การ หาลูกค้า ใหม่ที่มีคุณภาพคือเป้าหมายธุรกิจในทุก ๆ องค์กร เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกธุรกิจต่างก็อยากได้ยอดขายกันทั้งนั้น ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทำกำไรมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นทุกแบรนด์จึงสรรหาทุกวิธี งัดทุกกลยุทธ์การตลาดที่จะคิดออกเพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้ายอมจ่ายเพื่อซื้อสินค้า/ใช้บริการของแบรนด์คุณมากขึ้นอย่างเต็มใจ
ดังนั้นในบทความนี้ Cotactic บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress และการทำการตลาดออนไลน์ ขอนำเสนอ รวมมิตร 20 เคล็ดลับ หาลูกค้า ใหม่ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ที่เจ้าของธุรกิจนำไปปรับใช้ได้ง่าย ๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก
1. หาลูกค้าใหม่จากฐานลูกค้าเก่า จากการวาง Buyer Personas
วิธีนี้ต้องใช้เวลาสักหน่อย เพราะต้องอาศัยการเก็บข้อมูลจากลูกค้าชุดแรกที่เข้ามาซื้อสินค้าแล้วนำมาจำแนก จัดหมวดหมู่ และค้นหาลักษณะร่วมกันของลูกค้าแต่ละคนคล้ายกับการทำ Buyer Personas แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อนของลูกค้าเพื่อวางกลยุทธ์ให้เข้าถึงใจลูกค้าให้มากที่สุด นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังนำมาวิเคราะห์ใช้ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สากลมากขึ้น ตอบโจทย์คนหมู่มาก ใช้ได้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ เข้าใจลูกค้าปัจจุบันมากขึ้น และสามารถนำเสนอโปรโมชั่นที่ตรงใจลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะหายไปได้
2. Retargeting ดึงลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อซ้ำ
จากผลการสำรวจจาก Shopify ระบุไว้ว่า เมื่อลูกค้าเก่าวนกลับมาซื้อสินค้าของคุณซ้ำใหม่เป็นครั้งที่สองก็มีโอกาสมากถึง 45% ที่ลูกค้าจะซื้อในครั้งนี้ และจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงครั้งที่ 4 ที่มีโอกาสมากถึง 56% ที่ลูกค้าจะกลับมาซื้ออีกแน่ ๆ เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องเสียเวลาหาลูกค้าใหม่ตลอดเวลาเพราะคุณมีลูกค้าเก่าเป็นฐานหลักอยู่แล้ว ซึ่งการทำ Retargeting มีด้วยกันหลากหลายแพลตฟอร์ม อาทิ
2.1 Facebook Dynamic Ads
2.2 Google Remarketing / Google RLSA
2.3 Line Official Account Retargeting
2.4 Twitter Retargeting
3. Word of Mouth Marketing เมื่อการเม้าท์มอยคือความแข็งแกร่งของการตลาด
หัวข้อนี้เราเคยทำบทความเอาไว้แล้ว (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) แต่จะขอสรุปสั้น ๆ เอาไว้ว่า Word of Mouth Marketing คือการตลาดแบบปากต่อปาก เป็นกลยุทธ์โบราณแต่ทรงพลังที่สุดจวบจนทุกวันนี้ เพราะมีจุดแข็งตรงที่การตลาดแบบนี้จะใช้ในการคัดเลือกผู้ฟังไปด้วยในตัว เนื่องจากผู้ที่ได้ซื้อสินค้า/ใช้บริการมักจะมองหาคนที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์เหมือนตัวเองแล้วนำประสบการณ์ส่วนตัวไปรีวิวบอกต่อ กระตุ้นให้คนอื่นอยากซื้อตามเปิดโอกาสให้คุณ หาลูกค้า ใหม่ได้ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นจากรายงานของ Nielsen ยังระบุอีกด้วยว่า 92% ของผู้บริโภคที่กำลังมองหาสินค้าต่างก็เชื่อใจคำรีวิวจากเพื่อนและครอบครัวมากกว่าคำโฆษณาจากแบรนด์ตรง ๆ เสียอีก เห็นรึยัง…ว่าพลังแห่งการเม้าท์มอยทรงพลังมากแค่ไหน!
4. ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) เมื่อสังคมรอบข้างดี แบรนด์คุณก็ดีขึ้น
CSR คือ การที่แบรนด์แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งการทำ CSR ค่อนข้างมีความสำคัญกับการทำธุรกิจอยู่พอควรเพราะแต่ละแบรนด์จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ก็ต้องพึ่งพาปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ สมมติว่าคุณก่อตั้งบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมา แต่โรงงานของคุณปล่อยน้ำเสียและฝุ่นพิษลงสู่ชุมชน ทำให้ชาวบ้านเจ็บป่วยจนต้องประท้วงขอให้ปิดโรงงานคุณทิ้ง นั่นแปลว่าโรงงานของคุณไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบข้างเลย ส่งผลให้คุณมีชื่อเสียไปโดยปริยาย ซ้ำร้ายยิ่งอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ง่าย ข่าวแพร่กระจายไปเร็ว ผู้บริโภครับรู้ปัญหาที่คุณก่อเอาไว้ เกิดกระแสต่อต้านแบรนด์คุณไปในวงกว้าง ถึงตอนนั้นแม้จะคิดกลยุทธ์ทางการตลาดดีแค่ไหนก็ไม่อาจเรียกความเชื่อมั่นจากลูกค้ากลับคืนมาได้ เรียกว่าเกิดมาแล้วดับไปอย่างแท้จริง ดับฝันการหาลูกค้าใหม่ไปได้เลย
แต่ในทางกลับกันหากแบรนด์คุณคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้นไม่เพียงแต่ลูกค้าจะเชื่อมั่นในแบรนด์ของคุณอย่างเดียว คุณยังสามารถพึ่งพาการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบบอกต่อในการสร้างโฆษณา หาลูกค้า ใหม่ให้คุณได้มากขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นคุณอาจได้พนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมงาน เพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ไปอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งวิธีทำ CSR ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม, การปฏิบัติต่อพนักงานของตัวเองอย่างมีจริยธรรม, เป็นเจ้าภาพออกงานการกุศลบ้าง, ออกโครงการที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าช่วยเหลือสังคมในการลดโลกร้อน เป็นต้น
ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำ CSR อย่างเช่น Starbucks ในโครงการ Coffee and Farmer Equity (C.A.F.E) ที่ส่งเสริมเกษตรกรทุกรูปแบบด้วยการวางแนวทางในการเพิ่มคุณภาพสินค้า และเรียนรู้การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านความปลอดภัย มีมนุษยธรรม และมีความยุติธรรม ไม่เหยียดเพศหรือเชื้อชาติ
5. อบรมและพัฒนาศักยภาพของพนักงานอยู่ตลอดเวลา
คุณคงเคยเห็นหลาย ๆ แบรนด์เวลาพนักงานออกมาต้อนรับลูกค้ามักจะมีคำพูดเป็นแพตเทิร์นเดียวกันหมด ไม่เพียงแต่พนักงานในร้านนั้นสาขาเดียวเท่านั้น แต่พนักงานจากสาขาอื่น ๆ ก็มักมีประโยคคำพูดหรือรูปแบบการต้อนรับเหมือนกันหมด ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเห็นจะเป็นเซเว่น อีเลฟเว่น กับประโยคคุ้นเคยในช่วงนี้ “สวัสดีครับ/ค่ะ เชิญครับ/ค่ะ กรุณาสแกนอุณหภูมิ เข้าแอปไทยชนะก่อนเข้าร้านทุกครั้งด้วยนะครับ/คะ” เนื่องจากการอบรมพนักงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือการสร้างมาตรฐานการบริการของแต่ละแบรนด์ เพื่อให้พนักงานเข้าใจบทบาทของตัวเองและรู้วิธีปฏิบัติต่อลูกค้าที่ต่างกัน
เพราะการสร้างมาตรฐานการบริการของแบรนด์ให้เป็นแบบนี้จะช่วยสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้สูงขึ้นและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ของคุณ เมื่อผู้บริโภคเข้าใจถึงมาตรฐานของแบรนด์คุณอย่างเพียงพอแล้ว การหาลูกค้าใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
