click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

สิ่งหนึ่งที่คนเป็นเจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับการทำคอนเทนต์ให้เด่นและดังที่สุดในสามโลก มักเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ และเรียบง่าย อย่างการทำคอนเทนต์ SEO เพราะ SEO ที่ดีมีคุณภาพจะต้องติดอันดับ 1 – 5 อันดับแรก และต้องอยู่ในหน้าผลการค้นหาแรกของ Google! ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้งานกว่า 67.60% ของ Google เลือกที่จะคลิกลิงก์อันดับเหล่านี้ก่อนเสมอ แต่การทำ SEO ให้ติดอันดับได้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แถมธุรกิจหลายอย่างก็ยังไม่อยากเริ่มทำคอนเทนต์ SEO อีก งั้นลองมาอ่านบทความ 7 เหตุผลที่เจ้าของธุรกิจควรใช้เทคนิค SEO

การปรับเปลี่ยนดีไซน์ทั้ง UX/UI รวมไปถึงการทำ SEO ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน สามารถสร้าง User – Friendliness ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานได้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อเว็บไซต์ของเรา ยิ่งค่าประสบการณ์ที่ดีมีต่อเว็บไซต์เรามากขึ้นเท่าไหร่ Google ก็จะยิ่งจัดลำดับเว็บไซต์เราให้อยู่สูงขึ้นไปอีกตามคุณภาพ

 
 

แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาหลักกัน เราลองมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า UX / UI แท้จริงแล้ว Insights เชิงลึกของมันคืออะไรกันแน่? แล้วจะช่วยให้คอนเทนต์ของเราปังได้ยังไง?

 

  • UX คืออะไร

ย่อมาจากคำว่า User Experience ถ้าแปลตรงตัวก็หมายถึง “ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน” คือการที่ผู้ใช้งานทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์จนเกิดประสบการณ์ร่วม* (รวมถึงแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) อาจเป็นได้ทั้งเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีก็ได้ และต้องการให้แก้ไขปัญหาที่ไม่ดีเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น แอปฯ ธนาคารสมัยใหม่ นิยมให้ล็อกอินผ่านการกรอกรหัสหรือสแกนลายนิ้วมือเข้าใช้งาน คนที่คุ้นเคยกับการกรอกรหัสก็จะเลือกใช้การกรอกรหัสแทน ส่วนใครที่คุ้นเคยกับการใช้ลายนิ้วมือก็ใช้นิ้วสแกนได้ ฟังก์ชันพวกนี้จะเพิ่มความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย จนเกิดความพึงพอใจต่อการใช้งานของผู้ใช้นั่นเอง ซึ่งหลังจากที่เราเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากผู้ใช้งานมาแล้ว จะต้องนำมาออกแบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในพาร์ทของ UI

 

*เนื่องจากบทความต่างประเทศนิยามการมีปฏิสัมพันธ์นี้ว่า “interaction between users and products” ทาง Cotactic จึงนิยาม Products ว่า “ผลิตภัณฑ์” ที่มา: Interaction Design Foundation

 

  • UI คืออะไร

มาจากคำว่า User Interface หรือ “จุดร่วมกันระหว่างผู้ใช้งานกับผลิตภัณฑ์” ซึ่งค่อนข้างออกไปในแนวรูปธรรมมากกว่า เป็นส่วนที่ผู้ใช้งานจะโต้ตอบกับอุปกรณ์แบบตัวต่อตัว เช่น หน้าตา รูปลักษณ์ภายนอก ขนาดตัวอักษร ปุ่มกด เสียง การจัดเรียงรูปภาพ การวางฟอร์มต่างๆ เป็นต้น มาตรฐานการจัดวาง UI ให้น่าดึงดูดจะต้องดูสะอาด ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย ไม่จัดเรียงยุ่งเหยิงจนใช้งานไม่รู้เรื่อง เพราะถ้าใช้งานยากคนก็ทิ้งครับ มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น เหมาะกับผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าผู้ใช้งานเป็นเด็กประถมก็อาจเพิ่มรูปการ์ตูนหรือเพิ่มสีสันลงไปสักหน่อยเพิ่มความน่าดึงดูด สรุปง่าย ๆ ก็คือ UI มีหน้าที่สร้าง First Impression ให้กับผู้ใช้งานและเพิ่มความสวยงามของอุปกรณ์

