ช่วงนี้ไม่ว่าคนดังจะหยิบจับอะไรก็กลายเป็นเทรนด์ไปเสียหมด หรือแม้คนธรรมดาเองถ้าทำคอนเทนต์มีประโยชน์จับความนิยมของสังคมได้ก็กลายเป็นกระแสได้เพียงชั่วข้ามคืน
วันนี้ Cotactic บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress และการตลาดออนไลน์ ขอแนะนำ 5 เว็บไซต์ Social Listening Tools แบบฟรี ๆ ที่เจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดควรมีติดไว้จะได้ไม่ตกเทรนด์ ช่วยให้คุณตามหาลูกค้าใหม่ได้สะดวกยิ่งขึ้น
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาหลักขออธิบายไว้เล็กน้อยเกี่ยวกับเครื่องมือชิ้นนี้กันครับ Social Listening Tools คือโปรแกรมคอยควบคุมและวิเคราะห์บทสนทนาต่าง ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณ คู่แข่ง หรือพูดถึงกระแสสังคมในตอนนั้นให้คุณลองเอามาเล่นกันดูได้ ซึ่งความสามารถของเครื่องมือชิ้นนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตรวจวัดสื่อโซเชียล แต่ยังสามารถดึงข้อมูลโพสต์ คอมเมนต์ บล็อก แถบฟอรัม และเว็บไซต์ที่เปิดให้เป็นสาธารณะออกมาดูได้ด้วย
ด้วยจำนวนการกล่าวถึง (Mentions) และข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่ตรวจพบบน Social Listening Tools จะช่วยติดตามผลได้ว่าแบรนด์คุณเป็นอย่างไรในสายตาของผู้บริโภคตอนนี้
หลักการทำงาน
หลักการไม่ซับซ้อนเลย เพราะเครื่องมือตัวนี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ปล่อยอยู่ในโลกออนไลน์ คุณสามารถรวบรวมข้อมูลจากช่วงเวลาที่เจาะจงได้หรือแบบเรียลไทม์ก็ได้แล้วแต่ความต้องการ และยังสามารถเลือกเจาะจงไปในแต่ละภาษาหรือประเทศก็ได้
ผลการค้นหาขึ้นอยู่กับกลุ่ม Keyword ที่ไม่เหมือนกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาทิ ชื่อแบรนด์ ชื่อสินค้า หรือกลุ่มคำวลีที่ใช้ เช่น คำโปรยโฆษณา ชื่อชุดแคมเปญการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ยังสามารถคัดคำที่ไม่เกี่ยวข้องที่อาจรบกวนการค้นหาคำเป้าหมายของคุณได้
ยิ่งไปกว่านั้นระบบ Mentions ยังมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาอารมณ์ของเจ้าของโพสต์หรือผู้บริโภคที่รู้สึกต่อสินค้า / แบรนด์เรา จัดลำดับส่งผลกระทบต่อความรู้สึกผู้บริโภคในด้านบวก ลบ หรือเป็นกลางได้ โดยทั่วไปแล้วลักษณะที่ผู้บริโภคมักกล่าวถึงสินค้า / แบรนด์มักเป็นประเด็น ราคา แพ็กเกจจิง การบริการ ประสิทธิภาพการใช้งาน ความสะดวกในการซื้อ เป็นต้น
แนะนำ 5 Social Listening Tools ฟรี
-
Google Trends
เป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานสะดวกที่สุดแล้วตอนนี้ เข้าไปตามลิงก์นี้ Google Trends ใส่ Keyword คำค้นหาที่ต้องการแล้วกด Enter ได้เลย ยกตัวอย่างคำที่ผมค้นหา ‘คริสต์มาส’ จะเห็นได้ว่าเทรนด์งานวันคริสต์มาสจะพุ่งสูงมาก ๆ แค่เฉพาะช่วงที่ตรงกับวันเทศกาลหรือเดือนก่อนหน้าเท่านั้น ทีนี้ผมลองเพิ่มความขบขันเข้าไปอีก ถ้าหลายคนจำได้ช่วงเวลาคริสต์มาสมักจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ห้างสรรพสินค้าชอบเปิดให้ฟังตลอดทุกปีก็คือ “All I Want For Christmas Is You” ของ Mariah Carey เมื่อเอามาใส่ในช่อง ‘Add Comparison’ ปรากฏว่า ทั้งสองคำค้นหาจะพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงที่ใกล้งานคริสต์มาส
