สายงาน Digital Marketing คงเป็นไปได้ยากมากหากจะหลีกเลี่ยงการทำคอนเทนต์ที่ต้องพึ่งพากลุ่มคนที่เป็นผู้นำทางความคิดหรือที่เรียกกันติดปากว่า “Influencers” ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในหลาย ๆ ช่องทาง ซึ่งนอกจากจะทำให้แบรนด์ได้รับยอด Lead หรือเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นแล้ว ทางฝั่งของอินฟลูฯ ก็จะได้ยอดผู้ชมและผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้น ดึงดูดให้คนทั่วไปอยากหันมาลองศึกษาการเป็นอินฟลูฯ ในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะมากขึ้น
แต่ทว่ากลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดก็ยังแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่ม Influencers และ กลุ่ม KOL ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เลือกให้เหมาะกับแพลตฟอร์ม Digital Marketing ตัวไหนได้บ้าง ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้ ในบทความนี้มีคำตอบ
Influencers และ KOL แตกต่างกันอย่างไร
Influencers
เป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่มีจำนวนเยอะกว่าอีกแบบ ปรากฏตัวอยู่ในช่องทางออนไลน์ในหลาย ๆ แพลตฟอร์มที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ มักทำคอนเทนต์ไปในด้านใดด้านหนึ่งที่ตัวเองถนัดโดยเฉพาะ คอนเทนต์ที่ทำจะมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามที่ตัวเองถนัดเช่นกันทั้งงานเขียน ทำคลิป การถ่ายภาพ หรือรีวิวสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็จะนำคอนเทนต์ที่ทำเอาไว้ไปลงบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, YouTube, Instagram, Twitter ฯลฯ เพื่อสร้าง Engagement ให้คนสนใจและติดตาม ช่วยให้คำแนะนำและการรีวิวแก่ผู้ติดตามมากกว่าการให้ความรู้ ซึ่งระดับความมีอิทธิพลของอินฟลูฯ จะวัดจากจำนวนยอดผู้ติดตาม ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็แปลว่ามีคนให้ความสนใจและพร้อมรับฟังมากเท่านั้น
ยกตัวอย่าง คุณญาญ่า อุรัสยา ดารา นักแสดงชื่อดังที่ไม่ว่าจะซื้อจะหยิบจับอะไรก็ทำให้สินค้านั้น ๆ ราคาพุ่งสูงขึ้นปรี๊ดอย่างกรณีการซื้อต้นไม้ ที่ทำเอาราคาต้นไม้ขยับพุ่งสูงอย่างน่าตกใจ หรือคู่รักวัยรุ่น หมาก ปริญ และ คิมเบอร์ลี่ ที่ไม่ว่าจะลงโฆษณาตัวไหนเป็นต้องออกคู่กันตลอดกับล่าสุดอย่าง โฆษณารสดี เป็นต้น
KOL (Key Opinion Leader)
บุคคลในกลุ่มนี้จะมีจำนวนน้อยกว่าอินฟลูฯ เป็นอย่างมาก และบางครั้ง KOL บางคนก็จัดอยู่ในกลุ่ม Influencers ด้วยเช่นกัน แต่ในเรื่องของคุณภาพและความรู้ที่สั่งสมมาในกลุ่ม KOL นั้นถือได้ว่ามีคุณภาพสูง บางคนถึงขั้นจัดอยู่ในหมวดหมู่หาตัวจับได้ยากเลยก็ว่าได้ เป็นกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในด้านนั้น ๆ แบบเจาะจง ช่วยมอบความรู้ให้ผู้ติดตามมากกว่าขายของหรือรีวิว และด้วยชื่อเสียงที่มีความเชี่ยวชาญสูงทำให้สามารถโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายมากกว่า
ยกตัวอย่าง เพจ การตลาดวันละตอน ที่นำเสนอข้อมูลทางด้านการตลาดใหม่ ๆ วันละตอนให้ผู้ติดตามได้อ่าน นำเสนอสาระน่ารู้ด้านการทำ Digital Marketing การสอนวางแผนการตลาดออนไลน์ และข้อมูลที่น่าสนใจใหม่ ๆ