 

UX / UI comparison

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง UX / UI ชัดๆ

ความแตกต่างที่ชัดเจนของ UX และ UI ก็คือ :

  • UX: ให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน
  • UI: ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ ส่วนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน ทั้งความสวยงาม การใช้งาน ตัวอักษร เป็นต้น

 

ฉะนั้นบทความนี้จะเน้นไปที่ UX Design เป็นหลัก เนื่องจากถ้าเรารับรู้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานและปัญหาที่มีต่อเว็บไซต์แล้ว จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุง UI เว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้นได้ในภายหลัง

 


 

รู้จักการทำ UX SEO กันให้ลึกขึ้น

 

ก่อนที่เราจะไปเริ่มการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ ผมอยากให้ลองมาดูโครงสร้างส่วนประกอบก่อนว่ามีอะไรบ้าง เกี่ยวข้องยังไงกับการทำ SEO เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักการทำงานและปรับเปลี่ยนได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

 

โครงสร้าง UX โดยรวม

 

Usability

การใช้งานง่าย เนื้อหาข้อมูลครบถ้วนชัดเจน เข้าใจได้ในบทความเดียว ฟังก์ชันอื่น ๆ ที่มองเห็นได้ง่าย (บทความ SEO ต่าง ๆ ล้วนต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน และอ่านได้ง่าย)

Visual Design

การออกแบบที่สวยงาม ใช้รูปภาพเหมาะสม สี รูปร่าง ตัวอักษร และฟอร์มต่าง ๆ ที่สนับสนุนการใช้งาน (การจัดวางองค์ประกอบของบทความต้องดึงดูด สะอาด ไม่เยอะจนดูรก)

Interactive Design

เป็นเหมือนสะพานเชื่อมผู้ใช้งานกับอุปกรณ์ มีความสุนทรี เช่นการออกแบบภาพและเสียงสื่ออารมณ์ให้คนหยุดดู การใช้งานที่หลากหลายทั้งใน PC, Tablet, iOS และ Android เป็นต้น (SEO ที่ดีต้องเปิดได้ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความอยากอ่านได้ดี)

Accessibility

เข้าถึงได้ง่าย ลดความซับซ้อน สามารถค้นหาได้ง่าย (อย่างการค้นหาบทความ SEO เป็นต้น)

 

ต่อไปเราจะมาดูเรื่องโครงสร้างการออกแบบ UX ที่จะนำมาใช้ในการสร้างบทความให้มีคุณค่า น่าประทับใจ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ซึ่งรวมไปถึงการปรับใช้มุมมองของแบรนด์สู่การทำ SEO

UX design

 

โครงสร้างการออกแบบ UX (UX Design)

 

Written

การใช้ภาษาเล่าเรื่องให้เหมาะสมกับคนแต่ละวัย แต่ละกลุ่ม ต้องการให้มี Friendliness มากน้อยแค่ไหน สร้างความน่าดึงดูดต่อผู้ใช้งาน การวางโครงสร้างคอนเทนต์ รวมไปถึงการเขียนคอนเทนต์ให้มีคุณภาพติด Google

Sound & Music

บางคอนเทนต์ที่ต้องการเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกคนดู จึงต้องมีการวางเสียงให้เล่นในส่วนไหนของเพจ หรือใช้เสียง background ประกอบแบบไหนให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วม

Motion

การทำ Motion Graphic ทั้งรูป Pop-up, GIF, Reels, Short Video ต่าง ๆ

Information Design

การจัดเรียงเนื้อหาไม่ยาว ไม่สั้นเกินไป กระชับ อ่านได้เร็ว

Graphic Design

การสร้างภาพให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อโดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับรูป การวางเลย์เอาต์หน้าเพจ ฯลฯ

