click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

หากคุณเป็นคนที่ทำงานอยู่ในธุรกิจการตลาดสมัยใหม่นี้ คุณก็ควรเข้าใจ ” วิธีการทำ Google Ads และบริการรูปแบบต่าง ๆ โที่จะมาช่วยเสริมธุรกิจของเราให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพราะ Search Engine ที่มียอดผู้เข้าใช้งานมากที่สุดของโลก อ้างอิงจากข้อมูลสถิติของเว็บไซต์ Oberlo ระบุว่า Google ยังคงครองอันดับเจ้าตลาด SEM ในแพลตฟอร์มออนไลน์กว่า 91.9% ในเดือนมกราคมปี 2022 นี้เอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เอเจนซี่การตลาดออนไลน์หลายแห่งเลือกที่จะใช้ Google Ads เป็นส่วนหนึ่งในการทำโฆษณาเพื่อหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายที่สุด

 


 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

วิธีการทำ Google Ads สำคัญอย่างไร? ช่วยให้หาลูกค้าใหม่ได้จริงหรือ?

Google AdWords  หรือ Google Ads คือการทำโฆษณาผ่าน Search Engine ของ Google อัลกอริทึมจะจับคู่ Keyword ที่ผู้ใช้ค้นหาเข้ากับคำบนโฆษณาที่เขียนขึ้นจากทั้งใน Landing Page และข้อความโฆษณาโดยปกติแล้วส่วนที่เป็นโฆษณาหรือ SEM จะปรากฏอยู่ในอันดับบนสุดถัดมาถึงจะเป็นคอนเทนต์แบบ SEO เพื่อให้ผู้ใช้งานให้ความสนใจกับโฆษณาก่อนเป็นอย่างแรก

ซึ่งตัวโฆษณาสามารถสร้าง CTA กำหนดให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมกับโฆษณาในแบบต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มยอดการโทร ยอดการเข้าชมเว็บไซต์ หรือกรอกข้อมูลติดต่อกลับเพื่อให้ปิดการขาย โดยที่ผู้ลงโฆษณาสามารถกำหนดงบประมาณ การออกแบบแคมเปญ และควบคุมการยิงโฆษณาผ่านหลังบ้าน Google Ads ได้ด้วย ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการทำ Google Ads เราไปทำความรู้จักกับบริการโฆษณารูปแบบต่าง ๆ กันก่อน เพื่อจะได้เลือกการทำโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น

 

google Ads

 

บริการของ Google Ads มีอะไรบ้าง?

 

Google Ads

ที่มา: https://martech.org

 

1. Google Search

เป็นบริการของ Google แบบปกติ ทั่วไป เมื่อมีคนพิมพ์คำค้นหาลงในช่องค้นหา Google จะจับคู่ผลลัพธ์ที่มี Keyword ใกล้เคียงที่สุดขึ้นแสดงผลให้ผู้ใช้งานเห็น แตกต่างจากแบบ SEO คือจะมีการ Bid หรือการประมูลซื้อพื้นที่โฆษณาให้กับแบรนด์ลงบนข้อความโฆษณาส่วนนี้คุณต้องเขียน Headline และ Description โดยใช้ Keyword ที่ครอบคลุมการค้นหาให้มากที่สุด เพื่อให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับที่สูงขึ้น เพราะลิงก์ที่อยู่ลำดับบนจะได้ยอด Click Through Rate สูงกว่าลิงก์ที่อยู่ด้านล่าง

 

Google search

2. Google Display Network (GDN)

เป็นโฆษณาที่เห็นได้มากพอ ๆ กับ Google Search แต่จะเพิ่มลูกเล่นมากกว่าโดยการแทรกรูปภาพสินค้าหรือวิดีโอเข้าไปในแบนเนอร์ ซึ่งก็มักจะปรากฏในหน้าค้นหาของ Google และในหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เปิดพื้นที่ให้ลงโฆษณาได้ ซึ่งก็ต้องเลือกเว็บไซต์ที่จะนำไปลงอีกที โดยแต่ละเว็บที่จะนำไปลงต้องเป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการที่คุณมีมากที่สุดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดที่สุด ยกตัวอย่าง บริษัทที่ให้บริการเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ ควรเลือกทำ GDN กับเว็บไซต์ที่พูดถึงเรื่องเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ แก็ดเจ็ตอุปกรณ์ไอที เป็นต้น

ข้อดีของการทำ GDN คล้ายกับการทำ Backlink ที่ฝากคอนเทนต์ไว้กับเว็บไซต์อื่น แต่ต่างตรงที่ GDN จะถูกนำเสนอโดยใช้รูปแบนเนอร์แทน ไม่ต้องเสียเวลาเขียนคอนเทนต์ใหม่ ไม่ต้องเสียเงินซื้อพื้นที่ทำ Backlink อาศัยเพียงแค่การ Bidding ทั้งยังช่วยสร้าง Brand Awareness ให้ผู้ใช้งานเห็นผ่านตามากขึ้น แสดง Key Message ส่งตรงถึงผู้ใช้งานได้ดี

อย่างไรก็ตามความยากของ GDN คือตัวแบนเนอร์จะต้องออกแบบให้เป็นจุดสนใจ มีความสวยงาม และสื่อสารได้ตรงจุดในแบนเนอร์เดียว เพื่อสร้าง Traffic ให้เยอะที่สุด

 

Google Display Network

3. YouTube Ads

ใครที่ไม่ได้สมัคร YouTube Premium ก็ต้องพบเจอกับโฆษณาคั่นแทบทุกนาที และบางโฆษณาก็กินเวลาหลายวินาทีกว่าจะกดข้ามได้ หรือบางทีก็กดไม่ได้ด้วยซ้ำ โฆษณาเหล่านี้คือผลจากการทำ YouTube Ads ที่เอารูปแบนเนอร์หรือวิดีโอลงไปโฆษณาบนยูทูบ หลัก ๆ ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นผ่านตามากขึ้น สร้าง Brand Awareness สามารถพบเจอได้ในยูทูบแบบปกติทุกคลิป แต่วิธีการจัดหมวดหมู่โฆษณาว่าแบนเนอร์ไหนควรไปอยู่ในคลิปไหนมักเลือกจากช่องของ Influencers ที่มีความสนใจตรงกับสินค้าของแบรนด์ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ คลิปที่มียอดเข้าชมสูง ๆ ก็เป็นที่หมายตาของแบรนด์ด้วยเช่นกัน หรือจะฝากโฆษณากับช่องที่มีกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ติดตามอยู่ก็ดีไม่แพ้กัน

 

YouTube Ads

4. Mobile App Ads

เรามักมีภาพจำมาเสมอว่า Google โดยปกติจะให้บริการบนเว็บไซต์แพลตฟอร์มเป็นส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว Google ยังให้บริการผ่านแอปพลิเคชันด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ต้องเป็นแอปฯ ที่เป็นลูกข่ายของ Google Partner ถึงจะใช้งานโฆษณาแฝงนี้ได้ พบได้บ่อยในระบบ Android อย่าง Google Play Store (ส่วนระบบของ Apple เป็นระบบแยกของตัวเองไม่ได้เป็นเครือข่ายของ Google จึงหาแอปฯ Google ได้น้อยกว่า) ซึ่งทุกแอปฯ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดใน Play Store ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของ Google ที่สามารถแฝงโฆษณาลงไปในแอปฯ ได้แบบเนียน ๆ ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นแอปฯ ฟรีมากกว่า ยกตัวอย่าง เกมฟรีที่พอเล่นไปสักพักก็จะมีโฆษณาเด้งขึ้นมาให้ซื้อไอเทมหรือเวลาตายก็โฆษณาขึ้นเพื่อชุบชีวิตอย่างนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำ Mobile Apps Ads ด้วยเช่นกัน

 