หรือเพจ TaxBugnoms เพจกูรูให้ความรู้เรื่องการเงิน การบัญชี การเสียภาษีสำหรับมือใหม่ การหาค่าลดหย่อนภาษี รวมถึงวิเคราะห์เหตุการณ์และข่าวที่เกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อการเงินของคุณ
ข้อดีของการทำ Influencers / KOL Marketing ที่สาย Digital Marketing ต้องรู้
-
เพิ่ม Brand Awareness
จำนวนผู้ชมและผู้ติดตามของอินฟลูฯ คนนึงอาจมีได้ตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักล้านราย ยิ่งเป็นอินฟลูฯ ที่มีผู้ติดตามเป็นกลุ่ม Niche Marketing ก็ยิ่งเข้าถึงกลุ่มผู้ชมเฉพาะทางได้ง่ายกว่า ช่วยให้แบรนด์คุณเพิ่มค่าการมองเห็นแบรนด์ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ และนำไปบอกต่อสู่ภายนอก เพิ่ม Brand Awareness ได้อย่างไม่รู้จบ
-
ยกระดับความน่าเชื่อถือและความไว้ใจ
กลุ่มที่เป็น Influencers โดยเฉพาะกลุ่ม KOL เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และผู้ติดตามก็เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจในด้านนั้น ๆ อยู่ด้วยเช่นกัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมผู้ติดตามถึงเชื่อใจแบรนด์หรือสินค้าที่อินฟลูฯ นำมาบอกต่อได้มาก เพราะพื้นฐานของพวกเขาที่สร้างแรงบันดาลใจและสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นระหว่างกันทำให้ผู้ติดตามที่ได้ดูโฆษณาแนะนำสินค้าจากอินฟลูฯ จึงไม่รู้สึกเหมือนกำลังดูโฆษณาอยู่เลย
-
เติมเต็มช่องว่างด้าน Digital Marketing Strategy ของคุณ
การให้แบรนด์คิดคอนเทนต์หรือโปรโมทสินค้า/บริการอยู่ฝ่ายเดียวจะกินเวลาและพลังงานทั้งฝั่ง In-house Marketing และ Agency มากเกินไป จุดนี้นี่แหละที่อินฟลูฯ จะเข้ามาอุดช่องว่าง ช่วยให้แผน Digital Marketing ของคุณเต็ม เพราะผู้ติดตามของพวกเขาพร้อมที่จะรับฟังคอนเทนต์ของพวกเขาอยู่แล้ว แค่ให้อินฟลูฯ แนะนำสินค้านิด ๆ หน่อย ๆ ยอดการสั่งจอง ซื้อขายก็เพิ่มขึ้นแล้ว
-
เป็น Partnership ในระยะยาวแบบ Win-Win ทั้งสองฝ่าย
ในปัจจุบันแบรนด์หลายเจ้าเลือกที่จะไม่จ้างงาน Influencers ในระยะสั้น ๆ หรือจ้างงานตามแคมเปญไปแล้ว แต่เลือกที่จะจ้างงานแบบ Long-term Partnership แทนในระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ทั้งแบรนด์และอินฟลูฯ ประหยัดเวลาและทรัพยากรในการจ้างงาน เงิน และสร้างคอนเทนต์ไปได้มากกว่าการจ้างแบบระยะสั้น และยังช่วยเพิ่มค่าความน่าเชื่อถือตามข้อที่ 3 ซึ่งจะส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
-
ช่วยบูสท์คอนเทนต์ SEO, ROI และ Bottom line ผลการดำเนินการได้
การทำ SEO แบบปกติต้องใช้ทั้งเวลา ความสามารถ และการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลากว่าหน้าคอนเทนต์จะขึ้นไปติดอันดับ Search ได้ ยังไม่รวมถึงการทำ Backlink ที่ต้องไปติดต่อขอฝากคอนเทนต์และการเขียนคอนเทนต์ใหม่ที่จะเสียเวลาคุณเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งจากผลการสำรวจระบุว่ากว่า 57% ของคอนเทนต์ที่ อินฟลูฯ เป็นคนทำมีค่า Performance สูงกว่าคอนเทนต์ที่แบรนด์เป็นคนทำทั้งหมด เพราะฐานผู้ฟังที่มีจำนวนมากอยู่แล้ว การสร้าง Traffic มาที่หน้าเว็บไซต์แบรนด์คุณจึงเป็นอะไรที่ไม่ยากเย็นนัก ช่วยยกระดับค่า ROI และ Buttom line ให้สูงขึ้นไปอีก
