“คอนเทนต์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” วลีนี้ดูเหมือนจะไม่เกินความจริงไปมากนัก ในช่วงที่เจ้าของธุรกิจและร้านค้าต่างก็มีเว็บไซต์และหน้าร้านออนไลน์เป็นของตัวเอง การทำ SEO คอนเทนต์ให้เป็นที่รู้จักกันในโลกโซเชียลดูเหมือนเป็นกระแสที่ผู้ประกอบการหลายท่านให้ความวสนใจ เพราะยิ่งคอนเทนต์มีคุณภาพมากเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ก็น่าแปลกใจที่ทำคอนเทนต์ไปมากเท่าไหร่ก็ยังไม่สามารถดันให้ติดอันดับผลการค้นหาสักที ฉะนั้นสิ่งที่คุณควรเริ่มทำในการแก้ไขปัญหานี้ก่อน ก็คือการทำ SEO Audit นั่นเอง
SEO Audit คือกระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพการแสดงผลของเว็บไซต์ ค้นหาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google และคอยปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยจะครอบคลุมทั้งเนื้อหาและโครงสร้างที่กระทบต่อการค้นหาแบบ Organic Search ให้มุมมองในเชิงภาพรวม เหมือนเป็นการ “ตรวจร่างกาย” ของคนเรา แถมยังมีต้นทุนต่ำ สามารถระบุปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างแม่นยำ สามารถทำเมื่อไหร่ก็ได้ จะเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก
สถานการณ์ไหนที่ควรทำ SEO Audit
- หน้าเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ที่ค้นหายาก หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ
- หน้าเพจเก่าที่เคยติดอันดับหน้าแรก แต่พอเวลาผ่านไปอันดับก็ค่อย ๆ ร่วงจนหายไป
- คอนเทนต์ที่อยู่มานานแต่ไม่ได้มีคุณภาพมากพอที่ Google จะเอาไปจัดอันดับ
- จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากกว่า
- Keyword ไม่มีศักยภาพเพียงพอ (เช่น Competition สูง Avg. Search ต่ำ หรือ Keyword ไม่สัมพันธ์กับตอนเทนต์ เป็นต้น)
- องค์ประกอบการทำคอนเทนต์ยังมีไม่พอ Optimize ยังไม่เหมาะสม (เช่น UX / UI ไม่ดี ไม่น่าใช้ Page Speed ต่ำไป ลิงก์พัง เป็นต้น)
ปัญหาต่าง ๆ ที่ SEO Audit จะทำการตรวจสอบ ได้แก่
- ปัญหาด้านเทคนิคของ SEO
เช่น HTTPS ไม่ปลอดภัย, ความเร็วการโหลดช้า, เกิด 404 Error เป็นต้น
- ปัญหาโครงสร้างเว็บไซต์
เช่น โครงสร้าง URL, Internal Links, Duplicate Content เป็นต้น
- ปัญหาภายในเว็บไซต์ (On-page)
เช่น Meta Description, Header Tag, Alt Text ในรูปเสีย เป็นต้น
- ปัญหาภายนอกเว็บไซต์ (Off-page)
เช่น Backlink หรือ External Links พัง, เว็บไซต์ปลายทางขาดความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
- ปัญหาด้าน UX
เช่น UX ใช้งานยาก มองไม่รู้เรื่อง, วางตำแหน่ง CTA ผิดพลาด, การเลือกใช้สีไม่เหมาะสม เป็นต้น
- ช่องว่างและโอกาสในการเข้าถึงคอนเทนต์
เช่น Keyword Gap, Backlink Gap, ติดอันดับผลการค้นหาแรกของ Google หรือไม่ เป็นต้น
- ข้อมูลเชิงลึกวิเคราะห์การแข่งขันด้านการตลาด
เช่น ปริมาณคู่แข่ง, ปริมาณ Demand, คุณภาพของเว็บไซต์คู่แข่ง เป็นต้น
การทำ Audit ควรเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ สามารถแยกแยะได้ว่าปัญหาต่าง ๆ ใน SEO อาจส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของเว็บไซต์ อย่างเช่น การจัดอันดับความสำคัญของหน้าเว็บไซต์ อาจส่งผลต่อเป้าหมายในเชิงธุรกิจและค่าใช้จ่าย ฉะนั้นการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ควรเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทั้งจุดประสงค์ทางธุรกิจอย่างชัดเจน รวมไปถึงการวางแผนการปรับปรุงเว็บไซต์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน สามารถปฏิบัติตามได้จริง สอดคล้องกับปริมาณทรัพยากรและบุคคลที่มี ง่ายต่อการติดตามผล
ทั้งนี้การทำ SEO Audit ไม่ควรรีบทำเกินไป เพราะการตรวจสอบต้องใช้เวลาวิเคราะห์ถึงเนื้อใน ซึ่งใช้เวลาและความสามารถในการตรวจสอบ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจสอบมีตั้งแต่ 2 – 6 สัปดาห์กว่าจะเสร็จ ขึ้นอยู่กับขนาดของเว็บไซต์ และต้องมีผู้เชี่ยวชาญรับทำ SEO เป็นผู้ควบคุมการตรวจสอบเพื่อความแม่นยำและเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้การตรวจสอบไม่ควรจะมีลักษณะ “one size fits all” หรือปรับปรุง 1 หน้าเว็บไซต์แล้วปรับใช้กับทุก ๆ หน้าที่เหลือ เพราะในขณะที่องค์ประกอบเชิงเทคนิคบางอย่างเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์ในทุก ๆ หน้า แต่การวิเคราะห์ไปตามสถานการณ์ในแต่ละเว็บไซต์ดูจะเป็นอะไรที่เหมาะสมยิ่งกว่า
คอนเทนต์แบบไหนที่ควรทำ SEO Audit มากที่สุด?
