อีกแค่ 2 เดือนก็ใกล้จะเข้าสู่ปี 2022 กันแล้ว แต่ก่อนที่เราจะโบกมือบ๊ายบายปีนี้กันไป ผมขอสรุปเทรนด์การตลาดที่จะช่วยคุณตามหาลูกค้าของปี 2021 กันก่อน จากรายงานของ Fjord Trends 2021 เจ้าของแนวโน้มรายงานด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและดีไซน์มากว่า 14 ปี ได้สรุปเทรนด์ปีนี้เอาไว้ดังนี้ครับ
สรุปเทรนด์ปี 2021
จากความรุนแรงของโรคระบาดที่ส่งผลต่อเนื่องจนถึงปีนี้ (และอาจจะปีหน้าด้วย) ทำให้เทรนด์อย่างหนึ่งที่กลายมาเป็นความนิยมที่ไม่น่านิยมเท่าไหร่กับ
- Collective Displacement วิถีใหม่ห่างหน่อย เพราะห่วงที่เกิดจากกระแส New Normal ในช่วงเวลานี้ ส่งผลให้การใช้ชีวิต การทำงาน การเรียน การขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจทั้งหมดแทบจะหยุดชะงักในทันที ทำให้หลายแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดกันยกใหญ่ ผลักดันให้ต้องไปเจาะกลุ่มเป้าหมายผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ลดการหาลูกค้าแบบต่อหน้าลง
- DIY Innovation ในช่วงเวลาที่เม็ดเงินไม่ได้อยู่ในมือเราเยอะเท่าเมื่อก่อน การชัตดาวน์ในระบบสังคมแทบทุกภาคส่วนทำให้ขาดแคลนอุปกรณ์และของอุปโภคบางอย่าง ผู้คนจึงต้องดิ้นรนต่อสู้ คว้าทุกอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้แก้ขัดไปก่อน
- Sweet teams are made of this ส่งผลมาจากข้อ 1 และ ข้อ 2 จึงเกิดความเป็นทีมเวิร์กและการทำงานที่หลากหลาย ทั้งการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ประชุมงานจากที่ไหนก็ได้ หรือการผสมผสานการประชุมแบบ Hybrid เข้าไว้ด้วยกัน
- Interaction Wanderlust เทรนด์นี้เป็นที่มาของคำว่า “เที่ยวทิพย์” อย่างชัดเจน เพราะไหน ๆ ก็ต้องอยู่บ้าน การออกไปเที่ยวก็คงไม่ได้อยู่ในลิสต์รายการที่ต้องทำอย่างแน่นอน ผู้คนจึงต้องหันมาเสพติดหน้าจอกันมากขึ้น ดังนั้นการปรับปรุงดีไซน์เว็บไซต์ คอนเทนต์ ให้เพิ่มพูนประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้งาน คงจะเป็นอะไรที่แก้เหงาได้ไม่น้อยเลย
- Liquid Infrastructure ปัญหาในข้อแรกคือผู้คนลดการซื้อของที่ไม่จำเป็น จึงทำให้ความต้องการซื้อจากหน้าร้านลดต่ำลง ส่งผลให้ฝั่งที่ต้องการขายขาดการติดต่อกับลูกค้าไปโดยปริยาย ดังนั้นฝั่งขายจึงต้องสร้างอะไรที่มันลื่นไหลและตอบโจทย์ลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ อาทิ การกลับมาเปิดหน้าร้านใหม่อีกครั้ง ไม่ใช่เพื่อให้เข้ามาซื้อของ แต่เพื่อให้พนักงานเข้ามาบรรจุสิ่งสินค้าและจัดส่งต่างหาก
- Empathy challenge สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ ๆ ก็เริ่มเข้ามาแทนที่ ผู้บริโภคต่างคาดหวังให้แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักต่างเลือกข้าง แสดงจุดยืนของตัวเองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสดงความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจผู้บริโภค และวาง Position เพื่อซื้อใจผู้บริโภค
- Rituals lost and found การแพร่ระบาดทำให้เทศกาล หรือพิธีกรรมพื้นเมืองต่างหยุดชะงักโดยไม่มีทีท่าว่าจะได้รับการเยียวยาหรือไม่ ทั้งงานแต่ง งานศพ งานสงกรานต์ และงานปีใหม่ แบรนด์ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ให้ได้ คัดกรองปัญหาและเลือกตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้นให้ถูกต้อง
หรือสามารถติดตามดูเทรนด์การตลาดที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้ที่ Content Marketing Trend 2021
คาดการณ์! เทรนด์มาแน่ 2022