Mobile Apps

5. Google Shopping Ads

เคยไหม? เวลาพิมพ์ค้นหาสินค้าบางชิ้นที่อยากได้บน Google มันก็จะขึ้นรายการสินค้าน่าสนใจขึ้นมาให้ทันทีเลย นี่เป็นผลจากการทำ Google Shopping Ads นี่แหละ การโฆษณาแบบนี้จะขึ้นแสดงรายการสินค้าพร้อมราคาและแหล่งซื้อสินค้าบนบรรทัดแรกของหน้า Search ให้ดูเป็น Pre-Screen ก่อนเข้าไปดูรายละเอียดในหน้าเว็บไซต์ การโฆษณาแบบนี้จะเหมาะกับแบรนด์ที่มีร้านค้าแบบขายปลีก และไม่จำเป็นต้องใช้ Keyword แบบเดียวกับ Google Search เพราะลูกค้าที่จะหาสินค้าเหล่านี้เจอมักเป็นลูกค้าที่มีความสนใจและศึกษาสินค้ามาอยู่ก่อนแล้ว จึงมักค้นหาสินค้าเหล่านั้นได้ลึกถึงระดับชื่อรุ่น ปีที่ผลิตกันเลยทีเดียว ดังนั้น Google Ads จะเก็บข้อมูลจากหน้า Landing Page ของสินค้านั้นแล้วนำไปวิเคราะห์อีกทีว่าชิ้นไหนควรขึ้นมาอยู่ในหน้า Shopping Ads บ้าง ซึ่งการทำโฆษณาแบบให้เห็นรูปตัวอย่างสินค้าพร้อมราคาไปเลยตั้งแต่แรกแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้นกว่าการกดเข้าเว็บไซต์แบบเดิม

 

Google Shopping Ads


 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

6. โฆษณาแบบ Remarketing

เป็นการเรียกลูกค้าที่สนใจสินค้าของคุณแต่ยังไม่มั่นใจหรือยังไม่ได้กดซื้อสินค้าในทันที ทำให้เส้นทางถูกหยุดอยู่ที่หน้าจ่ายเงิน Remarketing จะช่วยย้ำเตือนลูกค้าให้รู้ว่า “ยังมีสินค้าที่กดเข้ามาดูแล้ว แต่ยังไม่ได้ซื้อเลยนะ กลับเข้ามาดูเราอีกสิ เราอยู่ตรงนี้” พอถึงจุดนี้ลูกค้าก็จะเห็นการ Remarketing อยู่เรื่อย ๆ ย้ำความจำในทุกช่วงเวลาให้กลับมาซื้อสินค้าชิ้นนี้ให้ได้จนกว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือไม่ก็เปลี่ยนหัวข้อการค้นหาจนอัลกอริทึมของ Google เลิกสนใจไปเองเลย

 

กลยุทธ์ Remarketing ก็เหมือนกับการง้อลูกค้าเรื่อย ๆ แบบเงียบ ๆ โดยที่ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เข้าหาลูกค้า เพราะลูกค้าเหล่านี้คือกลุ่ม Lead ที่ทางแบรนด์ได้วาง Buyer Personas มาแล้วอย่างดี รู้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน ซึ่งข้อมูลที่จะจับคู่ว่าใครควรจะให้แสดงผลแบบ Remarketing ก็มาจากอัตราการคลิกเข้าหน้าเว็บไซต์ การคลิกดูสินค้า Bounce Rate เป็นต้น ถ้ามีแนวโน้มว่าลูกค้าที่เข้ามาดูอยากซื้อแน่ ๆ แต่กดออกไป ช่วงนี้จะเป็นหน้าที่ของ Google Remarketing ที่จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการในการขายนั่นเอง

 

วิธีการทำแคมเปญโฆษณาผ่าน Google Ads

1. สมัครเปิดบัญชีกับ Google Ads ก่อน แต่ถ้ามีบัญชีอยู่แล้วให้เข้าสู่หน้า Google Ad คลิกเลือก Campaign > กดบวกสีน้ำเงิน > เลือก New Campaign

 

วิธีการทำ Google Ads

 

2. Google จะให้เราเลือกว่าจะทำการโฆษณาแบบไหน เพิ่มยอดขาย เพิ่ม Lead เพิ่มจำนวนผู้เข้าชม สร้าง Brand Awareness และอื่น ๆ ทั้งหมด 8 แบบ เลือกตามจุดประสงค์แคมเปญที่คิดเอาไว้

 

google ads

 

3. เลือกประเภทแคมเปญตามกลยุทธ์ที่วางไว้มีให้เลือกทั้งหมด 6 รูปแบบ

 

google ads

 

4. เลือกเป้าหมาย CTA และตั้งชื่อแคมเปญ

 

google ads

 

5. เลือก Budget และ Bidding สำหรับประเทศไทย Budget ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 300฿ ส่วน Bidding เริ่มที่ 1฿ ได้เลย

 

google ads budget

 