-
ช่วยให้ผู้บริโภคพิจารณาการซื้อได้ดีขึ้น
เคยไหม? เวลาเรากำลังวางแผนซื้อสินค้าอะไรบางอย่างที่มีความสำคัญมาก ๆ หรือมีราคาแพงมาก ที่ต้องใช้เวลาคิดทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าก่อนจะซื้อ โดยทั่วไปแล้วเราจะอ่านรีวิวหรือดูคลิปรีวิว วิเคราะห์สินค้านั้น ๆ ควบคู่กับการชั่งน้ำหนักในใจของเราก่อนจะซื้อเสมอ ซึ่งผู้ที่ทำคอนเทนต์รีวิวสินค้าเหล่านั้นก็คือกลุ่มอินฟลูฯ เองนี่แหละ ยิ่งอินฟลูฯ รีวิวสินค้า/บริการแบบละเอียดยิบแค่ไหน ก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ติดตามอยากมาลองซื้อสินค้าหรือใช้บริการแบรนด์ของคุณมากขึ้นเท่านั้น
-
เพิ่มยอดการรับชมบนโซเชียลมีเดียได้อย่างไม่รู้จบ
เพราะอินฟลูฯ ต้องมีการลงคอนเทนต์หรือไลฟ์สดพบปะแฟน ๆ อยู่แล้วในทุกวันหรือทุกสัปดาห์ ซึ่งในระหว่างการทำคอนเทนต์ก็มักจะมีการ Tie-in สินค้าเข้ามาอยู่สม่ำเสมอเป็นการย้ำเตือนผู้ติดตามให้ไปลองซื้อสินค้า/ใช้บริการเหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นคอนเทนต์ที่ถูกโพสต์ลงบนสื่อโซเชียลจะยังคงอยู่บนแพลตฟอร์มนั้นตลอดไป หากยังไม่ถูกลบ ทำให้ใครก็ตามที่ค้นหา Keyword เดียวกันนั้นเจอคอนเทนต์นี้และนำไปแชร์ต่อบนโซเชียลและถูกพูดถึงได้อย่างไม่รู้จบ
-
เม็ดเงินที่ลงทุนไปคุ้มค่าทุกบาท
ในตอนนี้การทำ Digital Marketing ที่ใช้โปรโมทสินค้าหรือบริการที่ใช้การจ่ายเงินค่าโฆษณานับวันยิ่งเพิ่มต้นทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันการทำ Influencers Marketing จะช่วยให้ต้นทุนการโฆษณาและการโปรโมทลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะอินฟลูฯ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายกว่าและกว้างขวางกว่าการปล่อยให้ผู้บริโภคกดค้นหาใน Google เองเสียอีก
วิธีค้นหา Influencers และ KOL ให้เหมาะกับแบรนด์
1. รู้จักเป้าหมายของแบรนด์ก่อนจะเริ่มต้นทำ Influencers Marketing
อย่าพยายามโฟกัสกับการมองหาอินฟลูฯ ทุกคนทั้งหมด ให้หาอินฟลูฯ ที่ ใช่ กับแบรนด์คุณมากที่สุด การเป็นอินฟลูฯ ที่ใช่เป็นได้ทั้งบุคคล แบรนด์ หรือเพจบนโซเชียลมีเดียที่ช่วยให้แบรนด์คุณเอื้อมไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ขั้นตอนแรกสำหรับเริ่มต้นการทำแคมเปญ Influencers Marketing คือให้คุณลองวางแผนโครงร่างถึงเป้าหมายของคุณ สิ่งที่คุณอยากจะได้เป็นผลลัพธ์จากการวางกลยุทธ์ Digital Marketing ชิ้นนี้ ซึ่งเป้าหมายการตลาดของคุณสามารถมีได้หลายอย่าง เช่น
- Brand Awareness
- การสร้างตัวตนให้กับแบรนด์
- การสร้างฐานกลุ่ม Audience
- สร้างยอด Engagement
- เพิ่ม Lead Generation
- เพิ่มยอดการขาย
- สร้างความซื่อสัตย์ของลูกค้า (Customer Loyalty)
- เป็นสะพานสร้างการเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์ ผู้บริโภค และ อินฟลูฯ
2. รู้จักประเภทของแคมเปญ Influencers ที่จะนำมาใช้
หลังจากรู้เป้าหมายของแบรนด์แล้วก็ให้เลือกรูปแบบแคมเปญที่จะนำมาใช้ ซึ่งมีหลายรูปแบบมากดังนี้