Interface Design

เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานกับอุปกรณ์ ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น เน้นที่รูปร่างภายนอกและสไตล์ หาเจอได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลิน

Interaction Design

ความลื่นไหลในการใช้งาน สร้างสุนทรีให้ผู้ใช้งาน

Programing

การเขียนโค้ด ออกแบบโปรแกรมทั้ง Front-end, Back-end, Dat Science, Web Dev, ฯลฯ

ตอนนี้เราพอจะเข้าใจโครงสร้างของ UX สำหรับทำ SEO ในเรื่องของการออกแบบและความเข้าใจในตัวผู้ใช้งานกันไปคร่าว ๆ บ้างแล้ว ทีนี้เราจะมาดูกันต่อว่า วิธีการตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ของเรามีความผิดปกติตรงไหนหรือเปล่า การออกแบบ UX มีปัญหาหรือไม่

 


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

UX เรามีปัญหาหรือเปล่า ตรวจสอบยังไงดีนะ

 

  • ตรวจสอบค่า Average Time on page ของ SEO

คือเวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ ยิ่งมีเวลาเฉลี่ยสูงมากนั่นหมายความว่าคอนเทนต์ที่เราสื่อสารออกไปมีประโยชน์ต่อผู้เข้าชมมาก ดังนั้นถ้าค่า Average Time On Page อยู่ในหน้าหนึ่งนานเกิน 20 – 30 วินาทีขึ้นไปนั่นหมายความว่าคอนเทนต์ค่อนข้างตอบโจทย์เลยทีเดียว แต่ถ้าสงสัยว่าทำไมเราถึงไม่ดูที่ค่า Bounce Rate แทนล่ะ คำตอบก็คือ มีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ใช้งานเข้ามาอ่านเนื้อหาที่ตอบโจทย์แล้วจริง ๆ และกดออกเลย ไม่ได้เข้าไปหน้าอื่น ดังนั้น Bounce Rate ลักษณะนี้จึงบอกไม่ได้โดยตรงว่าคอนเทนต์เราแย่หรือเปล่า หรืออาจจะดีเกินไปจนผู้ใช้งานเข้ามาอ่านแล้วกดออกเลยก็เป็นได้ เรื่องนี้เคยกลายเป็นประเด็นตั้งคำถามกับ Google ถึงขนาดที่ Gary Illyes จากทีม Webmaster ของ Google ได้ Tweet ถึงกรณีนี้ว่า bounce rate จะไม่ถูกคำนวณในการจัดอันดับของ Google แน่นอน

 

UX don't use bounce rate in search ranking

Twitter ของ Gary Illyes จาก Google ที่กล่าวไว้ว่า Bounce rate ไม่มีความสำคัญต่อการจัดอันดับเนื้อหา

 

 

 

Average Time on page

กรอบสีส้มคือ Pageviews แสดงจำนวนครั้งที่กดเข้ามาในหน้าเว็บนี้

สีชมพูคือ Avg. Time on Page เวลาเฉลี่ยที่อยู่ในหน้านี้

สีเหลืองคือค่า Bounce Rate ยิ่งมีน้อย ยิ่งดี เพราะคนแทบไม่กดออกเลย

 


 

  • เช็กค่า Pages per Session

ตัวเลขค่าเฉลี่ยของจำนวนหน้าที่เข้าชมต่อหนึ่งครั้ง คำนวณโดยจำนวน Pageviews หาร Session ทั้งหมด ค่า Pages per session จะบ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์และคุณภาพของ Session ที่เข้ามา ซึ่งถ้ายิ่งมีค่ามากแสดงว่าผู้ใช้งานให้ความสนใจกับคอนเทนต์นั้นมาก แต่ระวังบางกรณีที่มีการทำ Landing Page สลับไปสลับมา จนเกิดความสับสนให้ผู้ใช้งานเข้ามาในหน้าเว็บของเราบ่อย ๆ ค่า Pages per Session ก็อาจสูงตามอย่างงง ๆ เช่นกัน

 

Page / Session

หน้า Overview ที่แสดงผล Page / Session

 


 