*ข้อควรระวังทุกคำค้นหาเว็บไซต์จะจัดประเภทคำค้นหานั้นไว้ให้ในช่องแถบเดียวกัน (ตัวอักษรสีเทา) หากหมวดหมู่ของคำค้นหาไม่ตรงกันอาจทำให้ผลการค้นหาคลาดเคลื่อน ยกตัวอย่างคำว่า “Christmas” ช่องที่ระบุหมวดหมู่จะขึ้นคำว่า Search Terms และคำที่เกี่ยวข้องอย่าง Festivity มาให้ ซึ่งทั้งสองคำอยู่คนละหมวดกัน แม้จะเป็นความหมายเดียวกันก็ตาม ฉะนั้นอย่าลืมตรวจสอบให้ดีก่อนกดค้นหาครับ
นอกจากนี้ Google Trends ยังมีลูกเล่นอีกหลากหลายให้เล่นเยอะมากทั้งฟีเจอร์ระบุตำแหน่งประเทศ ช่วงเวลา ประเภทคำค้นหา และช่องทางที่คำค้นหาจะปรากฏอีกด้วย (Google Trends สามารถค้นหาได้เพียงข้อมูลที่ถูกโหลดขึ้น Google และ YouTube เท่านั้น)
หากอยากได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่านี้ลองเลื่อนมาดูข้างล่างได้ครับ ในแผนที่ประเทศจะระบุตำแหน่งความหนาแน่นของคำค้นหาแยกย่อยเป็นรายภูมิภาคเลยด้วย และถ้าหากเอาเมาส์ไปวางบนตำแหน่งแต่ละจังหวะก็จะขึ้นเป็นข้อมูลเจาะลึกเข้าไปอีกเช่นกันครับ
ทั้งนี้ลูกเล่นของ Google Trends ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านั้น ลองคลิกที่บาร์ด้านซ้ายจะมีตัวเลือกให้เลือกอยู่ 5 ตัวตั้งแต่หน้า Home จนถึง Subscriptions หากคุณคิดไม่ออกว่าคุณจะหาอะไรกดคลิกที่หัวข้อ ‘Trending Searches’ ได้เลย หรือหากอยากรู้ว่าในแต่ละปีมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้างให้เลือกที่หัวข้อ ‘Year In Search’
-
Wisesight
อีกหนึ่งเว็บไซต์ตัวช่วยการค้นหาเทรนด์ที่มีบริษัทลูกอยู่ที่ไทยด้วย คลิกตามลิงก์นี้ไปได้เลยครับ Wisesight ถ้าใครเพิ่งทดลองใช้งานครั้งแรกทำตามวิธีผมได้เลย
- คลิก Community บนแถบด้านบน
- คลิก Trends
- คลิก Use Now ล็อกอินด้วย Facebook ก่อน
เราก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ที่หน้าตาประมาณนี้
เมื่อเข้ามาในหน้าผลการค้นหาได้แล้ว ระบบจะจัดเรียงผลการค้นหาข้อมูลไว้ให้วัดจากภาพรวมของยอด Engagement ทั้งหมด จากหลาย ๆ Social Media บล็อกข่าว เว็บฟอรัม ดั่งที่ปรากฏอยู่ในช่องแถบทางด้านซ้าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดหรือปิดการค้นหาจากช่องทางเหล่านั้นได้
แนะนำแถบเครื่องมือ
แถบเครื่องมือนี้จะอยู่ทางด้านขวามือของหน้าเว็บไซต์สามารถเลือกประเภทเทรนด์ได้ 3 หมวดหมู่หลัก ได้แก่
- Trending
- Top Content
- Top Hashtag
ช่องทางสื่อต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งข่าว
- Forum
- News
- Blog
- Youtube
เครื่องมือเสริมอื่น ๆ เช่น View Mode, การจัดลำดับ Engagement, Filter Keywords เป็นต้น และหากขึ้นไปดูที่แถบด้านบนจะเห็นว่ามีหมวดคำค้นหาอื่น ๆ ให้เลือกอยู่เยอะมาก ลองไปเสิร์ชดูเล่น ๆ ได้
นอกจากนี้ Wisesight ยังมีหมวดหลักที่ถูกแยกออกมาอีกเพจให้เลือกตามได้ดียิ่งขึ้นถึง 3 เพจด้วยกัน
หากคุณทำแบรนด์ร้านอาหาร หรือเป็น Content Creator แนวตระเวนชิม รีวิว แล้วล่ะก็ลองไปตามเทรนด์จะสนุกมาก
อัปเดตข่าวสารวงการฟิล์มไทย ดารา ไอดอลท่านไหนทำอะไร ใครกำลังดัง สามารถเชิญมาเป็นนาย / นางแบบโฆษณาได้ไหม ต้องลองใช้
เหมาะกับแบรนด์สินค้าหรือผู้บริโภคทั่วไปมากที่สุด แบรนด์ไหนจัดโปรฯ ลดราคา รีวิวสินค้าใช้ดีบอกต่อ หมวดนี้คือคำตอบ
-
Mentionmapp
เว็บไซต์นี้ออกแบบมาเพื่อแบรนด์ที่มีบัญชีทวิตเตอร์โดยเฉพาะคลิกตามลิงก์นี้เลย Mentionmapp แล้วลงทะเบียนด้วยบัญชีทวิตเตอร์ แล้วระบบจะทำการรันสร้างแผนผังความเชื่อมโยงของบัญชีเอาไว้แบบนี้
