สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ยังไม่เคยมีเว็บไซต์หน้าร้านของตัวเองมาก่อน วิธีที่จะช่วยให้สร้างเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาได้อย่างง่ายและรวดเร็วที่สุดฉบับคนไม่เก่งงาน IT ก็คงหนีไม่พ้นการใช้งาน WordPress นี่แหละ เพราะการใช้งาน SEO WordPress ที่ง่าย เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและการทำ SEO แถมยังอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์คุณภาพดีอย่าง Media Management, User Management และ SEO Plugins หลายชนิดที่จะช่วยให้การสร้างเว็บไซต์ของคุณง่ายขึ้นเป็นกอง
ในบทความนี้เราจะเข้ามาเจาะลึกพร้อมวิธีทำ WordPress แบบฉบับรวบรัดเพื่อคุณเท่านั้น!
WordPress คืออะไร
WordPress คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสร้าง บริหารและจัดการ พร้อมระบบหลังบ้านช่วยจัดการข้อมูลเว็บไซต์และดูแลการทำคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อการขายและการโฆษณา (ระบบ CMS) เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้นสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ด้าน IT ก็สามารถเรียนรู้การออกแบบเว็บไซต์ได้ไม่ยาก
การันตีความสามารถของโปรแกรมสร้างเว็บไซต์นี้ด้วยจำนวนเว็บไซต์เปิดใหม่มากกว่า 500 แห่งทั่วโลก/วัน โดยเว็บไซต์เจ้าดังอย่าง New York Post, TED, CNN, Spotify ก็ล้วนใช้โปรแกรมนี้ และยังถูกใช้งานมากถึง 40.6% ในการสร้างและทำเว็บ WordPress บนอินเทอร์เน็ตทั้งหมดอีกด้วย
6 เหตุผลที่เจ้าของธุรกิจควรหันมาใช้ WordPress
- มีประสิทธิภาพการทำ SEO สูง ช่วยให้ Google Search Engine จัดอันดับให้ติดหน้าแรกได้ดี
- มีธีมสำเร็จรูปมาให้ใช้งานฟรี สามารถสร้างเว็บไซต์ได้เร็ว ไม่ต้องเสียเวลาออกแบบธีมเอง
- มี Plugins เสริมหลายประเภททั้ง Yoast SEO Optimization, Contact Forms ฯลฯ ช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้นแบบที่ไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นช่วย
- เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปอัปเดตได้เองตลอดเวลา ไม่ต้องคอยรีโปรแกรมใหม่
- ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนใช้งานได้ไม่เพียงแต่ฝ่ายพัฒนาเท่านั้น User Interface ส่วนใหญ่จึงใช้งานง่าย มีคู่มือพร้อมช่วยสอนหลายขั้นตอน ลดภาระงานของผู้ใช้ให้เหลือเพียงแค่การอัปเดตคอนเทนต์ หน้าเพจ และการโพสต์ เท่านั้น
- สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้ทั้งนักออกแบบและฝ่ายพัฒนาสามารถแก้ไขเลย์เอาต์ได้ไม่จำกัด
ประโยชน์เยอะขนาดนี้จะรออะไรอยู่ล่ะครับ มาเริ่มกันเลย
หลักการสร้างเว็บไซต์วิธีใช้ WordPress แบบรวบรัด
1. ซื้อโดเมน และเลือกเว็บ โฮสติ้ง ที่เชื่อถือได้
โดเมนเนม มีหน้าที่คอยบอกว่าเว็บไซต์ของเราเป็นใคร ทำเกี่ยวกับอะไร มีที่มาที่ไปแบบไหน เป็นสิ่งที่ Audience สามารถจดจำแบรนด์ของเราและนำไปค้นหาต่อได้ ถ้าเป็นในโลกออฟไลน์ก็คงเหมือนการตั้งชื่อบริษัท เราสามารถเลือกโดเมนไหนก็ได้ตราบเท่าที่ชื่อนั้นยังไม่ถูกเจ้าอื่นใช้ไปก่อน ทิปเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเลือกชื่อโดเมนมีดังนี้
- ตั้งชื่อแบรนด์ให้โดดเด่นมีเอกลักษณ์จนทุกคนฟังแล้วติดหู