- การมอบของขวัญ ของกำนัล : ให้ของขวัญแก่อินฟลูฯ เพื่อให้พวกเขาเอาแบรนด์คุณไปพูดถึง หรือโพสต์ถึงอีกที
- Guest Posting : ซื้อพื้นที่ของอินฟลูฯ เพื่อให้แบรนด์นำบล็อกไปเขียนลงในช่องของเขา
- Sponsored Content : จ่ายเงินให้อินฟลูฯ แชร์คอนเทนต์ของคุณหรือสร้างคอนเทนต์ที่ Tie-in ไปแบรนด์คุณ
- Influencers Takeover : ยินยอมให้อินฟลูฯ เข้าใช้งานจากบัญชีโซเชียลของแบรนด์ในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อผลิตคอนเทนต์ให้แบรนด์โดยเฉพาะ
- Contests and Giveaways : ใช้เกมการแข่งขันและมอบค่านายหน้าให้กับอินฟลูฯ เพื่อให้พวกเขาพูดถึงแบรนด์ของคุณหรือแชร์คอนเทนต์คุณต่อไป
- Affiliate : แชร์ Affiliate Code ให้กับอินฟลูฯ ทุกครั้งที่มีคนกดเข้ามาหน้าเว็บไซต์ผ่านลิงก์ที่แชร์ไว้ อินฟลูฯ จะได้ค่านายหน้าเป็นการตอบแทน อ่านบทความเพิ่มเติมด้าน Affiliate ต่อได้ที่นี่
- โค้ดลดราคา : มอบโค้ดส่วนลดให้กับอินฟลูฯ เพื่อให้ไปทำคอนเทนต์สำหรับแจกจ่ายให้กับแฟน ๆ หรือ ผู้ติดตามเอาไปใช้
- เป็น Brand Ambassadors : เป็นหุ้นส่วนกับอินฟลูฯ ให้เข้ามาช่วยโปรโมทแบรนด์ของคุณอย่างเต็มตัว โดยมีข้อแลกเปลี่ยนเป็นส่วนลดหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่จะได้จากแบรนด์
3. ค้นหา Influencers ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์คุณโดยตรง
ที่ที่ดีที่สุดในการตัดสินใจหาอินฟลูฯ ที่เหมาะสมที่สุด ให้หาอินฟลูฯ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันกับแบรนด์ ซึ่งจะช่วยเผยแพร่สิ่งที่คุณต้องการจะสื่อออกไปสู่ผู้บริโภคที่มีความสนใจแบบเดียวกัน สร้าง Brand Awareness ให้กับตลาดกลุ่มเป้าหมายได้ดี
วิธีมองหาอินฟลูฯ ในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณ ให้เข้าไปที่ Google Alert ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของแบรนด์เพื่อหาผู้ที่ทำคอนเทนต์ที่ตรงกับอุตสาหกรรมเดียวกับคุณ
4. หา Influencers คนเดียวกับที่โปรโมทให้กับคู่แข่งของคุณ
อีกวิธีหนึ่งที่อยากหาอินฟลูฯ ที่ตรงใจและเร็วที่สุดคือหาอินฟลูฯ ที่ทำงานให้กับแบรนด์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณเหมือนกัน เพราะอินฟลูฯ ที่ทำคอนเทนต์ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณมีโอกาสสูงที่จะแชร์แบรนด์ของคุณมากกว่าอินฟลูฯ ที่ไม่เคยกล่าวถึงแบรนด์ไหนมาก่อนเลย
ลองใช้ Hashtag # ให้เป็นประโยชน์ ค้นหา Hashtag ที่พูดถึงหรือกล่าวถึงคู่แข่งของคุณ ถ้าเกิดในโพสต์ต้นทางมีหนึ่งในอินฟลูฯ รวมอยู่ด้วย คุณก็อาจหมายตาคนเหล่านั้นให้เข้ามาช่วยโปรโมทแบรนด์คุณได้
5. หา Influencers ที่ยินยอมให้แชร์กลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์
หากพูดถึงเบื้องหลังการทำ Influencers Marketing ไม่เพียงแต่อินฟลูฯ จะต้อง Tie-in คอนเทนต์ให้เข้าสู่แบรนด์เท่านั้น ฝั่งอินฟลูฯ เองก็ต้องเชื่อมต่อแบรนด์ไปหากลุ่มเป้าหมายให้ด้วยเช่นกัน เพราะจะช่วยให้แบรนด์เข้าใจสิ่งที่กลุ่มลูกค้าต้องการได้มากขึ้นและออกแบบ นำเสนอคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายได้มากกว่า