6. เลือกใช้โปรโมชั่นที่เหมาะกับชีวิตลูกค้า
แบรนด์ที่มีลูกค้าซื้อสินค้า/ใช้บริการเยอะ ลูกค้ามีความหลากหลายสูง ถ้าถามว่าดีไหม ตอบตรง ๆ คือดีมาก เพราะคุณกระจายความเสี่ยงของฐานลูกค้าเอาไว้หลากหลายกลุ่ม ต่อให้เสียกลุ่มหนึ่งไปก็ยังมีรายได้อยู่ แต่หากคิดในอีกมุมมองหนึ่งก็คือคุณมีฐานลูกค้าหลากหลายมากเกินกว่าที่จะทำความเข้าใจหมดทุกคนไหว ดังนั้นจึงควรใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ซอยกลุ่มลูกค้าแยกย่อยให้ละเอียดขึ้น เลือกใช้แพลตฟอร์มในการโปรโมทที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และใช้กลยุทธ์ดึงดูดที่แตกต่างกันจะช่วยสร้างยอดขายและเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
7. Collaboration กับธุรกิจอื่น หาลูกค้าใหม่เพิ่มทั้งสองฝ่าย
ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่จะไม่สามารถเติบโตได้หากขาดความร่วมมือกัน ดังจะเห็นได้ว่าแบรนด์ดัง ๆ หลายเจ้าเริ่มหันมาจับมือเป็นคู่ค้ากันมากขึ้นเพื่อออกโปรโมชั่นหรือผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ส่งเสริมการขาย ดึงดูดกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่มมากขึ้น
ขอยกตัวอย่าง Case Study สุดแปลกแหวกแนวจากแคมเปญ Heritage Travel on the Rise เมื่อบริษัทให้บริการจองห้องพักแบบโฮสเทลอย่าง Airbnb ร่วมมือกับ บริษัทเอกชนให้บริการตรวจดีเอ็นเอ 23andMe โดยที่คุณคลิกสั่งซื้อชุดตรวจดีเอ็นเอจาก 23andMe ทางออนไลน์ (ราคาชุดตรวจ 1 ชุดราว ๆ 3,000 บาท) เพียงไม่กี่วันชุดตรวจจะมาส่งให้คุณถึงหน้าบ้าน หยอดน้ำลายลงบนชุดตรวจแล้วส่งกลับไปที่บริษัท รอ 3 – 5 สัปดาห์ผลตรวจจะถูกส่งกลับมาที่บ้านคุณ ซึ่งในรายงานจะระบุว่าคุณมีเชื้อชาติไหนผสมอยู่ในสายเลือดคุณบ้าง ทีนี้คุณก็อาจหาเวลาลาพักร้อนไปเที่ยวตามรอยบรรพบุรุษได้ (แน่นอนว่าก็ต้องอาศัยการจองที่พักผ่าน Airbnb ด้วย) เรียกได้ว่าร่วมมือกันแล้วก็ win-win กันทั้งสองฝ่าย เพราะแคมเปญนี้เล่นกับความสงสัยใคร่รู้ของตัวลูกค้าเองว่าแท้จริงแล้วตัวเองเป็นคนสัญชาติไหนกันแน่
หลังจากที่แคมเปญนี้ได้ปล่อยออกมาในอเมริกาไม่นาน ทาง Airbnb ก็ได้รายงานว่า ในเดือนเมษายน ปี 2019 ผู้คนกว่า 8,000 คนจากทั้ง อเมริกา เม็กซิโก อาเจนติน่า บราซิล อินเดีย ฝรั่งเศส อังกฤษ และออสเตรเลียก็ได้ออกเดินทางตามหาถิ่นกำเนิดของตัวเอง กว่า 89% ของผู้เข้าทำแบบสอบถามในอินเดียบอกว่าตัวเองได้เดินทางตามรอยบรรพบุรุษอย่างน้อย 1 ประเทศ พอ ๆ กับนักท่องเที่ยวถึง 69%จากฝรั่งเศส และเกินกว่าครึ่งในอเมริกา นี่จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่ไม่น่าจะมาโคจรเจอกันได้ แต่กลับร่วมมือผลิตแคมเปญออกมาได้อย่างลงตัว จนเกิดเป็นกระแสในต่างประเทศอยู่พักหนึ่งเลยล่ะ (อ่านข่าว Airbnb X 23andMe ต่อได้ที่นี่)
8. ออกแบบสื่อออนไลน์ให้เข้าถึงทุกคนมากขึ้น
หากอยากทำอะไรซักอย่างให้การหาลูกค้านั้นง่ายขึ้นและเข้าไปนั่งในใจลูกค้าได้นาน ควรเริ่มจากการลงคอนเทนต์ที่ลูกค้าสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ให้ได้ก่อน ซึ่งเป้าหมายของการสร้าง Engagement ที่มีประสิทธิภาพก็ประกอบไปด้วย ยอดไลก์ คอมเมนต์ และยอดแชร์ที่ยิ่งสูงโอกาสที่ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ จะพบเห็นก็มากตามไปด้วย ซึ่งเคล็ดวิธีลับ ๆ ที่จะเพิ่มยอด Engagemet บนโซเชียลมีเดียได้อย่างไม่น่าเชื่อมีดังนี้
8.1 หาสาเหตุที่ทำไมลูกค้าถึงต้องเล่นโซเชียลในช่องทางนั้นก่อน
- หาความบันเทิง จึงเล่น TikTok, Instagram
- ติดตามข่าวสาร หรือจองสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook, Twitter