6. ในหน้าตั้งค่าแคมเปญ Google Ads จะให้เลือกว่าโฆษณาจะไปแสดงบนหน้าไหนระหว่าง Search บนหน้าของ Google เองหรือ Display Network ข้างล่างให้เลือกพื้นที่ที่จะยิงโฆษณามีให้เลือก 3 แบบ คือ

  • ทุกประเทศ ทุกพื้นที่
  • เฉพาะในไทย
  • เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น ถัดมาเลือกภาษาที่ผู้ใช้งานจะใช้ค้นหา

 

 

7. เลือกหมวดหมู่ลูกค้าที่จะเข้าถึง มีทั้งแบบ Search ที่เรากดเลือกเองได้เลย หรือถ้าไม่มั่นใจก็ไปแบบ Browse ที่จะลิสต์คำถามเอาไว้ว่าเราต้องการจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบไหน

ส่วนข้างล่างจะให้เลือกว่าจะใช้แบบ Targeting ตีวงแคบลูกค้าเข้ามาช่วยให้ยิงโฆษณาได้แม่นยิ่งขึ้น หรือ Observation ที่ยิงโฆษณาแบบวงกว้าง เหมาะสำหรับออกผลสำรวจหรือหากลุ่มลูกค้าที่เข้าถึงได้หลายกลุ่ม

 

google ads

 

8. มาถึงหมวดการทำ Ad Group ท่อนบนใส่ลิงก์ที่จะไปยังหน้า Landing Page ข้างล่างให้ใส่ Keyword ที่ได้ไปศึกษามาแล้ว เลื่อนลงมาข้างล่างคือส่วนของการทำ Google Responsive Search Ads หรือ RSA ในส่วนของทริคการทำจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

 

google ads

Google Responsive Search Ads

ตัวอย่างหน้า Google Responsive Search Ads


 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

ทริคเพิ่มประสิทธิภาพโฆษณา Google Ads

  • Keyword ที่ใช่โดนใจลูกค้า

อย่างแรกคือคุณต้องหา Keyword ให้เจอก่อนครับ เพราะ Keyword คือแกนหลักของระบบ Search Engine ที่จะจับคู่คำที่คุณค้นหาให้ตรงกับโฆษณาหรือคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับ Keyword ที่คุณใส่ลงไปนั่นเอง ส่วนคำถามที่ว่าคุณจะหา Keyword ได้จากที่ไหน ให้ดูที่สินค้าของคุณก่อนว่าขายอะไร Pain Point และ Solution ที่คุณมี มีอะไรบ้าง เลือก Keyword มาสักคำหนึ่งที่คิดว่าผู้ใช้งานจะต้องพิมพ์คำคำนี้ลงใน Google แน่นอน เข้าไปที่ Google Keyword Planner เขียนคำที่คุณคิดได้ลงในนั้น ให้คิดเผื่อไว้หลาย ๆ Keyword แล้วค่อยนำมาเปรียบเทียบดูกันอีกที คำไหนที่ค่า Average Search สูง Competition ต่ำก็ให้เลือกคำนั้นมาเป็น Keyword หลักครับ ยกตัวอย่าง Keyword คำว่า “คอนโด” ที่มีจุดเด่นตรงที่ราคาไม่แพง จะซื้อหรือจะเช่าก็ได้ และนี่คือผลการค้นหาที่เจอ

Google Keyword

 

จากรูปจะเห็นได้ว่า Keyword คำว่า “คอนโด” และ “คอนโดใกล้ฉัน” มีค่า Average Search สูงลิ่ว และค่า Competition อยู่ในระดับต่ำจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะใช้ Keyword นี้ในการทำ Google Ads รองลงมาก็คือกลุ่มคำว่า “เช่าคอนโด”

ทีนี้คุณก็ใส่ Keyword ที่ว่าเข้าไปบน Google Headline และ Description จะช่วยให้ Google จัดอันดับ SEM ของคุณได้ง่ายขึ้น เปิดช่องทางให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจคลิกเข้ามาดูได้

 