หลังการเปลี่ยนผ่านเทรนด์ในช่วงปี 2020 – 2021 ทำให้กระแสด้านดิจิทัลกลายมาเป็นที่นิยมในชั่วพริบตา สามารถสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งโลกราว 26.7 ล้านล้านเหรียญ หรือราว 904 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นหลักฐานชั้นเยี่ยมที่พิสูจน์ได้แล้วว่าการปรับตัวของภาคธุรกิจให้เป็นดิจิทัลจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
และในเดือนตุลาคมนี้ เหลือเวลาอีกแค่ 2 เดือนก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2022 กันแล้ว Cotactic จึงขอนำบทความคาดการณ์เทรนด์ปี 2022 เช็กลิสต์เทรนด์ไหนรอด เทรนด์ไหนน่าจะร่วงในปีหน้ากันครับ
-
ฉันรักเธอ Video game
จากการที่หลาย ๆ คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น อะไรก็ตามที่สามารถแก้เบื่อได้ในช่วงนี้ถือว่าดีไม่ใช่น้อย วิดีโอเกมก็เป็นหนึ่งในนั้น ทำให้เกิดสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานเป็นคนที่ชอบเล่นเกมเหมือนกัน เรียกว่า Digital Campfires คอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ที่รวบรวมเหล่าบรรดาแคสเกมเมอร์ หรือนักกีฬาอีสปอร์ตทั้งหลาย และเหล่าแฟนคลับที่ชื่นชอบในผลงานการแคสเกมเอาไว้ในที่เดียวกัน เหมือนกิจกรรมรอบกองไฟในค่ายลูกเสือยังไงยังงั้น ยกตัวอย่างเกมที่จัดอีเวนต์ขึ้นเล็ก ๆ ให้เหล่าแฟนคลับสามารถเข้ามาร่วมจอยเกมที่ตัวเองเล่นกับแคสเกมเมอร์ที่ชื่นชอบได้อย่าง Genshin Impact, PubG หรือ Fortnite เป็นต้น
-
ช้อปปิ้งบนโซเชียลมีเดียกลายเป็นเรื่องปกติ
จริง ๆ การช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรมากมาย เพราะก็มีให้เห็นมาตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดแล้ว เพียงแต่หลังการระบาดดันผลักดันให้การค้าขายออนไลน์ยิ่งบูมขึ้นไปอีก บรรดาพ่อค้าแม่ขายต่างก็ต้องเข้ามาใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อหาลูกค้าใหม่ ทำให้การค้าขายบนสื่อโซเชียลเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดกับธุรกิจ E-commerce มากขึ้น เพราะเข้าถึงง่าย ติดต่อง่าย แถมยังมีคอมมูนิตี้ของสินค้าแต่ละประเภทให้แลกเปลี่ยนความเห็นกันอีก ที่เราได้เห็นกันบ่อยก็คงจะเป็น Facebook / Instagram / Twitter / TikTok ที่เปิดโอกาสให้ในฟีเจอร์หมวด Business และการยิงแอด เป็นต้น
แต่ต้องไม่ลืมว่าแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันต่างก็มีกลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่เหมือนกันเสียหมด ดังนั้นก่อนที่จะเปิดหน้าร้านออนไลน์ของตัวเอง ควรศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของลูกค้าก่อนเปิดร้านจะทำให้เราเสียต้นทุนจำพวกยิงแอดไปได้มหาศาลเลยครับ
-
สินค้าเพื่อคนหนุ่มสาว Gen Z
Gen Z และ Alpha คือกลุ่มคนรุ่นล่าสุดที่เพิ่งเข้ามาใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และในปี 2020 กว่า 40% ของผู้บริโภคทั่วโลกต่างก็มาจากกลุ่มคน Gen นี้ ซึ่งสามารถสร้างเงินสะพัดให้กับเศรษฐกิจอเมริกาประเทศเดียวไปกว่า 150,000 ล้านเหรียญ หรือกว่า 5 ล้านล้านบาท นับว่าเป็นโอกาสใหม่ที่ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจต่างอยากหาลูกค้าใหม่จากคนกลุ่มนี้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคและข้อกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ต้องพิจารณาอีก คือ
- กว่า 9 ใน 10 ของกลุ่ม Gen Z ต้องการให้แบรนด์ที่ตัวเองชื่นชอบออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และแสดงจุดยืนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมอย่างกรณีของ #metoo และ #Blacklivesmatter เป็นต้น
- กลุ่ม Gen Z มีความกังวลใจและความไม่แน่นอนต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคมและการแพร่ระบาดที่ไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิต รวมไปถึงความกังวลในการก้ามข้ามเป็นวัยแรงงาน แต่กลับมีอัตราการว่างงานที่สูงลิ่ว