ภายในเว็บไซต์จะแสดงผล #Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับคุณมากที่สุดในเวลานี้ ตรวจพบด้วยว่าใครตอนนี้ที่สามารถให้น้ำหนักกับแบรนด์ของคุณได้มากที่สุด มีความสำคัญแค่ไหน ข้อมูลส่วนใดสำคัญมากที่คุณควรรู้ พร้อมเปิดเผยยอด Engagement ไหนที่มีประสิทธิภาพ โพสต์ไหนมีส่วนร่วมน้อยได้แบบ Real-time
-
Hootsuite
จุดเด่นอยู่ตรงที่สามารถลงทะเบียน ตอบคำถามนิดหน่อย ก็เข้าใช้งานได้ฟรี ๆ พร้อมฟีเจอร์ที่แถมมากับเว็บไซต์อีกเยอะ เชื่อมต่อได้หลายแพลตฟอร์มทั้ง Facebook, LinkedIn, Instagram, Twitter ฯลฯ
ใช้ในการบริหารจัดการโพสต์ของคุณได้ในเว็บเดียวทั้งการตั้งเวลาลงคอนเทนต์ การบริหารความสัมพันธ์กับ Followers และคอยรายงานข้อมูล Insights ให้ตลอด เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีหลายช่องทางการติดต่อและต้องการบริหารคอนเทนต์ทุก ๆ แพลตฟอร์มในคราวเดียว
ฟีเจอร์เด่นที่ไม่ควรพลาด ได้แก่
- Publisher จะอยู่ในรูปของหน้าเพจที่มีตารางปฏิทินเอาไว้ ใช้ในการดูภาพรวมคอนเทนต์ในหลาย ๆ ช่องทางไว้ในหน้าปฏิทินใบเดียวกัน สามารถตั้งค่าลงคอนเทนต์ล่วงหน้าได้ หรือกำหนดหัวข้อคอนเทนต์ที่จะนำมาลง รวมถึงการรีโพสต์คอนเทนต์เก่าที่มียอด Engagement สูงก็ได้ด้วย
- Engage ตรวจสอบ ติดตาม และดูแลข้อความของ Followers ที่ส่งเข้ามา สามารถจัดสรรแอดมินที่เหมาะกับหัวข้อต่าง ๆ เพื่อคอยตอบคำถามให้กับ Followers ในคราวเดียว
- Analytics คอยตรวจสอบ Insights ที่น่าสนใจในแต่ละช่องทาง แต่ละโพสต์ ทั้งการคลิก, คอมเมนต์, Reach, Shares, ยอดวิวคลิป, อัตราการเติบโตของ Followers เป็นต้น
ทั้งนี้ Hootsuite มีทั้งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน ซึ่งแบบไม่เสียเงิน หรือ Free Trial สามารถใช้โปรแกรมได้อยู่ที่ 30 วัน เสียเงินเริ่มต้นที่ 19$ / เดือน หรือราว 622 บาท
-
Google Alerts
ตัวนี้จะคล้าย ๆ Google Trends อยู่สักหน่อยตรงที่สามารถค้นหาเทรนด์ในช่วงเวลานั้นได้เลย แต่ไม่สามารถทำการเปรียบเทียบคำค้นหา 2 คำขึ้นไปได้ แต่อย่างน้อยก็มีข้อดีข้อหนึ่งมาทดแทน ตรงที่ Google Alerts สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนหัวข้อที่สนใจอยู่ในขณะนั้นได้ โดยจะส่งเป็นรายงานให้ในแต่ละวัน (นอกจากนี้ยังมีให้เลือกอีก 2 หัวข้อ คือ ส่งทันทีที่เทรนด์นี้เกิดขึ้น หรือ ส่งสัปดาห์ละครั้ง)
อย่างในตัวอย่างนี้ผมทดลองใส่ Keyword เป็น Metaverse เข้าไป และตั้งเวลาให้ส่งข้อมูลออกมาทันทีที่ทำได้ เมื่อระบบตรวจจับกลุ่มคำที่มี Keyword อยู่ในนั้นจะทำการรายงานแบบ Preview มาให้ผมดูก่อนรอบหนึ่ง เมื่อผมไม่ได้อยู่ในหน้านั้นแล้ว วันต่อมาระบบจะส่งข้อมูลมาให้อีกทีหนึ่งครับ (กรณีรำคาญไม่อยากให้รายงานตลอดให้ตั้งเป็นวันละครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้งก็ได้ครับ)
และทั้งหมดนี้ก็คือเว็บไซต์ Social Listening Tools แบบฟรี ที่คุณสามารถทดลองใช้ในการจับเทรนด์เพื่อหาลูกค้าใหม่ได้ง่าย ๆ หากชอบเว็บไซต์ไหน ใช้แล้วโอเคดีมาก อย่าลืมมารีวิวให้พวกเราฟังด้วยนะครับ
——————————————————————–
ร่วมงานกับทีม Cotactic Media หนึ่งใน บริษัทรับทำการตลาดดิจิทัล ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://outcry.io/2021/08/14/free-social-media-listening-tools/