- ค้นหาไอเดีย ดูรีวิว ก็มักเจอบ่อยบน YouTube, Facebook, Pinterest
8.2 เริ่มสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ทุกคนเข้าถึงได้ หรือตรงใจกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
- ย่อยข้อความหรือตีความให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย เนื้อหาไม่ตีกันไปมาในบทความ
- แบนเนอร์ต้องชัด สื่อถึงสิ่งที่พูดได้ดี มีกิมมิกเล็ก ๆ ให้รู้สึกแปลกตา
- CTA อย่าให้ขาดเพราะลูกค้าจะไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อ อย่าลืมใส่ # ให้เด่นสะดุดตา เพื่อเปิดทางให้ลูกค้าติดตามเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องต่อได้
- มี Backlink โยงไปต้นฉบับได้กรณี Rewrite และต้องเป็นต้นฉบับที่มีความน่าเชื่อถือ
- กุญแจสำคัญ อย่าลืมตั้ง Keyword และใส่ลงไปในทุกคอนเทนต์ด้วย
8.3 ถ้าคิดคอนเทนต์ไม่ออก ก็เล่น Real-time Content มันซะเลย แฝงความฮานิด ๆ เพราะคนไทยติดตลก
- ช่วงไหน อะไรเป็นกระแส จับมาเชื่อมโยงกับแบรนด์เราได้ก็ผลิตออกมาเลย ปรับแคปชันแฝงความตลกเข้าไปด้วย จะช่วยเพิ่มยอดไลก์ ยอดแชร์ได้ดี (*แต่ควรระวังเพราะบางกระแสก็ไม่ควรเล่นมากจนดูผิดจรรยาบรรณ)
8.4 หมั่นสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา อย่าหายไปนาน นอกจากผู้ชมจะลด อันดับการพบเห็นก็จะลดไปด้วย
- คอยตรวจสอบคอนเทนต์เก่า ๆ บ้าง อันไหน Traffic ดีจะปั๊มโพสต์เดิมก็ดี อันไหน Engagement น้อยก็ปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น
- คอมเมนต์ก็สำคัญไม่แพ้กัน ตอบกลับคอมเมนต์ในทางสนุกขำขันบ้าง หรือถ้ามีการติเตียนก็จำและนำมาปรับปรุงใหม่ในครั้งต่อ ๆ ไป
9. โชว์ตัว ออกอีเวนต์ งานสัมมนาต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักในสื่อสาธารณะ
ถ้าคุณมีของ อย่ากลัวที่จะโชว์มันออกมา เพราะหากรอหาลูกค้าใหม่จากช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว คงได้ลูกค้าจริง ๆ ที่อยากซื้อไม่เยอะเท่าไหร่ ฉะนั้นถ้ามีโอกาสเราอยากให้คุณลองเข้าร่วมงานอีเวนต์ หรือมหกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เพราะในงานจะเป็นแหล่งรวมตัวลูกค้ามากหน้าหลายตา และแบรนด์ดัง ๆ ที่เข้าร่วมงานเดียวกับคุณอยู่ด้วย นอกจากจะช่วยให้คุณหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายขึ้นแล้วยังเปิดโอกาสให้คุณได้พูดคุยทำความรู้จักหรือหาคอนเน็กชันใหม่ ๆ จากทั้งลูกค้าและแบรนด์อื่น ๆ ไปด้วย ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะได้ร่วมงานกันอีกก็เป็นได้ หรือในกรณีที่แย่ที่สุดที่คุณอาจไม่ได้มาทั้งสองอย่างนั้นเลย อย่างน้อยคุณก็อาจจะได้แจกนามบัตรหรือสร้างคอนเน็กชันกับผู้ชมในงานที่เดินผ่านไปผ่านมาที่ดูจะสนใจในผลิตภัณฑ์ของคุณแต่ยังไม่พร้อมซื้อในเวลานั้น ไม่แน่ว่าในอนาคตเขาเหล่านั้นอาจวนกลับมาขอใช้บริการคุณบ้างก็เป็นได้ และจะกลายเป็นกระบอกเสียงขยายฐานลูกค้าให้คุณในภายหลัง
10. รับฟังปัญหาลูกค้า เข้าถึงและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น เสนอทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด
สายงานบริการเป็นเรื่องปกติที่จะต้องต้อนรับลูกค้าจนถึงที่สุดตั้งแต่เริ่มเดินเข้าร้านไปจนถึงบริการหลังการขาย แม้ลูกค้าเกิดปัญหาในขั้นตอนใดก็ต้องอยู่เคียงข้างและช่วยแก้ปัญหาให้สำเร็จจนได้ เพราะประโยชน์จากการรับฟังปัญหาจากลูกค้าจะได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