แต่ก่อนอื่นแบรนด์ต้องทำการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจความคิด ความต้องการ ความสนใจของลูกค้า รวมไปถึงค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์ที่กลุ่มเป้าหมายเข้าไปเยี่ยมชมบ่อย ๆ อีกด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณค้นหาอินฟลูฯ และกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกับคุณแต่ก็อาจมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ของคุณด้วย หากนำเสนอได้ตรงจุดและมีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในที่ที่คู่แข่งของคุณไม่เคยเข้าถึงมาก่อน
6. เข้าใจในความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของอินฟลูฯ
หลังจากที่เราเฟ้นหาอินฟลูฯ ที่ใช่มาแล้ว คราวนี้เราจะมาเจาะลึกเข้ามาในฝั่งของอินฟลูฯ กันบ้าง แบรนด์ต้องทำการประเมินและตัดสินใจอิงตามความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าหากทำการโฆษณาไปแล้ว แคมเปญตัวนั้นจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหนผ่านอินฟลูฯ รายนั้น ๆ ซึ่งสิ่งที่จะใช้วัดค่าความเกี่ยวข้องและประเมินความสามารถในการดึงความสนใจมีดังนี้
- จำนวนของผู้ติดตาม ไล่ตั้งแต่หลักพันในระดับ Nano ไปจนถึงหลักล้าน ในระดับ Mega-Influencers
- ยอด Engagement ของผู้ติดตามที่มาจากอินฟลูฯ
- คุณภาพของคอนเทนต์มีดีแค่ ทำแล้วไม่บ้ง ไม่ดูแย่ในสายตาคนทั่วไป
- ความลึก สามารถเข้าถึงและครอบครัว Niche Market ได้มากแค่ไหน
7. หมั่นติดตามผลแคมเปญอยู่สม่ำเสมอ
จุดนี้แหละคือความสำคัญว่าแคมเปญที่คุณลงไปกับอินฟลูฯ นั้นคุ้มค่าถึงจุด ROI ที่ต้องการไหม หลังจากที่ได้ปล่อยตัวแคมเปญออกไปแล้ว การคิดและติดตามค่า KPI จะช่วยให้คุณตัดสินใจว่าจะทำยังไงให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่แรกได้ดีขึ้น ภายหลังแคมเปญหมดเวลาลงให้ทำการรีวิวผลลัพธ์ดูอีกครั้งหนึ่ง
คอยเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของแคมเปญเก่า ๆ เพื่อที่จะพัฒนาแคมเปญตัวใหม่และต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ Digital Marketing อยู่ตลอดเวลาหากรู้สึกว่าผลลัพธ์ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
ก่อนจากกันไปผมขอสรุปให้เข้าใจเกี่ยวกับ Influencers Marketing อีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการการคัดเลือกผู้ทรงอิทธิพลที่จะมาเป็นสื่อกลางควรเลือกจากความเกี่ยวข้องระหว่างความสนใจเดิมของอินฟลูฯ กับแวดวงอุตสาหกรรมที่แบรนด์คุณทำอยู่มากกว่าการคัดเลือกอินฟลูฯ จากจำนวนผู้ติดตาม เพราะเป็นไปได้ว่าแม้จำนวนผู้ติดตามจะมีไม่เยอะแต่ก็อาจเป็นกลุ่ม Niche Market ที่ทุกคนพร้อมใจกันอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของคุณได้ทันที มีประสิทธิภาพ และได้กลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพมากกว่าอินฟลูฯ ที่มีผู้ติดตามมากแต่ขอบเขตความสนใจกว้าง
——————————————————————–
ร่วมงานกับทีม Cotactic Media บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress และเป็นหนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
https://www.rainmaker.in.th/influencer-vs-kol/