click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมใด เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดต่างก็ต้องหาทางสื่อสารการตลาดกับผู้คน เพื่อโน้มน้าวใจให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้า แต่ถ้าเกิดกลุ่มเป้าหมายของคุณยังไม่คุ้นเคย หรือไม่มีภาพจำเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณเลย ก็น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะเปิดใจให้พวกเขาอยากซื้อหาผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา

Cotactic ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ ขอเป็นผู้ช่วยคุณขยายความเข้าใจจุดเริ่มต้นก้าวแรกของการสื่อสารแบรนด์ เพื่อเข้าสู่เส้นทางของการพิชิตใจลูกค้าหน้าใหม่ในก้าวแรกของ Full Funnel Marketing นั่นก็คือการสร้างการรับรู้แบรนด์ซึ่งจะขาดส่วนสำคัญนี้ไปไม่ได้ หากอยากให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบยั่งยืน

Brand Awareness คือ

‘Brand Awareness’ หรือ ‘การรับรู้แบรนด์’ คือ การสื่อสารแบรนด์ให้ผู้คนรู้จักเป็นวงกว้าง เกิดภาพจำและความรู้สึกวาบขึ้นมาในใจเมื่อมีใครเอ่ยชื่อแบรนด์ หรือได้พบเห็นโลโก้ของแบรนด์ก็จดจำได้ในทันที ไม่เพียงเท่านั้น แบรนด์จำเป็นต้องหาช่องทางเชื่อมต่อ และคอยหาจุดเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย สอดแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้พวกเขาได้พบเห็น ได้ยิน ได้อ่าน ได้สัมผัสความคิด ความเชื่อ และความเชี่ยวชาญของแบรนด์อยู่เสมอ ด้วยบุคลิกลักษณะ ถ้อยคำ น้ำเสียงและเรื่องเล่าของแบรนด์ที่น่าจดจำ สามารถดึงดูดผู้คนกลุ่มเป้าหมายให้หยุดรับชมรับฟัง หันมาให้ความสนใจผลิตภัณฑ์และบริการที่แบรนด์กำลังเสนอขายอยู่

ความหมายของการรับรู้แบรนด์ (brand awareness)

การรับรู้แบรนด์ มี 4 ระดับการรับรู้

เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจำเป็นที่จะต้องออกแบบการสื่อสารแบรนด์ให้เหมาะกับระดับการรับรู้ของผู้คนในแต่ละขั้น ดังนี้

ระดับที่ 1 ยังไม่รู้จัก ไม่เคยรับรู้ว่ามีแบรนด์นี้อยู่ (Unaware of Brand)

การรับรู้ของผู้คนในขั้นนี้ จะอยู่ในระยะที่พวกเขาไม่เคยรู้จักแบรนด์ของคุณมาก่อนเลย เนื่องจากแบรนด์อาจจะเพิ่งเริ่มต้นก่อตั้งธุรกิจ หรือการสื่อสารแบรนด์อาจยังส่งไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างทั่วถึง ทำให้พวกเขายังไม่รับรู้การมีอยู่ของแบรนด์ ไม่ทราบว่าสิ่งนี้มีวางขายหรือกำลังเปิดให้บริการอยู่ จนถึงขั้นอาจไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือแนวทางแก้ปัญหาในรูปแบบที่คุณพยายามนำเสนออยู่เลย เนื่องจากอาจเป็นเรื่องที่ยังใหม่มาก ๆ สำหรับพวกเขา

ระดับที่ 2 รู้จักและจดจำแบรนด์ได้ (Brand Recognition)

กลุ่มเป้าหมายของคุณจำแบรนด์ของคุณได้และรู้จักคุณมากขึ้นแล้ว แต่เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดต้องแน่ใจว่าพวกเขาจะไม่สับสนกับแบรนด์อื่น จึงต้องหาทางสร้างความแตกต่าง หรือชูจุดเด่นให้ผู้คนจดจำแบรนด์คุณได้ขึ้นใจ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ลูกค้าไปหาซื้อหรือรับบริการแบบผิดฝาผิดตัว 