ในข้างต้นเราได้กล่าวไปแล้วว่าสถานการณ์แบบไหนที่ควรเริ่มทำ SEO Audit มากที่สุด แต่ในส่วนนี้เราจะมาเจาะลึกกันเข้าไปอีกว่า คอนเทนต์ในเว็บไซต์แบบไหนที่ “ควร” มีการตรวจสอบมากที่สุดเรียงตามลำดับความสำคัญสูงสุด > ต่ำสุด ดังนี้
-
คอนเทนต์ที่จัดอันดับได้ดีที่สุดของเว็บไซต์
“การเป็นตัวสำรองเรื่องที่เครียดที่สุดคือการหาวิธีที่จะเป็นที่หนึ่ง แต่ผู้ที่เป็นที่หนึ่งอยู่แล้วเรื่องที่เครียดที่สุดกลับเป็นการรักษาตำแหน่งยังไงให้ได้นานที่สุด” ฉะนั้นการหมั่นปรับปรุงคอนเทนต์ที่มียอด Engagement สูง ๆ การจัดอันดับอยู่ในเกณฑ์ที่ดี จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเลี่ยงเลย
จากผลการสำรวจบนเว็บไซต์ Zero Limit Web ที่ได้รวบรวมผลการสำรวจมากมายพบว่า 71.33% ของผู้ค้นหาจะคลิกลิงก์เว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าแรกของ Google ในขณะที่หน้าที่สองลดลงมาเหลือแค่ 5.59% และในหน้าแรกมีผู้คนคลิกเข้าเว็บไซต์แบบ Organic 5 อันดับแรกสูงถึง 67.60% อันดับที่ 6 – 10 เหลืออยู่เพียงแค่ 3.73% อ้างจากผลงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าเว็บไซต์ที่จะมีโอกาสคลิกเข้ามาสูงจะต้องมี ผลลัพธ์ในตำแหน่งหน้า Organic ที่โดดเด่นที่สุด
-
คอนเทนต์ที่อันดับไม่ค่อยดี
ถ้าอ้างอิงจากข้อมูลด้านบนก็จะเป็นคอนเทนต์หน้าผลการค้นหาที่ 2 เป็นต้นไป เพราะมีจุดผิดพลาดเล็กน้อยที่ต้องปรับแก้เยอะ ซึ่งต้องใช้เวลาในการจัดอันดับแข่งกับอันดับก่อนหน้านานหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นเดือนขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณจุดผิดพลาดของคอนเทนต์ และควรวางแผนการปรับปรุงระยะยาวควบคู่ไปด้วย
โครงสร้างของการทำ SEO Audit มีอะไรบ้าง
แม้ในหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าจะมีความแตกต่างด้านเทคนิคกันเพียงเล็กน้อย แต่ก็ควรมีการวิเคราะห์เทคนิคขั้นพื้นฐานเพื่อให้ตรงตามจุดผิดพลาดในแต่ละหน้าเว็บไซต์ อาทิ แผนผังเว็บไซต์ ข้อผิดพลาดของเซิร์ฟเวอร์ Metadata เป็นต้น และควรลงลึกถึง การเข้าถึง (Accessibility) การจัดทำดัชนี (Indexation) และการปรับให้เหมาะสม (Optimization)
หัวข้อต่อไปนี้คือการทำ Audit ที่ทาง Cotactic ขอหยิบยกมาใช้เป็นตัวอย่างให้ผู้อ่านได้ลองทำความเข้าใจดูครับ
การตรวจสอบด้านเทคนิค
- การวิเคราะห์การจัดทำดัชนี (Indexation analysis)
- สถานะโค้ด (Status Codes)
- การเปลี่ยนเส้นทาง URL (Redirects)
- ความเร็วหน้าเพจ
- โครงสร้าง URL
- แผนผัง XML (XML Sitemap)
- การทำซ้ำ (Duplication)
- Canonical Tags
- การวิเคราะห์ SEO บนมือถือ
- การวิเคราะห์ภายนอกเว็บไซต์ ฯลฯ
- ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล (Crawlability)
- ปัญหาด้านโดเมน (Legacy Domain Issues)
- การวิเคราะห์ SEO ระหว่างประเทศ (International SEO analysis)
การตรวจสอบภายในเว็บไซต์
- โครงสร้างคอนเทนต์บนเว็บไซต์
- การค้นหา Keyword (Keyword Research)
- การใช้ Keyword
- การวิเคราะห์รูปแบบการคัดลอกหน้า (Page Copy Theme Analysis)
- การวิเคราะห์ Metadata (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ Meta Tags คืออะไร?)