- ตั้งชื่อให้อ่านง่าย สะกดง่าย พยายามอย่าตั้งชื่อให้ออกเสียงยากหรืออ่านยากจนเกินไป
- ทำให้เป็นที่น่าจดจำ เพราะถ้าแบรนด์มีเอกลักษณ์ ใคร ๆ ก็จำได้
- ตั้งชื่อให้สั้น กระชับ
- ใช้ Niche Keyword เพื่อลดระยะการค้นหาลงมา เช่น ทำแบรนด์เนื้อสเต็กเพื่อชาววีแกน ก็ควรมีคำว่า Steak for Vegan อยู่ในโดเมนด้วย
หากยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อโดเมนว่าอะไรดีแนะนำเว็บไซต์ที่ช่วยคุณได้อย่าง Domain wheel หรือ Shopify
หลังจากที่ได้ชื่อโดเมนที่เหมาะสมมาแล้วก็ต้องดูว่าชื่อนั้นมีคนซื้อไปหรือยัง ในบางเว็บไซต์ที่เปิดให้ซื้อโดเมนจะบอกรายละเอียดราคามาให้ด้วย อย่างในรูปจะแสดงราคามาให้ต่อปี
2. เลือกผู้ให้บริการ Web Hosting และสมัครโดเมนเนม
หลักในการเลือกก็คือต้องเป็นผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือสูง เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานครั้งแรก (ดูง่าย อ่านง่าย สมัครโดเมนใช้เวลาไม่นาน) และที่สำคัญราคาสมเหตุสมผล ไม่ต้องแพงมากนัก สำหรับการเลือกผู้ให้บริการ Web Hosting ทางเราคัดสรรมาให้ไว้แล้วในนี้ครับ 3 Web Hosting หรือเข้าไปที่เว็บไซต์แนะนำ Web Hosting ประจำปี 2021 ตามนี้ได้เลยครับเป็นต้น
ตามลิงก์ที่ผมให้ไปจะมีเว็บผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนทั้ง 3 อันครับ ผมลองเลือกใช้ Bluehost ดูครับ
เมื่อเข้ามาได้แล้วเลื่อนลงมาด้านล่าง จะมีแพ็กเกจให้เลือกอยู่ 3 แบบแล้วแต่เราต้องการ
ขั้นตอนต่อมาให้เรานำโดเมนที่เราได้ไปใส่ในช่อง “Create a new domain” แล้วกดไปต่อ
ถ้าชื่อโดเมนที่เราได้เป็นชื่อใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครใช้ทำเว็บไซต์มาก่อน จะขึ้นเป็นแถบสีเขียวตามนี้ เลื่อนลงมาข้างล่างใส่รายละเอียดให้ครบ พร้อมใส่ข้อมูลการชำระเงิน แล้วกด Submit เท่านี้เราก็ได้โดเมนมาเป็นของเราแล้ว
3. ติดตั้ง WordPress สร้างเว็บ
หลังจากจดชื่อโดเมนไปแล้ว เราจะได้รับจากผู้ให้บริการเรา ในเมลนั้นจะบอกขั้นตอนและรายละเอียดการเข้าใช้โปรไฟล์
เมื่อล็อกอินได้แล้ว จะมีเครื่องมือคอยนำทางการติดตั้งโปรแกรมให้ หรือทำได้เองเพียงคลิกที่ส่วน My Site > คลิก Create Site ระบบจะทำการโหลด โปรแกรมมาให้อัตโนมัติแล้วคลิก Log into WordPress
พอเสร็จขั้นตอนนี้แล้วคุณก็จะได้ Template แรกออกมา ต่อจากนี้ไปเราจะเข้ามาสู่การทำ WordPress จากหลังบ้านกันครับ
4. เปลี่ยนธีมและออกแบบเว็บไซต์ด้วยมือเรา
หลังจากได้เว็บไซต์มาแล้วให้คลิกที่โดเมนของเราพิมพ์ต่อท้ายว่า /wp-admin ตัวอย่างตามรูปเลยครับ
ต่อมาเราจะมาดูวิธีการโหลดธีม สามารถเข้าไปโหลดฟรีได้ที่เว็บไซต์ WordPress.org ตามลิงก์นี้ได้โดยตรง หรือจะเป็นเว็บอื่นก็ได้เช่น Themeforest หรือ Themeisle พอดาวน์โหลดไฟล์ .zip เสร็จ กลับเข้ามาที่ Dashboard คลิก Appearance ที่แผงด้านซ้าย > Themes > Add New > Upload Theme > เลือกไฟล์ > Install Now
5. ติดตั้ง Plugins และสร้างหน้าเพจ
มี 2 วิธีให้เลือก 1. เข้าไปโหลด Plugins เป็นไฟล์ .zip ตามลิงก์นี้ https://wordpress.org/plugins/ หรือ 2. กดเสิร์ชจากบน WordPress โดยตรงตามวิธีต่อไปนี้ คลิก Plugins > Add New > Search Plugins
ในขั้นตอนการโหลด Plugins ให้โหลด Page Builder มาก่อนไว้สำหรับสร้างเพจหลาย ๆ หน้า Plugin ที่แนะนำคือ Elementor – Website Builder