ระดับที่ 3 จดจำแบรนด์ได้ แต่ยังลังเล (Brand Recall)

กลุ่มเป้าหมายจำแบรนด์ของคุณได้ก็จริง แต่พวกเขาอาจกำลังอยู่ในช่วงชั่งใจ พิจารณาว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของคุณดีหรือไม่ หรือพวกเขาอาจเป็นลูกค้าเก่าที่ร้างลาจากการจับจ่ายกับคุณมาสักพักใหญ่แล้ว เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจึงจำเป็นต้องส่งข้อมูลสำคัญที่เจาะใจ ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ หรือมอบข้อเสนอสุดพิเศษที่คุ้มค่าจนไม่อยากพลาดดีลเด็ดของแบรนด์คุณในครั้งนี้ จนสามารถโน้มน้าวใจให้พวกเขาตัดสินใจซื้อแบรนด์คุณได้

ระดับที่ 4 แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจลูกค้า (Top of Mind)

แบรนด์ของคุณอยู่ในระดับที่ผู้คนรู้จัก จำขึ้นใจ และถูกอกถูกใจผลิตภัณฑ์และสนใจบริการของคุณอยู่มากแล้ว จนได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในตัวเลือกแรก ๆ ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เรียกได้ว่าเป็นระดับที่อีกนิดเดียวก็สามารถป้ายยา คว้าใจลูกค้า มีสิทธิ์ลุ้นจะได้ลูกค้าขาประจำที่จะอยู่กับแบรนด์คุณไปยาว ๆ

ความสำคัญของ Brand Awareness ต่อธุรกิจ

การสร้าง brand awareness มีหลักการสื่อสารแบรนด์อย่างไร

เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจำเป็นต้องวางกลยุทธ์การตลาดและจัดสรรงบประมาณสำหรับสร้างการรับรู้แบรนด์เป็นหนึ่งในสเตจสำคัญที่ขาดไม่ได้ของ Marketing Funnel เพื่อจะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์และธุรกิจของคุณอย่างยั่งยืน โดยสามารถยึดหลักการที่เป็น 3 หัวใจสำคัญนี้

1. สื่อสารแบรนด์ได้ทัชใจ ยอดขายก็พุ่ง

การสื่อสารที่มาจากใจ แกะออกมาจากแก่นแท้ของแบรนด์ แน่นอนว่าจะต้องไม่พูดไปเรื่อยจนไม่เหลือความเป็นตัวเอง ขอแค่ไม่หลงทิศหลงทางในสิ่งที่แบรนด์เป็น คอยส่งต่อคุณค่าในเรื่องที่เชื่อและเชี่ยวชาญ ก็จะสามารถส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ และใส่ใจในเรื่องเดียวกัน จนสื่อถึงใจให้ผู้คนหลงรักแบรนด์ได้ นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยนำพาธุรกิจเพิ่มยอดขายขึ้นตามความนิยมชมชอบ

2. สื่อสารแบรนด์ได้มั่นคง สร้างความไว้วางใจและน่าเชื่อถือ

เมื่อแบรนด์สร้างสรรค์เนื้อหาและภาพลักษณ์ที่ดี หมั่นสื่อสารเรื่องราวที่น่าจดจำ คอยส่งต่อแรงบันดาลใจดี ๆ บอกเล่าถึงความใส่ใจของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ ใช้ความมั่นคงและจริงใจเป็นรากฐานที่ทำให้ผู้คนเชื่อถือในแบรนด์ของคุณ

3. สื่อสารจุดขายและเอกลักษณ์ที่แตกต่าง เพิ่มมูลค่าแบรนด์ได้ ไม่ต้องลงไปเล่นในสงครามราคา