- UX
- Internal link และแผนผัง HTML
- รูปภาพและวิดีโอ
- ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Schema)
การตรวจสอบบันทึกเซิร์ฟเวอร์
- การวิเคราะห์ข้อมูลงบประมาณ (Crawl Budget Analysis)
- การวิเคราะห์ตัวแทนผู้ใช้งาน (User Agent Analysis)
ข้อมูลโครงสร้างการตรวจสอบ SEO เหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้นในแต่ละหน้าเว็บไซต์ที่มีความแตกต่างกัน ส่วนวิธีการทำ SEO Audit อย่างไรให้มีประสิทธิภาพพร้อมตัวอย่างการทำ เลื่อนลงมาที่หัวข้อถัดไปได้เลยครับ
วิธีทำ SEO Audit
1. ตรวจสอบว่าเว็บไซต์เวอร์ชันปัจจุบันของคุณสามารถเรียกดูได้
พิจารณาจากมุมมองของผู้ใช้งานสามารถพิมพ์โดเมน เนม ของคุณแล้วเข้าถึงเว็บไซต์ได้เลยหรือเปล่า โดยมีเพียง โดเมนเดียวเท่านั้นที่ต้องสามารถเข้าถึงหน้าหลักของคุณได้ หากมีหน้าที่มีเนื้อหาซ้ำให้ใช้ Canonical Tags ในการเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำกับหน้าหลัก เพราะถ้าไม่ทำ Google จะตัดสินว่าทุก ๆ โดเมนมีความสำคัญเท่ากันหมด ส่งผลเสียต่อการจัดอันดับ SEO ที่ดี
2. จัดทำการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ (Website Crawling)
โปรแกรมจะทำการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ในรูปแบบเดียวกับ Google Crawler โดยจะรื้อโครงสร้างของหน้าเว็บไซต์ของเราออกมาแต่ละส่วนและใช้อัลกอริทึ่มที่คล้ายกับ Google Search ในการตรวจสอบหน้าเพจของเราแต่ละหน้า เพจไหนที่สามารถค้นแล้วเจอเลยก็ถือว่าดีไป แต่เพจไหนที่ขึ้นสัญลักษณ์ว่า Broken ก็ควรรีบแก้ไขให้ไว เพราะแสดงว่าลิงก์เพจนั้นพัง ผู้ใช้งานไม่สามารถกดเข้ามาดูได้ อันดับเว็บไซต์ก็จะลดลงไป หรือถ้าเป็น Redirecting ก็ไม่ควรมีเยอะเกินจนอัลกอริทึ่มของ Google รู้สึกว่าเราไม่น่าไว้ใจ
ในด้านของมุมมองภาพรวมของเว็บไซต์ยิ่งมีสัดส่วนสีเขียวมากเท่าไหร่ก็ยิ่งบ่งบอกว่าภาพรวมเว็บไซต์ของเราดีมากเท่านั้นคล้ายกับการตรวจสุขภาพประจำปีของคนเรานั่นเอง และจะยิ่งจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณให้อยู่สูงมากยิ่งขึ้น
เหล่าโปรแกรมฟรีที่เปิดให้ใช้สำหรับ Website Crawler ได้แก่ sureoak.com, alphacrawler, ahref.com เป็นต้น
3. เช็กการจัดทำดัชนี (Indexation) บน Google
คลิกเข้าไปที่ Google Search Console เว็บไซต์ของคุณ > Google Index > Index Status.