หลังโหลดเสร็จแล้ว คลิก Pages > Add New > ใส่หัวข้อเข้าไป > คลิก Edit with Elementor
ในหน้า Elementor จะเป็นแบบนี้ สามารถตกแต่งได้ตามใจชอบเลย หรือสามารถดาวน์โหลด Template มาใช้งานก็ได้ ประหยัดเวลา ไม่ต้องออกแบบเองให้ยุ่งยาก
6. ตั้งค่าหน้าเว็บไซต์ที่สำคัญต่าง ๆ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการตั้งค่า Permalink ครับ Permalink หรือ Friendly URL มีลักษณะเป็นชุดข้อความต่อจากชื่อโดเมนของเรา ตัวอย่างเช่น www.cotactic.com/blog/deep-dive-into-ux-seo เป็นต้น
ความสำคัญของ Permalink ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจได้ว่าตอนนี้อยู่ที่คอนเทนต์ชื่อว่าอะไร แต่ความสำคัญของมันจริง ๆ ก็คือ เพื่อให้ Google Search Engine ค้นหาและอ่านลิงก์ได้มากกว่าลิงก์แบบธรรมดาที่อ่านยากครับ และยังสามารถนำเนื้อหาข้างในกับกลุ่มคำบนลิงก์มาจับคู่กันเพื่อประเมินความเกี่ยวข้องสำหรับการจัดอันดับหน้าค้นหา
วิธีการทำ Permalink คลิก Setting > Permalink > Post Name > Save Change WordPress หรืออีกวิธีคือ คลิก Custom Structure ตามด้วย /blog/%postname%/ ก็ได้เช่นกัน จะสร้างไฟล์ .htaccess เอาไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของระบบ ขั้นตอนนี้จะทำให้ในครั้งต่อ ๆ ไปที่เราทำคอนเทนต์โพสต์ลงเว็บแล้วต้องสร้าง URL ขึ้นมา ทำให้สามารถเขียน Slug ต่อท้ายโดเมนได้เลย
ทีนี้เราก็จะได้เว็บไซต์ที่เป็นของเราขึ้นมาแล้ว ต่อมาคือการจัดการระบบภายในกันต่อ เป็นการ Optimize ให้เหมาะสมต่อการเขียนคอนเทนต์และการอ่าน เริ่มด้วยการเขียนก่อนเลย
สอนเขียนบทความ SEO ลง WordPress
1. การวางบทความ
หลังจากที่เราเขียนบทความเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- คลิก Posts
- Add New
- ท่อน Title ให้ใส่ชื่อหัวข้อบทความลงไป ท่อนนี้จะนับว่าเป็น Header 1
- Copy บทความของเรามาลงไปได้เลย
2. เช็กสถานะบทความและ SEO
ที่แผงทางด้านขวาจะมีรายการสถานะบทความของเราอยู่ประมาณ 6 อย่างหลัก ๆ ที่ควรให้ความสนใจ
- Preview Changes เมื่อแก้ไขไปได้ระยะหนึ่งแล้ว คลิกที่ปุ่มนี้ ตัวโปรแกรมจะพาเราไปหน้าจำลองเมื่อบทความของเราได้ตีพิมพ์ออกไปแล้ว
- สถานะบทความ มีให้เลือกตั้งแต่ Published, Pending Review และ Draft
- การมองเห็น จะบอกเราว่าในตอนนี้บทความเรามีผู้อ่านแบบไหนที่สามารถอ่านบทความของเราได้บ้างตั้งแต่ Public, Password จนถึง Private
- ตั้งค่าการตีพิมพ์ จะให้ตีพิมพ์ทันที หรือ ตั้งเวลาให้ตีพิมพ์บทความล่วงหน้าก็ได้
- Yoast Plugin คอยตรวจสอบความไหลลื่นในการอ่านและการเขียนบทความให้อยู่ในหลัก SEO สามารถไปดาวน์โหลดแยกมาได้ครับ แต่อย่างไรก็ตาม Yoast ถูกออกแบบมาสำหรับตรวจจับภาษาอังกฤษเท่านั้น ภาษาไทยยังไม่รองรับ ถ้าหากว่าประโยคบางท่อนไม่สามารถแก้ไขได้ตามที่ Plugin แนะนำก็ไม่ต้องไปสนใจครับ แค่พยายามทำให้เขียวมากที่สุดก็พอ
- เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Update จากนั้นโปรแกรมจะอัปบทความที่ได้รับการปรับปรุงแล้วขึ้นบนเว็บไซต์ทันที
3. การเขียน Meta Title, Description และ Slug
- ใส่ Keyword สำคัญของเราลงไปในช่องนี้
- ใส่ Title ของเราลงไปเน้นย้ำว่าต้องมี Keyword อยู่ในนี้ด้วย ควรอยู่ในช่วงต้นของหัวข้อ และความยาวต้องไม่เกินแถบสีเขียวด้านล่างกำหนด หรือประมาณ 60 ตัวอักษร