- ความร่ำรวยและความสำเร็จไม่ใช่สิ่งบ่งบอกความเป็นตัวเองได้ กลับกันการทำตามความฝันและสิ่งที่ตัวเองเชื่อหรือรัก ถือเป็นความสุขที่ยั่งยืนในระยะยาวมากกว่า
- ชีวิตที่มีสมาร์ตโฟนและอินเทอร์เน็ตทำให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ก่อให้เกิดการวางแผนในชีวิตอย่างรวดเร็วรู้จักการลงทุนในช่องทางต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เก็บออมเพียงทางเดียว ทั้งยังเลือกที่จะลงทุนในชีวิตตัวเองมากขึ้นทั้งสุขภาพกายและใจอีกด้วย
ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าคนกลุ่ม Gen Z จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว สมาร์ตโฟน และอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ดังนั้น ผู้ประกอบการต่าง ๆ สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้เพียงใช้ประโยชน์จากสื่อโซเชียลมีเดีย การสร้างคอนเทนต์ที่เป็น Personalize มากขึ้น สร้างความโปร่งใสของธุรกิจเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ และการทำงานร่วมกับเหล่า Influencer ที่จะชักชวนให้คนกลุ่มนี้เข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ได้มากขึ้น
-
Facebook ยังคงครองแชมป์แพลตฟอร์มอันดับ 1 ได้อยู่ (แต่ก็ไม่แน่)
จัดว่าเป็นแพลตฟอร์มที่โค่นล้มได้ยากมาก ๆ นับตั้งแต่ก่อตั้งมา ถึงแม้จะเสียเงินไปนับล้านล้านจากเหตุการณ์แอปเครือ Facebook ล่มไปถึง 7 ชั่วโมงเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงอยู่รอดไปได้อีกหนึ่งวิกฤติ
อ้างอิงตามรายงานผลสถิติจาก Hootsuit ระหว่างปี 2020 – 2021 กล่าวว่า ประชากรคนไทยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียกว่า 55 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 69.88 ล้านคน คิดเป็น 78.7% จากประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 3 ล้านคน โดยผู้ใช้งาน Youtube และ Facebook คิดเป็น 90% ของประชากรที่ใช้โซเชียล ถัดมาคือ Line และ Instagram อยู่ที่ 64.2% และสุดท้ายน้องใหม่ไฟแรง TikTok คิดเป็น 54.8% ไล่ลงมา
Facebook มียอดผู้ใช้งานทั่วโลกอยู่ที่ 1.8 พันล้านคน และระยะเวลาเฉลี่ยที่คนจะใช้ Facebook อยู่ที่ 58 นาทีต่อวันหรือ 1 ชั่วโมง
แต่ไม่แน่ว่าในปี 2022 มีความเป็นไปได้สูงมากว่า Facebook อาจไม่ใช่แพลตฟอร์มอันดับ 1 อีกต่อไปเพราะกระแสแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้นอย่าง TikTok เพราะจากรายงานของ Forbes ระบุว่ายอดแอปพลิเคชันที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดอันดับ 1 ตกเป็นของ TikTok อันดับ 2 Youtube และ Facebook หล่นไปอยู่ที่อันดับ 3 ในไตรมาสที่ 2 ปี 2021
แต่อย่างเพิ่งตกใจไป เพราะในประเทศไทยอัตราการดาวน์โหลด Facebook ยังคงครองอันดับ 1 อยู่ ส่วน TikTok หล่นไปอยู่อันดับ 7 นั่นเอง ในขณะที่ผู้ใช้ระบบ App Store กลับไม่ขึ้น TikTok มาเลย
ไปลองเล่นเพิ่มเติมกันได้ที่ Similarweb
บอกได้เลยว่ากระแสความนิยมของโซเชียลมีเดียก็มีผลต่อการขายสินค้าเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งหลายหากอยากหาลูกค้าใหม่ให้ได้แล้วล่ะก็ต้องหมั่นเช็กข้อมูลสถิติเกี่ยวกับสื่อโซเชียลมีเดียสักหน่อยแล้วล่ะ
*แอบกระซิบ ๆ Cotactic มีบริการทำโฆษณาออนไลน์ทั้งบน Facebook และ TikTok ด้วยนะ ติดต่อได้ที่นี่เลย Cotactic Digital Marketing Agency
-
เกิด Micro-influencer กันมากมาย
Influencer Marketing เป็นอีกหนึ่งการตลาดเปิดใหม่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมานี้ โดยมูลค่าของแพลตฟอร์มการตลาด Influencer ทั่วโลกอยู่ที่ 7.68 พันล้านเหรียญในปี 2020 และคาดว่าอัตราการเติบโตของการตลาดส่วนนี้จะอยู่ที่ 30.3% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2021 – 2028