หรือถ้าไม่มี Search Console เราก็มีวิธีง่าย ๆ มาแนะนำครับ พิมคำว่า site: มีตัว : ด้วยนะ ตามด้วยโดเมนเนม
ตัวอย่าง: site:cotactic.com
เมื่อค้นหาเสร็จแล้วข้อมูลจะปรากฏในหน้าค้นหาหน้าแรก แต่ทว่าการใช้วิธีนี้มีข้อจำกัดตรงที่ไม่แม่นยำเท่า Search Console แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงในระดับหนึ่ง
*หากใช้วิธีนี้แล้วยังไม่เห็นผล แสดงว่าเว็บไซต์ของคุณกำลังมีปัญหาแล้ว เพราะ Google ไม่สามารถจัดการค้นหาแบบ Organic ได้เลย ซึ่งอาจเกิดจาก x‑robots-tag ส่วนหัวผิดปกติจากหน้าเว็บไซต์ วิธีตรวจสอบคือ เข้าไปที่ header.php หรือ .htaccess ของหน้าเว็บ หรือเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้
4. ตรวจสอบว่าชื่อแบรนด์ของคุณติดอันดับหรือเปล่า
เข้าไปที่ Google แล้วพิมพ์ชื่อเว็บเลยครับ ง่าย ๆ แค่นี้แหละ ถ้าแบรนด์ของคุณไม่ได้ใหม่มาก จะต้องเห็นชื่อแบรนด์คุณขึ้นต้นก่อนเป็นอันดับแรกครับ และขอแนะนำว่าหน้าแรกที่คลิกเข้าไปต้องเป็นหน้า Homepage จะดีที่สุด และขอเสริมเพิ่มเติมเล็กน้อยในเรื่องของปัจจัยในการออกแบบหน้า Homepage เว็บไซต์ว่าควรมีองค์ประกอบอะไรบ้างดังนี้
- มีชื่อแบรนด์ ชื่อเว็บไซต์ บ่งบอกตัวตนของคุณชัดเจน ลูกค้าเข้ามาดูปุ๊ป รู้เลยว่าแบรนด์คุณขายอะไร และมีการทำ CI Brand ที่เห็นได้ชัด
- ใช้ Keyword 1 -2 อันดับแรกที่เกี่ยวข้องกับ Header เพื่อเพิ่มการจัดอันดับ
- จะต้องสื่อสารถึงจุดประสงค์ของเว็บไซต์นี้ เป้าหมายหลักต้องการทำอะไร สินค้า / บริการหลักคืออะไร ผู้ใช้งานอ่านแล้วไม่สับสนในผลิตภัณฑ์ของเรา
- มี Navigation คอยนำทางให้ผู้ใช้งานรู้ว่าต้องไปยังจุดไหน
- ใส่ Call-To-Action เพื่อให้ผู้ใช้งานคลิกไปต่อ
หากว่าการจัดลำดับหน้าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้อยู่ในหน้าแรกแต่ไปอยู่ในหน้าอื่น ๆ แทนล่ะก็ มีความเป็นไปได้สูงมากที่แบรนด์ของคุณไม่มีเอกลักษณ์เพียงพอ จนแม้แต่ Google ยังคิดเลยว่า ผลการค้นหาไม่เหมาะสมสำหรับหน้าแรก เพราะผู้คนค้นหาหาจากชื่อของแบรนด์มากกว่า การตั้งชื่อแบรนด์เป็นคำทั่วไป ไม่มีคำที่โดดเด่น จะทำให้ยากต่อการค้นหา
ดังนั้นควรมีการสร้างแบรนด์และลิงก์ขึ้นพร้อม ๆ กัน ดังนี้
- สร้างลิงก์เข้าสู่แบรนด์ให้มีความแข็งแกร่ง
- ใช้แคมเปญโฆษณาบ้าง (ถ้าต้องการทำแบบ Organic แนะนำให้ทำ Backlink)
- สร้างแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในทำเนียบแบรนด์ต่าง ๆ (ให้เว็บไซต์อื่นอ้างอิงถึงแบรนด์คุณบ้าง / External Link)
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบรนด์คุณอยู่ในสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหมด
เมื่อทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เว็บไซต์แบรนด์คุณจะค่อย ๆ ไต่อันดับสูงขึ้นไปเอง ยิ่งแบรนด์คุณเด่นเท่าไหร่ Google จะลดขนาดเว็บอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องลงและดันคุณขึ้นไปติดอันดับชาร์ท Google เอง
5. ทำการตรวจสอบ On-page SEO ขั้นพื้นฐาน ด้วย Meta Title, Description
เริ่มจากเข้าไปดูได้ที่หน้า Homepage ก่อน และค่อยตามไปหน้าอื่น ๆ ทีหลัง
พอเข้ามาที่หน้า Homepage แล้ว คลิกขวา > เลือก View page Source
วิธีสังเกตว่า On-page ของเราควรเริ่มทำการปรับปรุงได้หรือยัง เริ่มจากตั้งคำถามว่า
- Title Tag คลิกเข้ามาได้หรือเปล่า? (คลิกเข้ามาแล้วไม่เกิด 404 Error / 301 Redirect)
- ทำการ Optimize ทั้ง Meta title และ Description ไปหรือยัง และ Keyword หลักสามารถดึงดูดผู้คนให้กดเข้ามาอ่านได้มากหรือไม่?
- Header 1 มีอันเดียวใช่หรือเปล่า (H1 คือหัวข้อคอนเทนต์) และได้รับการ Optimize หรือยัง?