- ต่อจากการทำ Permalink ในหัวข้อด้านบน ส่วนนี้จะไปปรากฏอยู่บน URL ครับ แนะนำให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษจะดีที่สุด เพราะถ้าเขียนเป็นภาษาไทย ลิงก์จะกลายเป็นตัวอักษรประหลาด ทำให้ Google อ่านได้ลำบากมากขึ้น และต้องมีสัญลักษณ์ – คั่นกลางระหว่างคำ
- ใส่ Description อธิบายหัวข้อเพิ่มไปหน่อยเน้นประโยคที่เป็นใจความสำคัญ เน้น ๆ ชนิดที่คนอ่านต้องหยุดดูและใส่ Keyword ลงไปในช่วงต้นด้วย เพื่อเพิ่มอัตราการจัดอันดับ
- การใส่รูปและ Alt Text
คลิก Add Media ที่ด้านบนสุดของบทความ
หากยังไม่มีรูปภาพใหม่ให้กด Upload Files แล้วเลือกไฟล์ ถ้ามีรูปอยู่ใน WordPress อยู่แล้วเข้าไปที่ Media Library ได้เลยครับ
เมื่อเลือกรูปได้แล้ว ตรงกรอบทางด้านซ้ายจะมีให้แก้ไขรูปอยู่ ในส่วนนี้ให้ใส่ Keyword ไปใน Alt Text แต่ไม่ต้องเยอะจนเกินไปเพราะอาจมีปัญหาในเรื่อง Keyword Density ได้ (ความหนาแน่นของ Keyword ที่ไม่น้อยไป ไม่มากไปและไม่กระจุกตัวอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความมากเกินไป) ควรใส่แค่เฉพาะในรูปหน้าปกหรือรูปสำคัญก็พอ ส่วนรูปที่เหลือในบทความให้ใส่เป็น Realated Keyword แทน หากรูปไหนมีคำอธิบายเพิ่มเติมที่อยากให้ผู้ใช้งานอ่านเข้าใจให้ใส่ไปในช่อง Caption
เพิ่มความปลอดภัย WordPress ด้วย SSL Certificate
ความปลอดภัยเว็บไซต์ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ช่วยในการจัดอันดับคอนเทนต์ด้วยเช่นกัน ลองนึกภาพตามหากผู้ใช้งานกดเข้ามาในเว็บไซต์แล้วโดเมนขึ้นเป็นตัวอักษรสีแดงว่า “Not Secure” ผู้ใช้งานบางคนก็อาจเริ่มรู้สึกกังวลใจแล้วว่า “เว็บไซต์นี้ ดูไม่ปลอดภัยแหะ” แล้วก็อาจจะกดออกไปได้เฉย ๆ เลย
และหากมองอีกมุมหนึ่งทางด้าน Google Search Engine เมื่อพบว่าหนึ่งในบรรดาเว็บไซต์ทั้งหลายที่มาจัดอันดับกับ Google ดันไม่มีความปลอดภัยเลย Algorithm ของ Google จะเริ่มพิจารณาแล้วว่าเว็บไซต์นั้น มีสิทธิ์เป็น Spam ได้หรือเปล่า และอาจทำให้ Google ลดอันดับเว็บไซต์ลงหรือหนักสุดคือไม่ยอมจัดอันดับเว็บไซต์เลยก็ได้ ดังนั้นขั้นตอนนี้จะมาสอนการทำ SSL Certificate แบบง่าย ๆ กันครับ
- เข้าไปที่ Add New ใน Plugins
- พิมพ์ ในช่องค้นหา และกด Install Now
- ติดตั้งเสร็จแล้วให้ทำการ Activate Plugin
- เมื่อ Activate เสร็จแล้วลองเช็กที่โดเมนของเราจะขึ้นเป็นสัญลักษณ์ แม่กุญแจ แบบนี้
เป็นยังไงกันบ้างครับ การสร้าง SEO WordPress สำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ จริง ๆ แล้วไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะ สามารถทำเองได้ง่าย ๆ เลยด้วย เพียงแค่เลือกซื้อโดเมน และทำการติดตั้ง ปรับแต่งภายในนิดหน่อยและเลือก Plugins แค่นี้เอง
——————————————————————–
หากใครเชื่อว่าการทำการตลาดแบบ SEO บนเว็บไซต์เป็นเรื่องที่น่าสนใจแล้วล่ะก็ ติดต่อ Cotactic Digital Marketing Agency ได้เลย เรามีบริการรับทำ SEO ให้ติดอันดับหนึ่งบน Google และบริการรับทำเว็บไซต์ WordPress ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็นพาร์ทเนอร์ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมทำงานเป็นทีมไปกับคุณ
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic