเว็บไซต์ของคุณ ถ้าตัวเลขสูงก็แสดงว่าสินค้ามีความน่าสนใจ คนเเข้ามาดูเยอะ
-
Purchase
Purchase คือ จำนวนสินค้าว่าขายไปได้กี่ชิ้นแล้ว ตัวเลขนี้ยิ่งเยอะยิ่งดี แต่ต้องดู Cost/Purchase ประกอบด้วย เพราะถึงแม้ว่าได้ Purchase เยอะ แต่ Cost/Purchase แพงก็ไม่คุ้ม
-
Cost/Purchase
Cost Per Purchase คือ เงินที่เราจ่ายให้ Facebook เพื่อให้มีคนมาซื้อของเราในเว็บไซต์ 1 คน ตัวอย่างเช่น
เราจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ทั้งหมด 5,000 บาท มี Purchase หรือคนเข้ามาซื้อของในเว็บไซต์ทั้งหมด 10 คน ดังนั้น
Cost/Purchase คือ 5000 ÷ 10 = 500
ในกรณีที่ Purchase เยอะขึ้นเป็น 20 คน แต่จ่ายให้ Facebook 15,000 บาท
Cost/Purchase จะเป็น 15,000 ÷ 20 = 750
กรณีหลังถึงแม้จำนวน Purchase จะเยอะกว่า แต่พอคิด Cost/Purchase ออกมาแล้ว กลับแพงกว่า เพราะฉะนั้นเวลาวัดผลหมวดหมู่โฆษณาเฟสบุ๊คจะต้องดูทั้งจำนวน Purchase และ Cost/Purchase ควบคู่กันไปด้วย
-
Purchase Value
Purchase Value คือ มูลค่าสินค้าที่ลูกค้าเข้ามาซื้อของในเว็บไซต์ หรือก็คือ ยอดขายบนเว็บไซต์นั่นเอง ตัวเลขของ Purchase Value ยิ่งเยอะยิ่งดี แต่ก็ต้องดูด้วยว่า เงินที่เราจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook มันคุ้มกันหรือเปล่า
-
ROAS
ROAS หรือก็คือ Return on ad spend ว่าได้เงินกลับมากี่เท่า จากค่าโฆษณาที่ลงไป เช่น ROAS 4 เท่า หมายความว่า จ่ายเงินค่าโฆษณาไป 1 บาท เราได้เงินกลับมา 4 บาท แต่ถ้าเราจ่ายค่าโฆษณาไป 100,000 บาท เราก็จะได้เงินกลับมา 400,000 บาท ยิ่งจำนวน ROAS สูงเท่าไหร่ ยิ่งแสดงว่าหมวดหมู่โฆษณาเฟสบุ๊คสามารถ Return กลับมาให้เราคุ้มค่าเท่านั้น
จะเห็นว่า Metrics ในการวัดผล Facebook Catalog ads ไม่สามารถใช้ตัวใดตัวหนึ่งในการชี้ผลเด็ดขาดได้ แต่จะต้องดู Metrics หลายๆตัวประกอบกัน ถึงจะติดสินได้ว่า Facebook Catalog ads ที่เราทำออกมานั้น ดี / แย่กันแน่
หากอ่านจบถึงตรงนี้แล้ว ยังมีบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจ หรือกำลังมองหาทีม Cotactic Digital Marketing Agency มาช่วยรับทำ Facebook Ads , Facebook Catalog Ad เพื่อสร้าง Conversion เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ E-Commerce ของคุณโดยบริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress มืออาชีพ ติดต่อมาหาเราได้เลย
COTACTIC MEDIA CO., LTD
22 fl., GMM GRAMMY Building, Khlong Toei Nuea, Wattana, Bangkok, 10110
02-259-2456