  • อย่าลืมดูค่า Page Load Speed

ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ ยิ่งเวลาโหลดน้อยยิ่งส่งผลดีต่อหน้าเว็บไซต์ เฉลี่ยแล้วต่อการโหลดหนึ่งครั้งไม่ควรเกิน 5 วินาที เพราะแสดงถึงการ Optimize หน้าเว็บเรียบร้อย ยังคงความสนใจของผู้ใช้งานไว้ได้ ไม่เบื่อแล้วปิดไปซะก่อน จนเกิดเป็น Bounce Rate แทน 

 


 

  • ตามมาเช็ก SEO กันต่อที่ Google Search Console

เป็นการวัดประเมินประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บไซต์ของเรา เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือการให้คะแนน UX ในหน้าเว็บนั่นแหละ เครื่องมือการประเมินใช้ระบบ Page Experience ในการประเมิน และเกณฑ์การวัดผลจะใช้ Core Web Vitals มาช่วยประเมินประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บของเรา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 เกณฑ์ก็คือ

  • Largest contentful Paint (LCP): ใช้วัดค่าเวลาในดาวน์โหลดเว็บไซต์ครั้งแรก
  • First Input Delay (FID): ใช้สำหรับวัดค่าเวลาในการตอบสนองของเว็บไซต์ / การคลิกหนึ่งครั้ง
  • Cumulative Layout Shift (CLS): ใช้วัดค่าความเสถียรของเลย์เอาต์ในหน้าเว็บไซต์
LCP FID CLS

Largest contentful Paint (LCP): ใช้วัดค่าเวลาในดาวน์โหลดเว็บไซต์ครั้งแรก First Input Delay (FID): ใช้สำหรับวัดค่าเวลาในการตอบสนองของเว็บไซต์ / การคลิกหนึ่งครั้ง Cumulative Layout Shift (CLS): ใช้วัดค่าความเสถียรของเลย์เอาต์ในหน้าเว็บไซต์ หลักเกณฑ์การวัดและประเมิน Page Experience เครดิตอยู่ในรูปภาพ

 

ถัดไปเราจะมาดูกันว่าการปรับ UX เพื่อการทำ SEO ที่ดีจะมีอะไรกันบ้าง เรามาดูกัน

 


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

UX จะกลายเป็นพระเอกของ SEO ได้ยังไง

 

  • การวางโครงสร้างเว็บไซต์และ UX Navigation

การวางโครงสร้างหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานสะดวกในการค้นหา ไม่ควรวางโครงสร้างหน้าเว็บลึกเกิน 3 – 4 ชั้น และมีการกำหนด Navigation เป็นหัวข้อแยกย่อยอย่างชัดเจน (บางครั้งผู้ใช้งานก็มีการเข้าใช้งานผ่าน Landing Page อื่นที่ไม่ใช่หน้า Homepage ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งาน ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น) แต่อย่าเยอะจนเกินไป เพราะตามหลักจิตวิทยาแล้ว ยิ่งตัวเลือกเยอะ ยิ่งไม่เลือก

 

site navigation ใน UX SEO

กรอบสีชมพูคือตัวอย่างของการมี Navigation ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้ว่าควรคลิกไปที่ไหนของหน้าเว็บบ้าง

 


 

  • การปรับปรุง Page Speed ของ SEO

อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้วความเร็วการดาวน์โหลดเว็บไซต์เป็นหลักฐานชั้นดีว่าหน้าเว็บของเราได้รับการ Optimize เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ Google จัดอันดับเว็บไซต์ให้อยู่สูงขึ้นได้ โปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบความเร็วการโหลดเว็บไซต์ก็มีอยู่ด้วยกันหลายตัว ยกตัวอย่างเช่น PageSpeed Insights, WebPageTest, GTmetrix เป็นต้น

 

Google page speed insight ช่วยปรับ UX SEO

ตัวอย่างการใช้งาน PageSpeed Insights ของ Google ในรูปแสดงไว้ว่า “ไม่ผ่าน”

 


 

  • การปรับแต่ง UX ให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้งาน

อย่าลืมคำนึงไว้ด้วยว่าเป้าหมายของเว็บไซต์เราทำไว้เพื่อให้คนอื่นกดเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับเรา ซึ่งจะช่วยเพิ่มค่า Conversion ได้อีกด้วย แต่ถ้าการออกแบบไม่ตอบโจทย์ และไม่ได้สร้างประสบการณ์เชิงบวกร่วมกับกลุ่มผู้ใช้งานแล้วล่ะก็ แทบจะนับได้ว่าเป็นหายนะกันเลยทีเดียว ดังนั้นการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับคร่าว ๆ ควรมีดังนี้

  • คงคอนเซ็ปต์ CI Brand หรือ Branding ของเราเอาไว้ เช่น Page Title, Content Copywriting เน้นภาพลักษณ์การสร้างแบรนด์ควบคู่ไปกับการสอดแทรก Keyword
  • ทำให้เป็น Mobile Frindliness กล่าวคือออกแบบให้เว็บไซต์สามารถรองรับและแสดงผลได้ในทุกอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเว็บไซต์สำหรับทดสอบ Mobile Friendliness เช่น Mobile-Friendly Test หรือ Rankwatch เป็นต้น
  • คอนเทนต์ที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพเพียงพอให้ Google จัดอันดับ ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน บทความมีความยาวพอดีไม่เยอะจนคนอ่านรู้สึกเบื่อ เนื้อหาสั้น กระชับ เข้าใจง่าย
  • ถ้าคุณมีคอนเทนต์ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ที่คุณทำอยู่ล่าสุดอย่าลืมแทรก Internal Link เข้าไปด้วย ซึ่งถ้าใครใช้ WordPress ในการออกแบบหน้าเว็บ ด้านล่างก่อนมีการโพสต์คอนเทนต์จะมีระบบตรวจจับคุณภาพของเนื้อหาเอาไว้ให้ด้วย แต่ถ้าไม่มี Internal Link ก็ไม่เป็นไร อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญหากมีการอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลจากที่อื่นควรแทรก External link ไปยังหน้าเว็บของคนอื่นด้วย

 

Google mobile friendly test ช่วยปรับ UX SEO

ตัวอย่างการใช้เว็บไซต์ตรวจสอบ Mobile-Friendly tool ที่มีประสิทธิภาพ จากเว็บ Google Mobile-Friendly Test

 

สรุปเนื้อหาการปรับ UX SEO

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างการปรับเปลี่ยน UX ให้เหมาะสมต่อการออกแบบเว็บไซต์และการเขียนคอนเทนต์ SEO สำหรับผู้ประกอบการที่อยากลองทำคอนเทนต์ให้ปัง ๆ ซึ่งใจความหลักของการสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพก็มีแค่ 1.การทำคอนเทนต์ให้เข้าใจง่าย อ่านง่าย เนื้อหาครบถ้วนตรงประเด็น 2.มีสิ่งดึงดูด น่าสนใจ ทำให้ผู้ใช้งานอยากอ่านต่อ รวมไปถึงการออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่รกจนเกินไป ความเร็วในการดาวน์โหลดเหมาะสม ไม่ช้าเกินไป ซึ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของเว็บไซต์คุณได้เช่นกัน ซึ่งทาง Cotactic ก็มีบริการรับทำ SEO ออกแบบเว็บไซต์เพื่อการรองรับ SEO ใช้บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ที่สามารถจัดการให้คุณเบ็ดเสร็จ

——————————————————————–

 

ปรับเว็บไซต์ธุรกิจของคุณให้เป็น User-Friendly ได้แล้ววันนี้!! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic Digital Marketing Agency เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ

ติดต่อ

โทร.065-095-9544

Inbox: https://m.me/cotactic

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


——————————————————————–

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

 

thewhitemarketing.com, magnetolabs.com, foretoday.asia

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับ E-E-A-T ส่วนสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ติดหน้าหนึ่ง

ทำ SEO ให้ปังด้วยหลัก E-E-A-T Factor

อัปเดต 15 เครื่องมือทำ SEO ปี 2024

SEO Tools อัปเดต 10 เครื่องมือทำ SEO ปี 2024

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้