Google Keyword

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ Broad Match

Broad Match จะแสดง Keyword ที่ใกล้เคียงทุกแบบเท่าที่จะหาได้ อาทิ คำสะกดผิด การวางคำผิด หรือคำที่มีวลีพ่วงท้ายมาด้วย หรือคำที่สะกดเหมือนกันแต่ความหมายอื่น ซึ่งจะทำให้การค้นหาแบบเจาะจงและยอดการค้นหาที่จะส่ง Traffic เข้ามาเว็บไซต์คุณยากขึ้นไปด้วย Google Ads จะไม่รู้ว่าโฆษณาของคุณควรจะถูกจัดไปอยู่ในหมวดไหนดี เพราะ Keyword ของคุณกว้างมาก

ดังนั้นจึงควรใช้คำประเภท Phrase Match หรือ Exact Match ที่จะเป็นกลุ่มคำวลีหรือกลุ่มคำที่จะไม่ปรากฏคำใกล้เคียงอื่น ๆ หรือส่วนขยายเพิ่มเข้ามาใน Keyword ด้วย ซึ่งจะให้ผลการค้นหาที่แม่นยำกว่า

 

  • ปรับโครงสร้างแคมเปญ เพิ่มความหลากหลายเอาไว้ใน 1 กลุ่ม

จากข้อแรกสมมติว่าคุณคิด Keyword ออกมาได้ร้อยแปดพันคำแล้ว พอถึงขั้นตอนการสร้างแคมเปญ จัด Ad Group แล้วคุณจับ Keyword ทุกคำมายำรวมกันใน Ad Group เดียว ถือว่าเป็นการทำโฆษณาที่พลาดอย่างมหันต์เลยล่ะ เพราะมันจะทำให้ Google Ads วัดผลโฆษณายากขึ้นไปอีก อัลกอริทึมดูไม่ออกว่าคุณจะโฟกัสที่คำคำไหน อันดับโฆษณาของคุณจะถูกปรับต่ำลง ยอด Lead ที่จะเข้ามาก็น้อยตามลงไปด้วยหรืออาจจะไม่มีเลย เพราะแม้แต่ลูกค้าเองก็จับทิศจับทางโฆษณาไม่ถูก

วิธีที่ดีที่สุด คือปรับโครงสร้างโฆษณาแบ่งตาม Keyword / Pain Point / Solution / USP ของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจนเป็นหมวดหมู่แน่ชัด จะทำให้ Google Ads เข้าใจความหมายของโฆษณาแต่ละชิ้นได้ดีขึ้น จัดอันดับโฆษณาได้ง่ายกว่าและลูกค้าก็จะไม่งง ไม่ปวดหัวอีกด้วย

 

  • Bidding หาจุดที่ต่ำที่สุด

การ Bid ในราคาที่สูงแน่นอนว่าโอกาสที่โฆษณาของคุณจะจัดอันดับสูงก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน แต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ เพราะอัลกอริทึมยังคงประเมินการจัดอันดับตามคุณภาพของโฆษณากับ Keyword อยู่ดี ฉะนั้นก่อนยิงโฆษณาควรกำหนดงบประมาณ PPC ให้ชัดเจน ไหวเท่าไหร่เอาเท่านั้นแล้วหาโอกาส Bid ในราคาที่ต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนอยู่ในระดับที่สมควรแล้วก็ยิงโฆษณาได้

 

  • ตรวจสอบและปรับปรุง Landing Page

การขึ้น Headline และ Description โฆษณาบนหน้า Search Engine เปรียบเหมือนการสร้างประตูทางเข้าบ้านเท่านั้น ข้างในบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ข้างในก็ควรได้รับการตกแต่งให้สวยงาม น่าอยู่ การปรับปรุง Landing Page ก็เช่นกัน ถ้าหน้าที่คุณกดเข้ามาแล้วไม่มีคำบรรยายอะไรเลย มีแต่รูปอย่างเดียว ข้อมูลสินค้า หรือบริการสั้นมากจนสรุปใจความไม่เข้าใจ การจัดวางหน้าเพจไม่เหมาะกับอุปกรณ์ที่ใช่ ไม่เพียงแต่ลูกค้าที่กดเข้ามาจะกดออกแทบจะในทันที แม้แต่ Google เองก็จะจัดอันดับ Landing Page ของคุณไปอยู่ข้างล่างด้วย

พยายามใส่เนื้อหาให้ละเอียดมากขึ้น แทรก Keyword ลงไปในทุก ๆ ข้อความและรูปภาพ ใช้รูปภาพที่ชัดเจนเห็นชัด จัดเรียงหน้ากระดาษให้นำสายตา อ่านแล้วรู้ว่าต้องไปตรงไหนต่อ และเพิ่มปุ่ม CTA ให้ลูกค้าลองกดดูจะช่วยให้คุณหาลูกค้าใหม่และปิดการขายได้ดีขึ้น

 


 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

  • ทำ Responsive Search Ads เผื่อเอาไว้

Google Responsive Search Ads หรือ RSA คือกลุ่มคำหรือวลีที่คุณเป็นคนคิดขึ้นมาเองโดยจะแทรก Keyword ที่คุณไปศึกษามาเข้าไปด้วยเพื่อให้การอ่านดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะแทรกอยู่ทั้งใน Headline และ Description เมื่อคุณพิมพ์ประโยคเสร็จแล้ว Google Ads จะสุ่มเลือกกลุ่มคำที่เหมาะสมที่สุดและเข้ากันได้มากที่สุดให้คุณอ่านเป็นตัวอย่าง เพื่อที่คุณจะได้ปรับคำตามที่สมควร

 

Google RSA

 

จากภาพจะเห็นได้ว่าท่อน Headline จะใส่คำได้ทั้งหมด 15 ช่องและ Desceiption อีก 4 ช่อง หากสังเกตทางด้านหลังของแต่ละช่องจะเห็นหมุดสีฟ้าพร้อมตัวเลขระบุเอาไว้ นั่นคือหมุดที่เราจะระบุได้ว่าจะให้เอาประโยคไหนขึ้นก่อนเป็นอันดับแรกไล่ไปจนลำดับที่ 3 ส่วน Description ก็จะมีเหมือนกันแต่มีแค่ 2 ลำดับเท่านั้น ซึ่ง Google จะหยิบเอาแต่ละช่องมาเรียงเองตามความเหมาะสมจนได้เป็นชุด Text Ad ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่อัลกอริทึมเลือกให้

 

Google RSA bar

 

และทริคอีกอย่างนึงที่จะช่วยเขียน Text Ad ให้ง่ายขึ้น ให้เลื่อนไปที่ด้านบนสุดเราจะเห็นวงแหวนสีน้ำเงินและปุ่มเครื่องหมายถูกสีน้ำเงินให้ทำตามคำแนะนำนั้นจนกว่าเครื่องหมายถูกจะขึ้นครบ และวงแหวนขึ้นเต็มวง เพียงเท่านี้ Google Ads ของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

จากบทความข้างต้นคุณผู้อ่านก็พอได้เติมความรู้ ความเข้าใจแล้วว่า วิธีการทำ Google Ad และเทคนิคการทำงานเป็นอย่างไร  ซึ่งสามารถเห็นได้ว่าการโฆษณาผ่าน Google ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะมีระบบหลังบ้านที่คอยช่วยสอนและแนะนำการปรับค่าต่าง ๆ ใน Google Ads ให้ แถมยังเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้หลักพันล้านคน! เรียกได้ว่าแค่โฆษณาผ่าน Google ก็เอาอยู่แล้ว

สำหรับแบรนด์ใดที่กำลังวางแผนรุกตลาดออนไลน์ แต่ยังไม่มีความเข้าใจเพียงพอ ผมแนะนำให้มองหาเอเจนซี่การตลาดออนไลน์เอาไว้จะดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ต้องเปลืองแรง เปลืองงบในการฝึกพนักงานด้านการตลาดออนไลน์เสียใหม่ ในเมื่อคุณมีเจ้าหน้าที่การตลาดออนไลน์มาให้ทั้งทีมถึงที่บริษัท  หากอยากปรึกษาการทำโฆษณาผ่าน Google Ads ติดต่อ Cotactic เรามีบริการรับทำ Google Ads  พร้อมบริการรับทำเว็บไซต์ WordPress รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์และประเมินงบการตลาดให้ ฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย

 

——————————————————————–

 

ร่วมงานกับทีม Cotactic Media หนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การ หาลูกค้า ให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ

 

——————————————————————–

 

ติดต่อ

โทร.065-095-9544

Inbox: cotactic

Line@: @cotactic

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

RMF Model

RFM Model คืออะไร? ทำไมการแบ่งกลุ่มลูกค้าถึงสำคัญ

Personal Branding

Personal Branding คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญกับธุรกิจ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้