10.1 เมื่อคุณให้บริการลูกค้าจนถึงบริการหลังการขาย จนสร้างความพึงพอใจในด้านการบริการให้กับลูกค้า ขั้นตอนนี้จะเกิดเป็นการตลาดแบบบอกต่อขึ้นมา การรีวิวและการบอกต่อจะเข้ามารับช่วงต่อจากคุณไป และธรรมชาติของการบอกเล่าจะทำให้ผู้บริโภคคนอื่นที่รับข้อมูลเหล่านั้นเกิดการเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจก่อนใช้บริการ ในช่วงนี้คุณอาจวกกลับไปใช้งานเทคนิคข้อแรกได้ คือวาง Buyer Persona วิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคที่มีปัญหาคล้ายคลึงกับผู้ใช้บริการก่อนหน้า แล้วยิงโฆษณาที่ตรงจุดออกไปให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวได้เห็นบ่อย ๆ กระตุ้นความรู้สึกอยากลองใช้บริการจากแบรนด์คุณขึ้นมาได้ในท้ายที่สุด
10.2 ทุกครั้งที่สามารถปิดดีลการขายได้ จำเป็นต้องขอรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า ให้คะแนนการให้บริการของพนักงานหรือการรีวิวสินค้า และนำคำแนะนำเหล่านั้นไปพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าบริษัทคู่แข่งได้อย่างตรงจุด ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและเครื่องจักร รวมไปถึงเป้าหมายสูงสุดก็คือ เพิ่มยอดขายได้นั่นเอง
11. “ฟรี” คำสั้น ๆ แต่สะเทือนทั้งโลก
ของฟรีไม่มีในโลกคือเรื่องจริง แต่ของฟรีเพิ่มยอดขายได้อันนี้ก็เป็นเรื่องจริง หากแบรนด์คุณเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ผลิตสินค้าออกมาใกล้เคียงกับคู่แข่ง มีคู่แข่งเยอะ หรือกำลังอยู่ในไลน์การตลาดแบบน่านน้ำสีแดง เช่น แบรนด์ผลิตเครื่องสำอาง Skin Care, แบรนด์ Delivery, แบรนด์ผลิตอาหารฟาสต์ฟู๊ด ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด วิธีที่จะดึงใจ หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายและเร็วที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นให้ลูกค้าทดลองไปฟรี ๆ เสียเลย โดยวิธีการก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก สามารถต่อยอดอาศัยโอกาสออกงานอีเว้นท์จากข้อ 9 ปล่อยให้ลูกค้าได้ทดลองใช้สินค้า/บริการไปแบบฟรี ๆ ทำให้เห็นไปเลยว่าของ ๆ เราดีจริงหรือไม่ ปิดท้ายด้วยเทคนิคการขายเพื่อให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ไว้ และกลับมาใช้บริการใหม่เมื่อต้องการได้อีกครั้งหนึ่ง
12. เทคนิคโทรเสนอขายแบบ Warm call
Warm Call คืออะไร? Warm Call คือการเสนอขายแบบหนึ่งที่ฝ่ายขายจะโทรกลับไปเสนอขายให้กับบริษัทหรือลูกค้าที่เคยมีการติดต่อกับแบรนด์คุณมาแล้วครั้งหนึ่ง คล้ายการ Retargeting แบบการออกไปเยี่ยมลูกค้าหรือการทำ Email Marketing ตรงข้ามกับ Cold Call ที่เป็นการโทรเสนอขายครั้งแรกแบบที่ยังไม่เคยมีการติดต่อมาก่อน ซึ่งอาจทำให้การปิดการขายยากกว่าแบบ Warm Call ฉะนั้นจึงยกตัวอย่างทริคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณหาลูกค้าใหม่ผ่าน Warm Call ก็มีดังนี้
12.1 ทำ Research ลูกค้าก่อน ค้นหาปัญหาลูกค้า ระบุส่วนที่สินค้าจากแบรนด์เราจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
12.2 ช่วงเริ่มแรกของการโทรขายให้ใช้ 15 วินาทีแรกจับความสนใจลูกค้าให้มากที่สุด
12.3 ถามคำถามปลายเปิด ไม่ใช่ถามคำถามใช่/ไม่ใช่ เพื่อที่ลูกค้าจะได้อธิบายถึงความต้องการให้มากที่สุด เป็นต้น
ที่มา : https://www.bluleadz.com/blog/warm-calling-tips-that-will-get-your-prospects-talking
13. ยิงโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์