นี่จึงเปรียบเสมือนเนื้อวากิว A5 ชิ้นโต ที่นักธุรกิจจากทั่วทุกสารทิศต่างอย่างเข้ามาลิ้มลองเพื่อเสาะหาลูกค้าหน้าใหม่ โดยพึ่งฝีมือของเหล่า Influencer เป็นผู้ชักจูงให้ซื้อสินค้าและบริการจากพวกเขา และความปังแบบฉุดไม่อยู่นี้เองทำให้ Influencer Marketing ส่งผลลงไปถึงระดับ Micro-Influencers
Micro-Influencer คือกลุ่มเน็ตไอดอลที่มียอดผู้ติดตามในบัญชีโซเชียลมีเดียอยู่ที่ราว ๆ 10,000 – 50,000 บัญชี สาเหตุที่หลาย ๆ แบรนด์ให้ความสนใจกับอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้เป็นเพราะสามารถเข้าถึง Niche Communities ได้มากที่สุดและตรงจุดที่สุด และโดยทั่วไปอินฟลูเอนเซอร์ระดับนี้สามารถสร้างยอด Engagement และเพิ่มยอด Awareness ได้มากกว่าอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มที่ใหญ่กว่าเสียด้วย ยกตัวอย่างแบรนด์ที่เลือกใช้ Micro-Influencer เพื่อหาลูกค้าใหม่จากฐานการตลาดแบบ Niche กับ COCA-COLA GOES GLOBAL IN MICRO-INFLUENCER CAMPAIGN ที่ให้คุณ Miette Dierckx ที่มียอดผู้ติดตามกว่า 35K มาเป็น Coca-Cola brand ambassador ให้ และสามารถสร้างยอด Engagement ให้ Coca-Cola ถึง 3.6% ตัวเลขอาจจะดูน้อย แต่ถ้าเทียบกับขนาดของบริษัทแล้วล่ะก็ นับว่าสร้างยอดขายได้สูงลิ่วเลยทีเดียว
-
ทุกคนก็เป็น User-generated content ได้
User-generated content หรือ UGC คือคอนเทนต์ที่ลูกค้าสร้างขึ้นเองเพื่อรีวิวหรือโปรโมทสินค้า / บริการเหล่านั้นโดยที่แบรนด์หรือบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในคอนเทนต์เหล่านี้เลย ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็หมายถึงรีวิวให้แบรนด์เหล่านั้นแบบที่ไม่ได้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนประมาณนี้ ซึ่งในความเป็นจริงเรามีการตลาดแบบนี้อยู่แล้วเรียกว่า Word Of Mouth Marketing เพียงแต่เปลี่ยนจากการพูดคุยกันแบบเจอหน้าไปเป็นคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ แค่นั้น โดยทั่วไปการทำคอนเทนต์ประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบเหล่านี้ครับ
- การเขียนรีวิว เหมือนที่ทาง Cotactic เคยเขียนรีวิวเว็บไซต์แห่งนึงไปอย่าง Ahref ตามลิงก์นี้ครับ 5 ฟีเจอร์เด็ดของ Ahrefs ที่คุณต้องรู้
- ทำวิดีโอคอนเทนต์รีวิวสินค้าต่าง ๆ ที่เรามักเห็นกันใน Youtube หรือ Instagram Reels
- ทำคลิปคอนเทนต์สั้น ๆ ลงบนสื่ออาทิ TikTok, Instagram Stories, Snap เป็นต้น
- เขียนบล็อกรีวิวไว้บนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เปิดให้รีวิวได้อย่าง Trip Adviser, Wongnai หรือ Spoonwalk ที่รีวิวแล้วได้เงินตอบแทน
อ้างอิงจากผลการศึกษายังบอกอีกด้วยว่าแบรนด์ใดก็ตามที่มีการ Optimize แคมเปญ UGC จะเพิ่มอัตราลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำสูงถึง 20% แถมยังลดค่า Bouncerate และเพิ่ม Time on Page ได้กว่า 90% อีกด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงที่ผู้ประกอบการควรออกแคมเปญกระตุ้นการทำ UGC เพื่อดึงดูดลูกค้าเก่าและหาลูกค้าใหม่มาให้ได้
ผมขอพักในส่วนของเทรนด์การตลาดปี 2022 เอาไว้ก่อน เนื่องจากเนื้อหาที่ยาวมาก กลัวผู้อ่านจะเบื่อกันเสียก่อน และผมขอทิ้งอีก 7 ข้อที่เหลือ ที่ผมจะมากล่าวในบทถัดไปกับ คาดการณ์ 13 เทรนด์การตลาดปี 2022 ที่นักธุรกิจต้องอ่าน! (Part 2) ครับ
——————————————————————–
ร่วมงานกับทีม Cotactic Media หนึ่งใน บริษัทโฆษณาออนไลน์ ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ เพื่อสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ตามเทรนด์ในปี 2022 ได้ก่อนใคร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล