“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คำนี้ไม่เกินจริงสำหรับคนทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายย่อยหรือรายใหญ่ ต่างก็มีคู่แข่งทางการตลาดกันทั้งนั้น หากไม่รู้จักคู่แข่งมากพอก็อาจโดนแย่งยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดไปได้ง่าย ๆ บทความนี้รวบรวมความหมายและความสำคัญของ Competitor Analysis พร้อมทั้งแชร์ตัวอย่าง Framework เพื่อให้คุณเข้าใจวิธีการวิเคราะห์คู่แข่งมากยิ่งขึ้น
Competitor Analysis คืออะไร?
Competitor Analysis คือ การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด ทั้งคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม โดยทำการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง สินค้า กลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่ง ซึ่งรวมถึงการเปรียบเทียบยอดขาย ส่วนแบ่งทางการตลาด ราคา ความนิยม การสื่อสารการตลาดและประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมธุรกิจ และนำมาสู่การวางกลยุทธ์และหาโอกาสในการทำธุรกิจของเรา
ทำไมธุรกิจควรทำ Competitor Analysis
แม้แต่วงการกีฬาหรือการทหารที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการเอาชนะ ต่างก็ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์คู่แข่งกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ กลวิธี จุดอ่อน จุดแข็ง การทำธุรกิจก็เช่นกัน การวิเคราะห์คู่แข่งหรือการทำ Competitor Analysis จะช่วยให้คุณรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเองและคู่แข่ง รู้ว่าตำแหน่งทางการตลาดและภาพลักษณ์ของเราเป็นแบบไหน รวมไปถึงทิศทางแนวโน้มตลาดของธุรกิจ เทรนด์ของอุตสาหกรรม เพื่อช่วยพัฒนาสินค้าใหม่หรือหาวิธีทำการตลาด การสื่อสารที่ดีกว่าเดิม และช่วยให้คุณระบุตัวชี้วัดในการเติบโตของธุรกิจคุณได้ด้วย
ตัวอย่าง Framework วิธีในการวิเคราะห์คู่แข่ง
การวิเคราะห์คู่แข่งสามารถทำได้หลายวิธี บางบริษัทก็ใช้หลาย Framework ร่วมกันเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้คุณอาจเลือกใช้ Framework ดังต่อไปนี้เพื่อวิเคราะห์คู่แข่งและธุรกิจของคุณได้
-
SWOT Analysis
SWOT Analysis คือ การวิเคราะห์แบรนด์ตัวเองและแบรนด์คู่แข่ง ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์ธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การทำ SWOT Analysis จะช่วยให้คุณเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน ภายนอกในการดำเนินธุรกิจ และสามารถนำมาตัดสินใจหรือวางกลยุทธ์ให้กับธุรกิจหรือการทำโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการสร้างจุดแข็ง ลดจุดอ่อน นำโอกาสมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และวางแผนรับมือกับอุปสรรค
SWOT Analysis ประกอบไปด้วย 4 อย่าง ได้แก่
-
-
Strengths (จุดแข็ง)
-
จุดที่ทำได้ดีหรือได้เปรียบคู่แข่ง ทั้งในด้านสินค้า การดำเนินงาน หรือความแตกต่างจากคู่แข่งที่ทำให้มีความได้เปรียบ เช่น ราคาสินค้า การได้รับรางวัลการันตี ที่ตั้งอยู่ในจุดที่ลูกค้าเป้าหมายเดินทางไปได้สะดวกกว่า
-
-
Weakness (จุดอ่อน)
-
จุดที่เป็นข้อด้อย ข้อเสียเปรียบ หรือไม่ดีเท่าคู่แข่ง เช่น จำนวนสาขาน้อยกว่าคู่แข่ง แบรนด์ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ในบางครั้ง สามารถนำ Strength มาอ้างอิงเพื่อหาจุดอ่อนได้
-
-
Opportunities (โอกาส)
-
ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้และไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ เช่น นโยบายใหม่ของรัฐบาลส่งผลดีต่อธุรกิจ สภาพอากาศที่ส่งผลให้คนนิยมใช้สินค้า/บริการของธุรกิจมากขึ้น
-
-
Threats (อุปสรรค)
-
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นแล้วเป็นผลเสียต่อธุรกิจ เช่น สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่ดีขึ้นทำให้ผู้คนมีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการน้อยลง มีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาในตลาด รัฐออกนโยบายใหม่ที่เป็นผลเสียต่อธุรกิจ
-
Strategic Group Analysis
โดยปกติแล้วธุรกิจต่าง ๆ แม้จะเป็นคู่แข่งกัน แต่ก็จะมีความแตกต่างกันในบางแง่มุมซึ่งส่งผลให้มีตำแหน่งทางการตลาดหรือ Position ต่างกัน
การทำ Strategic Group Analysis คือการรวบรวมเอาจำนวนธุรกิจหรือแบรนด์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน มาจัดแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มอาจมีความคล้ายหรือเหมือนกันในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ราคาและคุณภาพ บริการหลังการขาย ความหลากหลายของเมนู และนำมาจัดระดับเป็นแผนภูมิ กราฟ หรือชาร์ต เพื่อให้รู้ถึงตำแหน่งทางการตลาดหรือ Position แบรนด์เราและคู่แข่ง ช่องว่างทางการตลาด รวมถึงเทรนด์แนวโน้มตลาด เช่น แบรนด์ชานม A อาจจะทำชาร์ตแผนภูมิว่ามีแบรนด์ชานมใดในตลาดบ้าง โดยกำหนดเป็นแง่มุมปัจจัยด้านราคา และอีกแง่มุมเป็นจำนวนสาขา แล้วดูว่าแต่ละแบรนด์อยู่ในตำแหน่งใดของชาร์ตบ้าง มีแบรนด์คู่แข่งใดได้ดีกว่า และในแง่มุมไหน เพื่อที่แบรนด์ชานม A จะได้รู้ว่าควรพัฒนาด้านใดต่อไป
-
Growth Share Matrix
Growth Share Matrix คือเมทริกซ์แสดงส่วนแบ่งการเติบโต ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งและธุรกิจ โดยเหมาะกับบริษัทที่มีสายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ด้วยการวางแผนผลิตภัณฑ์ในเมทริกซ์หรือตาราง 4 ช่อง เพื่อดูว่าสินค้าใดที่จะตัดสินใจลงทุนเพิ่ม ดำเนินการต่อ หรือเลิกขาย
Growth Share Matrix แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 4 ประเภทใน 4 ช่องตาราง ดังนี้
-
-
Dogs
-
สินค้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดต่ำ และมีอัตราการเติบโตต่ำ ไม่ได้สร้างกำไรให้ธุรกิจมากนัก สินค้าที่ถูกจัดอยู่ในช่องตาราง Dogs จึงเป็นสินค้าแรก ๆ ที่ควรเลิกขาย
-
-
Cash Cows
-
สินค้าที่มีอัตราการเติบโตต่ำ แต่มีส่วนแบ่งการตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ สินค้าที่เป็น Cash Cows จึงเป็นสินค้าที่ธุรกิจควรจะรีดนมให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะนำเงินไปลงทุนในกลุ่ม Stars
-
-
Stars
-
สินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูง และเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ในตลาด เป็นสินค้าที่ควรลงทุนมากขึ้นเพราะสร้างรายได้ที่สูง
-
-
Question Marks
-
สินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่ไม่ได้รักษาส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ จึงเป็นสินค้าที่น่าจับตาและวิเคราะห์บ่อยครั้งว่าควรจะดำเนินการต่อหรือไม่
การทำ Competitor Analysis มีประโยชน์อย่างมากในการกำหนดกลยุทธ์การทำการตลาดของธุรกิจ และรักษาส่วนแบ่งการตลาดไม่ให้คู่แข่งแย่งชิงส่วนแบ่งไปได้ แม้ว่านักธุรกิจหรือนักการตลาดจะมีสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันมากขนาดไหน แต่ก็ไม่ควรละเลยการทำ Competitor Analysis เพราะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าในการใช้เวลาสำรวจตัวเองและคู่แข่งอย่างยิ่ง
หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้
โทร.065-095-9544
Inbox: m.me/cotactic
Line: @cotactic
——————————————————————–
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)