ถ้าหากในอุตสาหกรรมที่คุณอยู่ ต่างก็ขายหรือให้บริการที่คล้ายคลึงกัน ก็จำเป็นต้องสื่อสารแบรนด์ของคุณให้ชัด เพื่อดึงดูดผู้คนที่ใช่เข้ามาหาแบรนด์ นอกจากจุดขายของผลิตภัณฑ์และบริการแล้ว แบรนด์จะต้องมีเอกลักษณ์ หมั่นนำเสนอตัวตนให้โดดเด่นและชัดเจน คอยสะท้อนผ่านการสื่อสารแบรนด์ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบแนวทางของแบรนด์ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นในท้องตลาดของคุณได้ แล้วคุณจะเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ได้โดยไม่จำเป็นต้องลงแข่งขันไปในสนามห้ำหั่นลดราคา

การวัดผล Brand Awareness 

แน่นอนว่าทุกเป้าหมายจำเป็นต้องมีบทพิสูจน์ นักธุรกิจและนักการตลาดต้องคอยติดตามวัดผลการสร้าง Brand Awareness มักจะให้คุณค่ากับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เพื่อสร้างการเติบโตของแบรนด์อย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดนั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและช่องทางการทำการตลาดที่คุณเลือกใช้

รูปแบบการตลาดเพื่อสร้าง brand awareness และวิธีการวัดผล

1. แบบสำรวจและแบบสอบถาม

ผลสำรวจการวิจัยทางการตลาด ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการตอบคำถามออนไลน์ หรือสัมภาษณ์ตัวต่อตัวยังคงจำเป็นในงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่สื่อสารแบรนด์ผ่านรูปแบบสื่อดั้งเดิม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโทรทัศน์, สื่อนอกบ้าน (OOH) ซึ่งวัดผลโดยตรงได้ยาก จะทราบผลตอบรับก็ต่อเมื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ตัวอย่างคำถามในแบบสำรวจ

  • ไม่นานมานี้คุณเคยรับชมโฆษณาน้ำอัดลมยี่ห้อใดในตัวเลือกต่อไปนี้
  • น้ำอัดลมยี่ห้อใดเป็นตัวเลือกแรกในใจคุณในตอนนี้
  • คุณตัดสินใจซื้อน้ำอัดลมยี่ห้อใดบ้างใน 3 เดือนที่ผ่านมา
  • คุณมักจะซื้อน้ำอัดลมจากที่ใด

2. การกล่าวถึงแบรนด์

ปัจจุบันแบรนด์สามารถติดตามสิ่งที่ผู้คนพูดถึงแบรนด์ทั้งในแง่บวกหรือแง่ลบได้จาก Hashtag ผ่าน Social Media Platform ต่าง ๆ , รีวิวบน E-marketplace, และเครื่องมือ Social Listening ที่ช่วยให้นักการตลาดเห็นแนวโน้มความคิดเห็นเกี่ยวกับแบรนด์ ผ่าน Influencer และผู้คนทั่วไปบนโลกโซเชียลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น

3. สำรวจการมีส่วนร่วมกับแบรนด์

การติดตามผลการมีส่วนร่วมกับแบรนด์โดยมากจะผ่านแคมเปญการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะจำนวน User Generated Content (UGC) ที่มีผู้ร่วมเล่น Challenge ผ่าน TikTok, จำนวนผู้ใช้ที่ Check-In หน้าร้านหรือ Tag หาแบรนด์ผ่าน Instagram, จำนวนผู้ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ หรือ On-site Event, ยอด View ผู้อ่านบนเว็บไซต์, และที่สำคัญคือยอด Engagement และการแชร์บอกต่อแบรนด์ผ่านโพสต์บน Social Media ต่าง ๆ  ของแบรนด์ เพื่อนักการตลาดจะเรียนรู้รูปแบบการสื่อสารแบรนด์ที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล แล้วนำมาปรับปรุงให้ตรงใจผู้ติดตามมากขึ้นในวันหน้า จนสามารถสร้างเสียงตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และกระจายคอนเทนต์ของแบรนด์ให้ผู้คนเห็นเป็นวงกว้างขึ้น

4. วิเคราะห์จำนวนผู้ติดตาม

นักการตลาดต้องทยอยเก็บผลการเติบโตของจำนวนผู้ติดตามแบรนด์เป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานผู้ติดตามและแนวโน้มการเติบโต รวมถึงต้องสำรวจคุณภาพของผู้ติดตามว่าตรงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์หรือไม่ เพื่อจะได้หาทางต่อยอดกับกลุ่มผู้ติดตาม หาทางกระตุ้นให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้าขาประจำ หรือแนะนำต่อไปยังกลุ่มลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้