- เพิ่ม Header 2 และ 3 ถูกหัวข้อหรือเปล่า? (Header ที่เหลือคือหัวข้อย่อยในคอนเทนต์)
ถ้าคุณเริ่มรู้สึกสงสัยในหัวข้อเหล่านี้แสดงว่าเว็บไซต์คุณต้องเริ่มทำการตรวจสอบซักหน่อยแล้วล่ะ มาเริ่มกันที่ Meta Title กันเลย
ทีนี้ลองมาดูกันต่อว่าระดับ Keyword Search Volume ที่อยู่บน Title จะอยู่ที่อันดับเท่าไหร่
ทางทีมงาน Cotactic ใช้โปรแกรม Google Keyword Planner ในการค้นหา Search Volume จากรูปจะเห็นได้ว่า 2 คำแรกคือคำที่ปรากฏอยู่บน Title ทั้งสิ้น ซึ่งในระดับนี้ถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว
ต่อไปจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพของ Description กันบ้าง บอกไว้ก่อนว่า Meta Description ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการจัดอันดับ แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า Meta Title ฉะนั้นการทำกลุ่มคำอธิบายให้มีคุณภาพควรมี Keyword ที่สื่อถึงสินค้าหรือบริการของคุณ ยกตัวอย่าง Cotactic ที่เป็นเอเจนซีโฆษณาออนไลน์ก็ควรมีคำว่า การตลาดออนไลน์ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เอเจนซี หรือ Digital Marketing Agency รวมอยู่เป็นต้น หากอ้างอิงจากรูปภาพด้านบน Description มีคำว่า Digital Marketing Agency อยู่ด้วย และถูกจัดอันดับอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถือว่าข้อนี้ผ่าน
ต่อไปจะเป็นการตรวจสอบ Header ข้างในกัน
H1 Tag ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์ ดังนั้นการใช้คำใน H1 ต้องมีความเป็นเอกลักษณ์, สามารถอ่านครั้งเดียวเข้าใจได้, Header ในหน้า Homepage กับ Title ต้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้ในส่วนของหัวข้อย่อย (Subheader) ควรตั้งชื่อหัวข้อให้มีเหตุผลในแต่ละหน้า หลีกเลี่ยงการใช้วลีทั่วไปอย่าง “ข้อมูลเพิ่มเติม” หรือ “รายละเอียด”
6. ตรวจสอบ Keyword Optimization
เมื่อเวลาผ่านไปนานกระแสนิยม Keyword บางคำก็เริ่มลดลงตาม การปรับคำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นย่อมส่งผลดีเสมอ Keyword ที่ใช้ควรเป็นคำที่ระบุเจาะจงเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกตอบโจทย์ขณะอ่าน และควรเลือกคำที่มี Volume สูงที่สุดและมีค่า Competition ต่ำที่สุดด้วยเช่นกัน โปรแกรมที่ใช้ในการ Optimize คือ wordstream.com หรือถ้าใครอยากท้าทายคิด Keyword ขึ้นมาตรวจสอบเองอย่าง Google Keyword planner ควบคู่ไปกับ keywordtool.io ก็ไม่ว่ากัน เมื่อได้ Keyword ที่เหมาะสมมาแล้วแนะนำให้เปลี่ยนทั้งในหน้าเว็บไซต์และ URL ไปพร้อม ๆ กัน
7. Featured image และ Alt Text มีครบไหม สมบูรณ์หรือเปล่า
มีการใส่รูปภาพที่หน้าปกบทความเพื่อเพิ่มจุดดึงดูด เพราะเป็นจุดที่ผู้ใช้งานจะดูเป็นพิเศษ และควรทำภาพหน้าปกให้เป็นคอนเซปต์เดียวกับบทความ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเจาะกลุ่มนักธุรกิจ รูปภาพควรสื่อถึงอะไรที่เป็นเป้าหมาย จับต้องได้จริง โทนสีมีความสุขุม จริงจัง แต่ก็ไม่มากเกินไปจนรู้สึกอึดอัด
นอกจากนี้หากคอนเทนต์ไหนมีการใส่รูปภาพประกอบลงไปด้วย ถ้ายิ่งเป็นรูปภาพแบบ Original จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่ Google จะได้จัดอันดับได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่คุณใส่รูปภาพลงไปแล้วควรใส่ Alt text Description และใส่ Keyword ลงไปในภาพเหล่านั้นให้ครบทุกภาพด้วย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ในหน้า Post ของ WordPress
8. ตรวจสอบ Duplicate content และ Thin content (คอนเทนต์ที่มีจำนวนตัวอักษรน้อยมาก ๆ)
ที่อยากจะบอกก็คือ Google มักไม่ชอบคอนเทนต์ที่เกิดจากการทำซ้ำ (Duplicate content) เอามาก ๆ และอาจทำให้ตกอันดับได้ ส่วนวิธีค้นหาก็ง่ายแสนง่ายครับ ผมแนะนำเป็นเว็บไซต์เหล่านี้ copyscape หรือ siteliner ไว้เพื่อช่วยในการตรวจสอบ แล้วกรอก URL ได้เลย
แต่หากบังเอิญตรวจจับได้ว่ามีการ Duplicate เกิดขึ้น อาจเกิดได้หลายกรณี
- ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีประโยค soft sell อยู่ในคอนเทนต์และต้องใช้คำในท่อนนี้ในทุก ๆ หน้าของเว็บไซต์ ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะยังไงคุณก็ต้องใช้ในการขายสินค้าอยู่แล้ว สามารถทิ้งประโยคนั้นไว้ได้เลย แต่ถ้าหากยังกังวลลอง Rewrite ในแต่ละตอนเทนต์ดูก็ได้
- มีการขโมยเนื้อหาจากบทความอื่นมาแปะเลย โดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา อันนี้ Google จะมองว่าเป็นคอนเทนต์ไร้คุณภาพได้ ทางที่ดีควรใส่เป็น External Link ไว้เป็นแหล่งอ้างอิงให้ หรือทำการ Rewrite คอนเทนต์ใหม่ให้เป็นภาษาของตัวเองจะดีกว่า แต่ดีที่สุดคือการเขียนจากประสบการณ์ตรง
- เว็บไซต์ของคุณเป็น Original คอนเทนต์แจกจ่ายให้เว็บไซต์อื่นรับคอนเทนต์คุณไปเขียนเพิ่ม ซึ่งบางท่อนของคอนเทนต์อาจมีเนื้อหาซ้ำกันได้ วิธีแก้คือให้เว็บไซต์ที่ได้เนื้อหาของเราไปปรับเปลี่ยน Canonical Tags เชื่อมต่อไปยังคอนเทนต์ Original เพื่อลดการเกิดเนื้อหาซ้ำ แต่ดีที่สุดคือการใส่ External Link เชื่อมกลับมายัง Original เพราะ Canonical ไม่สามารถตั้งให้ลิงก์กลับมาได้
นอกจากปัญหาด้าน Duplicate แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องคอนเทนต์ที่สั้นหรือมีจำนวนคำน้อยเกินไปจน Google ไม่สามารถประเมินคุณภาพได้ด้วย แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่าคำน้อยไปล่ะ? คำตอบก็คือเว็บเพจที่มีคำไม่ถึง 200 คำ ซึ่งน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ที่ได้รับการจัดอันดับสูง ๆ แล้ว ส่วนโปรแกรมสำหรับตรวจเช็ก Word counter ผมแนะนำเป็นตัวนี้ wordcounter เลยครับ
9. ตรวจสอบความเร็วการโหลดในแต่ละหน้า
เวลาคลิกเข้าไปอ่านคอนเทนต์ที่น่าอ่านมากเราก็อยากจะให้หน้าเว็บไซต์มันโหลดเร็ว ๆ แต่ดันกลายเป็นว่าหน้าเว็บนั้นโหลดช้าเกินจนรู้สึกหมดสนุกไม่อยากอ่านต่อแล้ว จึงกดออกกลายเป็นเพิ่มค่า Bounce rate อีก นี่คือตัวอย่างของการที่เว็บไซต์คุณไม่ได้ทำการทดสอบ Page Speed ก่อน ทำให้ผู้ใช้งานไม่อยากใช้งานต่อและ Google เองก็ไม่จัดอันดับด้วย ฉะนั้นเราควรมาเริ่มตรวจสอบความเร็วหน้าเว็บกันดีกว่า คลิกลิงก์ Google PageSpeed Insights หรือ GTmetrix เป็นต้น
10. ตรวจสอบข้อผิดพลาดเชิงโครงสร้างของข้อมูล (Structured Data)
หัวข้อนี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์หรือหน้าเพจไหนที่เป็นร้านค้าออนไลน์ควรมีการวางโครงสร้างข้อมูลที่ตายตัว ให้ผู้ใช้งานจับจุดได้ตรงประเด็น ตัวอย่างคอนเทนต์ที่ควรมีโครงสร้างของข้อมูลที่ดีและมีคุณภาพต้องมี
- รีวิวจากผู้ใช้งานจริง
- ข้อมูลสินค้า
- อีเวนต์ต่าง ๆ (การออกบูธ ออกโปรโมชั่น ส่วนลดเฉพาะวันสำคัญ เป็นต้น)
วิธีตรวจสอบข้อมูลที่มีโครงสร้างเว็บไซต์คลิกลิงก์ Google Structured data testing tool คลิกที่เว็บไซต์ Schema.org โปรแกรมจะประมวลผลโครงสร้างและออกผลลัพธ์ให้
11. วิเคราะห์เส้นทางเข้าสู่เว็บไซต์แบบ Organic Search
ในหัวข้อนี้จะใช้ Google Analytics เป็นเครื่องมือหลักในการดูผลภาพรวมทั้งหมด ช่วยตรวจสอบและแก้ไขเว็บไซต์ของคุณ เมื่อเข้ามาในเว็บ Analytics แล้วคลิก Acquisition > Overview > เลื่อนลงมาจนเจอตาราง คลิกหัวข้อ Organic Search เสร็จแล้วคลิก Landing Page ตามนี้
หลังจากนั้นก็เริ่มตั้งค่าระยะการตรวจสอบให้ไกลขึ้นไปอีกอาจจะนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าคอนเทนต์ของคุณโพสต์มานานแค่ไหนแล้ว โดยคลิกที่ช่อง Month และ Week ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบในภาพรวมว่าคอนเทนต์ของเรากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง จากรูปภาพที่ปรากฏนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเข้ามาอ่านคอนเทนต์กันในวันที่ 30 – 31 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันทำงาน ส่วนวันที่ 28 – 29 เป็นวันหยุด และคอนเทนต์กำลังเข้าสู่ช่วงขาลงในช่วงระหว่างวันที่ 1 – 2 กันยายนที่ผ่านมานั่นเอง
12. อัปเดตเพจไม่ให้เกิน 10 อันดับแรก
เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรให้เว็บไซต์ของเราหลุดอันดับ 10 เว็บไซต์แรกของ Google หรือหลุดออกจากหน้าแรกไป ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจสอบการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ว่าอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ แนะนำโปรแกรมตรวจสอบอันดับและ Keyword ได้แก่ ahrefs.com หรือ checkpagerank
13. วิเคราะห์โปรไฟล์ใน Backlink
Backlink คือการเชื่อมเนื้อหาคอนเทนต์เราเข้ากับเว็บไซต์ของเจ้าอื่น ซึ่งจะแสดงให้ Google เห็นว่ายิ่งเรามี Backlink มากเท่าไหร่แปลว่าเราได้รับการยอมรับมากขึ้นเท่านั้น มีโอกาสที่จะได้คะแนนการจัดอันดับในหน้าเว็บนั้นมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาดูคุณภาพของ Backlink ที่เชื่อมกลับมาหาเราด้วย โดยคุณสามารถตรวจสอบ Backlink ได้ฟรีที่ ahrefs ซึ่งจะจัดอันดับ Backlink ที่มีคุณภาพมากที่สุด รวมไปถึงการจัดอันดับ URL ด้วย
14. มองหาลิงก์ที่ผิดพลาดหรือ 404 Error
คงไม่ดีแน่หากผู้ใช้งานกดเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณแล้วพบว่า “อ้าว! มันไม่มีหน้าเว็บนี้นี่” แล้วพวกเขาก็กดออกไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งแน่นอนครับหากเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นมากับเว็บไซต์คุณแล้วล่ะก็ นับว่าเป็นกรณีเร่งด่วนเลยก็ว่าได้ ในหัวข้อนี้ผมจะมาสอนวิธีการหา Page 404 Error กัน ส่วนสาเหตุการเกิด Error มีดังนี้ครับ
- สร้างเว็บใหม่ทับ URL เก่า ทำให้ Google ลบคอนเทนต์เก่าทิ้งแล้วใส่อันใหม่เข้ามาแทน แต่ Title กับ Description ของคอนเทนต์เดิมยังค้างอยู่ในหน้าผลการค้นหา เมื่อกดเข้ามาก็หาคอนเทนต์นั้นไม่เจอแล้ว
- สับเปลี่ยนตัว Slug เป็นภาษาอื่น จากไทย – อังกฤษ หรือ อังกฤษ – ไทย ทำให้ลิงก์เดิมที่ไปใส่ไว้ใน Backlink ของเว็บไซต์อื่นเกิดเสีย
วิธีการค้นหา 404 ก็ง่ายมากแค่คลิกลิงก์บน Google Search แล้วพบกับความว่างเปล่าพร้อมข้อความว่า “404 Page Not Found” และส่วนหัวของ Title ก็ขึ้นว่า “Error 404 (Not Found)!!!” อะไรแบบนี้ หรือถ้าการไล่กดทีละหน้ามันนานเกินไป แต่เรามีวิธีที่ง่ายกว่า
เข้า Google Analytics > คลิกหมวด Behavior > Site Content > All Pages > เลือก Page Title > พิมพ์ “404” หรือ “Page Not Found” ตามขั้นตอนในรูปนี้เลย
จากรูปจะเห็นว่าไม่มีหน้าเว็บไหนที่เป็น 404 Error เลย นับว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าหากของใครที่ขึ้น 404 Error ให้แก้ตามนี้ครับ
- สำหรับกรณีแก้ Slug จากไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย ให้ทำ 301 Redirect โดยใช้ปลั๊กอินใน WordPress แก้ URL แล้วนำ URL ที่แก้ไปใส่ใน Google Search Console
- URL ที่เราลบทิ้งไปแล้วไม่ต้องการใช้อีกให้ทำ 410 Content Deleted เลยครับ
15. ตามหา Content Gaps
Content Gaps คือช่องว่างของ Keyword ของคู่แข่งที่ถูกจัดอันดับได้สูง / ต่ำกว่าของคุณ ง่าย ๆ ให้นึกถึงการแข่งขันโอลิมปิก คู่แข่งของคุณอาจได้ที่ 1 เหรียญทอง ส่วนคุณก็อาจได้ที่สามเหรียญทองแดง เท่ากับว่าคุณมีช่องว่างตรงกลางระหว่างคุณกับคู่แข่งเป็น “เหรียญเงิน” ตรงนั้นล่ะที่เรียกว่า Content Gaps ส่วนเหรียญก็คือ Keyword ที่จะถูกใช้จัดอันดับคอนเทนต์นั่นเอง
โปรแกรมที่ใช้ในการทำ Content Gap มีมากมายให้เลือกในหน้าผลการค้นหาทั้ง Spyfu และ SEMrush แต่ในที่นี้เราจะใช้โปรแกรม SEMrush ในการค้นหาและเปรียบเทียบคู่แข่ง โดยหัวข้อที่เราจะใช้แบ่งออกเป็น Keyword Gap และ Backlink Gap (เว็บไซต์นี้เสียค่าสมาชิกเพื่อดูเนื้อหาเพิ่มเติมและจำกัดจำนวนการเข้าชมต่อครั้งสำหรับเข้าใช้งานฟรี กรุณาคิดให้รอบคอบก่อนคลิก)
นี่คือตัวอย่างหน้าตาการใช้งาน Keyword Gap เมื่อเปรียบเทียบกับเว็บไซต์คู่แข่ง ในกรอบสีเหลืองจะมี Keyword แยกย่อยให้เลือกทั้งคำที่เว็บไซต์คุณกับคู่แข่งมีเหมือนกันรวมไปถึงคำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่คู่แข่งคุณอาจมี แต่คุณไม่มี ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าเว็บไซต์คู่แข่งคุณดียังไง แนะนำให้เปิดหน้าเว็บของเขากับของคุณเปรียบเทียบกันทั้งคู่ทั้ง Keyword ที่ใช้ รวมไปถึงการนำเสนอ ความแตกต่างของสินค้า การจัดวางหน้าว่าใช้งานง่าย-ยากหรือไม่ เป็นต้น
การใช้งาน เข้าโปรแกรม SEMrush > คลิกหัวข้อ Keyword Gap บนแถบทางซ้าย > ใส่ URL ของคุณและคู่แข่ง
ต่อไปจะเป็นการหา Backlink Gap
จากกราฟเราจะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับ Backlink ของคู่แข่ง เรายังห่างชั้นกันอยู่มาก จึงต้องมีการเปรียบเทียบ Backlink ของเรากับของคู่แข่งด้วยอยู่สม่ำเสมอ ในกรอบสีเหลืองคือหมวด Backlink ในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านที่ดีที่สุด ควรปรับปรุง และหมวดที่เป็นเอกลักษณ์ที่สุดทั้งที่เป็นของเว็บไซต์เราเองและของเว็บไซต์คู่แข่ง โดยคลิกที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ของคู่แข่งในกรอบสีแดง โปรแกรมจะทำการแสดงผลจำนวน Backlink ของแต่ละเว็บไซต์ขึ้นมาให้ ทีนี้พอคุณเห็นความแตกต่างของทั้ง Keyword Gap และ Backlink Gap แล้ว ก็เดินหน้าแก้ไขเลย
16. ควบคุมการทำ SEO Audit อย่างสม่ำเสมอ
หลังจากที่เราทำการตรวจสอบเว็บไซต์กันไปเกือบหมดทั้งเว็บแล้ว นี่จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะต้องทำ นั่นก็คือหมั่นตรวจสอบคอนเทนต์ต่าง ๆ ในเว็บไซต์อยู่ตลอด เพราะในปี ๆ หนึ่งเราจะสร้างคอนเทนต์เอาไว้มากมายที่มีประสิทธิภาพในการแสดงผลต่ำ และหน้าเว็บเหล่านี้มีสิทธิสูงมากที่จะดึงเว็บไซต์หลักของเราไปจัดอยู่ในอันดับท้าย ๆ โดยมีวิธีการทำแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้น
- หาเพจที่มีคุณภาพต่ำและไม่ได้ช่วยสร้าง Organic Search มายังหน้าเว็บไซต์มากนัก
- ถ้ายังสามารถนำมาปรับปรุงได้อยู่ให้ดำเนินการแก้ไขตาม 15 ข้อแรกและปล่อยลง Google ทันที
- สุดท้ายถ้าเกินเยียวยาแล้ว ให้ทำการลบคอนเทนต์นั้นทิ้งไปและ Redirect 301 ไปยังหน้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแทน
เท่านี้ก็เสร็จแล้ว! เป็นอย่างไรกันบ้างครับ บทความนี้อาจยาวซักนิดเพราะจำเป็นต้องใช้ทั้งเวลาและขั้นตอนในการดำเนินการหลายขั้นตอน แต่ผมเชื่อว่าหลังจากที่ได้ลองปรับปรุงคอนเทนต์แล้ว หน้าเว็บไซต์ของคุณจะได้รับการจัดอันดับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนแน่นอน
ก็เหมือนกับ Cotactic Digital Marketing Agency เราคือผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing Agency ในไทย หากคุณไม่มีเวลาทำ SEO Audit ที่ต้องใช้เวลานานแล้วล่ะก็ สามารถปรึกษา Cotactic ได้เสมอ เราพร้อมให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดรวมถึงบริการรับทำเว็บไซต์ WordPress ให้กับคุณ
——————————————————————–
สนใจติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
——————————————————————–
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล:
https://boldorange.com/news/what-is-an-seo-audit/