ไหน ๆ โซเชียลมีเดียก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว เราก็ควรจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ จากผลการสำรวจจากเว็บไซต์ Hootsuite เมื่อปี 2021 ระบุไว้ว่าประชากร 4.66 พันล้านคนเป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตคิดเป็น 59.5% เกินกว่าครึ่งของประชากรโลก และอัตราการเติบโตของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเดือนมกราคมปี 2021 เทียบกับ มกราคม 2020 เพิ่มขึ้นถึง 7.3% ทำให้เห็นแล้วว่าอินเทอร์เน็ตเข้าถึงแทบทุกคนบนโลกเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการทำโฆษณาออนไลน์เพื่อหาลูกค้าใหม่ ๆ ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องทำในยุคนี้แล้ว
การยิงโฆษณาสามารถทำได้จากทุกแทบทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Line หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชันที่เอาไว้บ่นเสียส่วนมากอย่าง Twitter ก็มีให้ลงโฆษณาอยู่เช่นกัน และในตอนนี้เอเจนซี่การตลาดออนไลน์ก็เริ่มมีให้เห็นอยู่เยอะมากขึ้น จึงเป็นเรื่องง่ายที่แบรนด์จะหยิบยืมแรงของเอเจนซี่มาช่วยวิเคราะห์การตลาดและเลือกยิงโฆษณาที่เหมาะสมในแต่ละแพลตฟอร์มได้ ถ้าหากคุณไม่รู้จะเริ่มต้นสร้างโฆษณายังไงหรือจะเลือกเอเจนซี่ที่ถูกใจยังไงดี ในบทความนี้เรามีคำตอบ
แต่ถ้าคุณอยากได้เอเจนซี่ที่เก่งในเรื่องของการทำโฆษณาออนไลน์พร้อมทีมกราฟิกและทีมคอนเทนต์ช่วยสร้าง Traffic มายังหน้าเว็บไซต์ของคุณแล้วล่ะก็ ขอแนะนำ Cotactic เอเจนซี่การตลาดออนไลน์ที่พร้อมเป็นผู้ช่วยด้านการตลาดให้กับคุณ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากเราได้เลยฟรี! ไม่คิดเงิน เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้
14. เขียน SEO คอนเทนต์ให้น่าสนใจ
หากธุรกิจของคุณมีการทำเว็บไซต์หวังให้มียอดเข้าชมเยอะ ๆ เพิ่มโอกาสให้คนที่เข้ามาดูซื้อสินค้าหรือลงทะเบียนใช้บริการคุณมากขึ้น การทำ SEO คงเป็นอะไรที่ตอบโจทย์ได้อยู่ไม่น้อย
SEO คืออะไร? คือ การเขียนบทความ การปรับปรุงหน้าเพจหรือเว็บไซต์ให้ค้นหาเจอได้ง่ายขึ้น ใช้งานสะดวก สามารถสื่อใจความสำคัญให้ผู้ใช้งานได้ตรงประเด็นและครบถ้วน ซึ่งจะทำให้ลิงก์เว็บไซต์ของคุณไปปรากฏบน Search Engine ของ Google ได้สูงยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานเห็นเว็บไซต์ของคุณบ่อยขึ้น ทั้งนี้หลักการทำ SEO ให้ติดอันดับก็มีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง เช่น การเขียนบทความ SEO การฝัง Keyword ทั้งในบทความและรูปภาพ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน
นอกจากนี้การทำ SEO ยังมีข้อดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์อีกด้วย อาทิ
- สร้าง Brand Awareness ให้รู้จักสินค้า/บริการมากขึ้น
- เพิ่มยอด Traffic อย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานมองเห็นสินค้า/บริการได้เร็วขึ้นเพียงใช้ Keyword ที่ตรงกัน
- เพิ่มค่า Conversion Rate จากการกรอกฟอร์ม คลิกลิงก์
- ลดการใช้งบโฆษณาไปในส่วนที่ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นทุนต่ำ
- เพิ่มค่าความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ เปิดโอกาสให้แบรนด์อื่นขอนำลิงก์เราไปทำ Backlink มากขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นเว็บไซต์เราได้มากขึ้นโดยทางอ้อม
15. ทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นรายแรก
เทคโนโลยีมีส่วนช่วยทำให้การใช้ชีวิตของเราง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแบรนด์คุณจากไหนก็ได้ขอแค่มีเครื่องมือและอินเทอร์เน็ต แต่ทว่าเทคโนโลยีเองก็เป็นเหมือนดาบสองคมสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการช่วยโปรโมท เพราะเทรนด์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเร็ว ระมัดระวังเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้การได้ข้อมูลจากผู้ใช้งานมาวิเคราะห์หาลูกค้าก็ยากตามไปด้วย
ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องก้าวตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันอยู่เสมอ ผลิตคอนเทนต์ วางกลยุทธ์แบบใหม่ให้ทันกับเทรนด์ที่เปลี่ยนไปและสดใหม่จะเพิ่มความน่าสนใจให้กับแบรนด์คุณได้ดี สร้างแรงดึงดูดต่อผู้บริโภค และที่ดีที่สุดก็คือมีลูกค้าติดต่อข้อซื้อสินค้า/ใช้บริการมากขึ้น แต่ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2022 มีอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันที่บทความนี้ได้เลย 12 เทรนด์เทคโนโลยีปี 2022
16. ถ้าคุณมี Power น้อย ลองขอให้ Influencers ช่วยพูด
การตลาดโดยการใช้ Influencers เข้ามาช่วยนับเป็นกลุทธ์ที่ประสบความสำเร็จสูงมากในปัจจุบัน จากผลการสำรวจจากเว็บไซต์ influencermarketinghub คาดว่าในปี 2021 อัตราการเติบโตของการใช้ Influencer Marketing จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 13.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 455.3 พันล้านบาท โดยจัดอันดับให้หมวดแฟชั่นและเครื่องสำอางเป็นกลุ่มที่มียอดการับชมสูงที่สุดจากผู้ทำแบบสอบถาม รองลงมาคือ หมวดสุขภาพ หมวดการท่องเที่ยว หมวดเกม และหมวดบ้านและครอบครัวตามลำดับ
จากผลการสำรวจนี้จึงทำให้เห็นแล้วว่ากลุ่ม Influencers มีพลังมากขนาดไหน ไม่ว่าคนเหล่านี้จะคิด จะทำหรือจะรีวิวอะไร ลูกค้าก็พร้อมรับฟังความเห็นของคนกลุ่มนี้อยู่เสมอ ถือเป็นสื่อกลางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพสูงเลยทีเดียว ช่วยให้โปรโมทแบรนด์ไปในเชิงบวกได้ดีและสร้างผลกระทบถึงผู้บริโภคได้เป็นวงกว้าง
17. ทัศนคติของแบรนด์ตรงกับของลูกค้า ช่วยสร้าง Brand Loyalty ได้
อีกหนึ่งเทรนด์ที่คาดไม่ถึงที่กำลังมาแรงในยุคนี้คงหนีไม่พ้นการบีบบังคับให้แบรนด์ต่างแสดงจุดยืนของตัวเองในที่สาธารณะมากขึ้น เพราะตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและสภาพแวดล้อมที่ตื่นตัวขึ้น ผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้แบรนด์ดังออกมาทำอะไรสักอย่างเพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของตัวเองต่อบริบททางสังคมที่ละเอียดอ่อน ยกตัวอย่าง ประเด็นความหลากหลายทางเพศ สภาวะโลกร้อน ความเท่าเทียมของมนุษย์ การเหยียดเชื้อชาติ สีผิว #Blacklivesmatter #asianlivesmatter เป็นต้น
ซึ่งบอกได้เลยว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นหากเลือกที่จะเมินเฉยหรือไม่แสดงออกต่อประเด็นเหล่านั้นจะส่งผลอย่างใหญ่หลวงกลับมาที่แบรนด์ของคุณในที่สุด จากที่ได้เห็นการกดดันในรูปแบบ Cancel Culture หรือการแบนไม่สนับสนุนสินค้า/บริการจากแบรนด์เหล่านั้น ฉะนั้นแบรนด์ก็ต้องวางแผนรับมือ เตรียมตัววางตัวเองลงบนจุดยืนต่าง ๆ เพื่อเสริมความเชื่อใจของลูกค้าต่อแบรนด์ของคุณนั่นเอง
กรณีศึกษาเมื่อแสนสิริแสดงจุดยืนอนุญาตให้คู่รักพนักงาน LGBTQ ลาแต่งงานได้ 7 วัน แถมเปิดโอกาสให้คู่รักเพศเดียวกัน กู้ซื้อบ้านร่วมกันได้
18. Lead Generation
Lead Generation คือ เทคนิคการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์เช่น Facebook ใช้ในการค้นหารายชื่อลูกค้าที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้า/บริการจากเรามากที่สุด โดยอาศัยการกรอกแบบฟอร์มที่เรียกว่า “Lead Form” สอบถามข้อมูลลูกค้าเบื้องต้น เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ปัญหาที่ลูกค้าต้องการให้แบรนด์เข้ามาช่วยแก้ไข หลังจากกรอกแบบฟอร์มเรียบร้อย ทีม Sale จะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
ด้วยการใช้งาน Lead Generation นี้เอง ทีม Sale จึงสามารถเข้าถึงลูกค้าที่มีความต้องการสินค้า/บริการได้อย่างตรงจุด เพิ่มโอกาสการหาลูกค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ลดโอกาสติดต่อหาลูกค้าที่ไม่ได้สนใจผลิตภัณฑ์เลย และยังสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการปิดการขายให้ง่ายขึ้นด้วย
19. สร้างเว็บไซต์/เพจของตัวเอง
ตอนนี้อะไร ๆ ก็อยู่บนอินเทอร์เน็ตไปหมด การค้นหาสินค้าหรือบริการจึงง่ายมากขึ้น พอดีกับที่ทางแบรนด์ก็สามารถหาลูกค้าได้ง่ายขึ้นจากการท่องอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการสร้างเว็บไซต์ของตัวเองให้ผู้ใช้งานได้เข้ามาเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับแบรนด์คุณจึงเป็นการปูทางสู่การหาลูกค้าใหม่ที่มีประสิทธิผลดีมาก โดยการสร้างเว็บไซต์ให้คนเข้ามาชมได้มากที่สุดต้องทำควบคู่ไปกับ SEO ที่มีคุณภาพ สามารถตอบปัญหาให้ลูกค้าได้ในทันที เว็บไซต์มีที่อยู่ เบอร์โทรที่ติดต่อได้ชัดเจน โดเมนเว็บมี SSL Certificate ปลอดภัย ชัดเจน สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้งานได้
หากคุณเป็นธุรกิจหน้าใหม่ที่ยังไม่รู้วิธีสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองสามารถตามอ่านขั้นตอนสอนสร้างเว็บไซต์แบบง่าย ๆ ได้ที่บทความนี้ 6 ขั้นตอนสอนสร้าง WordPress
20. หาลูกค้า ด้วยการขยายช่องทางด้วย E-commerce
อยากขยายกิจการแต่ลูกค้ากลับต้องเดินทางมาเอาของเอง หรือไม่ก็ต้องลำบากพนักงานของคุณขับรถไปส่งของให้ลูกค้าถึงบ้าน เสียทั้งค่าน้ำมัน เสียทั้งค่าแรง วิธีแก้ปัญหาก็ไม่มีอะไรมาก แค่ใช้บริการ E – Commerce เพราะก่อตั้งมาเพื่อรองรับกิจกรรมการซื้อขายสินค้าผ่านทางออนไลน์โดยเฉพาะอยู่แล้ว แถมยังมีระบบหลังบ้านที่ดี มีหลายเจ้าให้เลือกใช้ เจ้าหน้าที่ประจำสถานีขนส่งก็คุ้นเคยกับพื้นที่เป็นอย่างดี เพิ่มตัวเลือกการขนส่งได้หลากหลาย และใช้งานง่ายมาก ฉะนั้นธุรกิจจึงควรมีช่องทางการขายสินค้าบน E – Commerce อย่างน้อย 1 แพลตฟอร์มเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้าที่ไม่สะดวกเดินทางไปซื้อของ และยังนำมาเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจของลูกค้าได้ดีด้วย
และนี่ก็คือรวมมิตร 20 เคล็ดลับ หาลูกค้า ใหม่ได้ง่าย ๆ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่เจ้าของกิจการสามารถลองไปปรับใช้ดูได้ ไม่แน่ว่าอาจเป็นแนวทางที่ทำให้ธุรกิจคุณพลิกฟื้นกลับมาดีกว่าเก่าก็ได้
——————————————————————–
หรือหากไม่มั่นใจในการโปรโมทสินค้า/บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ต้องการหาเอเจนซี่มาร่วมพูดคุยและหาทางออกไปพร้อม ๆ กัน Cotactic Media หนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ขออาสาเข้ามาช่วยตอบโจทย์การ หาลูกค้า ให้คุณได้ตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation เราก็ทำได้หมด
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณได้แล้วตั้งแต่ตอนนี้
กรอกรายละเอียดด้านล่างเพื่อขอรับคำปรึกษา ฟรี! จาก Cotactic
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
https://blog.pointspot.co/17306282/10-tips-for-finding-new-customers
https://thaiwinner.com/new-customers/
https://www.sales100million.com/single-post/how-to-find-new-customer-with-less-money-2/
https://iplandigital.co.th/youtube-marketing/brand-engagement-in-social-media/