กลยุทธ์การสร้าง Brand Awareness ด้วยการตลาดออนไลน์

แบรนด์สามารถสร้าง Brand Awareness ได้ตลอดกระบวนการตัดสินใจซื้อ 5 ขั้นนี้ ซึ่ง Cotactic จะขอแนะนำรูปแบบการตลาดออนไลน์ตามความเชี่ยวชาญ Digital Marketing ของเรา

แนะนำแนวทางสร้าง brand awareness ตามกระบวนการตัดสินใจซื้อ

ขั้นที่ 1 ตอบสนองความต้องการ (Problem or Need Recognition)

พฤติกรรมนักช้อป

ผู้ซื้อมักมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงบางอย่างอยู่ในใจ ซึ่งแรงปรารถนาเหล่านั้นอาจเกิดจากแรงจูงใจทางเหตุผลหรืออารมณ์ พวกเขาอาจจะอยากรู้สึกสดชื่น ต้องการดับกระหายคลายร้อน ปรารถนาจะสร้างความประทับใจให้แก่คนรักในวันพิเศษ หรือต้องการบางสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาได้

รูปแบบการสื่อสาร Brand Awareness ที่แนะนำ

ในขั้นต้นนี้ หากแบรนด์หรือนักการตลาดสามารถคาดเดาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ล่วงหน้า แล้วออกแบบการสื่อสารการตลาดให้ตอบสนองกับจังหวะชีวิตและความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ก็จะสามารถโน้มน้าวใจให้พวกเขาเลื่อนระดับการตัดสินใจไปยังขั้นต่อไป หรืออาจจะป้ายยาสำเร็จตั้งแต่แรก จนข้ามไปตัดสินใจซื้อเลยก็เป็นได้ ซึ่งกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่เราอยากแนะนำให้ใช้ในขั้นนี้ ได้แก่

1.1 Social Media Content Marketing

สร้างการสื่อสารแบรนด์ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้คนบนโลกโซเชียล เป็นการตลาดออนไลน์ระยะยาวที่ต้องใช้ความสม่ำเสมอ โดยแบรนด์ควรเลือกสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตามพฤติกรรมของผู้คนในโซเชียลนั้น ๆ ตามแต่กำลังผลิต และงบประมาณของแบรนด์

1.2 Branded Content ในสื่อออนไลน์

สร้างการสื่อสารผ่านบทสัมภาษณ์ในสื่อออนไลน์ หรือมอบความรู้ที่มาจากความเชี่ยวชาญของแบรนด์ เป็นการซื้อสื่อเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ (PR) แบรนด์ 

1.3 Online Display Advertising

สร้างการสื่อสารผ่าน Banner หรือ Display Ad. โดยนำขึ้นโฆษณาผ่านหน้าเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมข่าวสารในสังคมแวดวงต่าง ๆ ที่มี Traffic ของผู้คนเข้าชมเป็นจำนวนมากทุกวัน ช่วยให้กระจายการรับรู้แบรนด์ได้ดี เช่นเดียวกับสื่อนอกบ้าน (OOH) ที่ติดโฆษณาบน Billboard ตามท้องถนน

รูปแบบการสื่อสาร brand awareness ในขั้นตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ

ขั้นที่ 2 ค้นคว้าหาข้อมูล (Seeking Information)

พฤติกรรมนักช้อป

กลุ่มเป้าหมายเริ่มให้ความสนใจค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตนต้องการเพื่อตอบโจทย์บางอย่าง

รูปแบบการสื่อสาร Brand Awareness ที่แนะนำ

หากแบรนด์ต้องการสื่อสารการตลาดกับผู้บริโภคกลุ่มนี้จะต้องให้ข้อมูลที่มากเพียงพอ ตอบครบทุกข้อสงสัย ช่วยให้เห็นข้อดีและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ได้ ซึ่งกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่เราอยากแนะนำให้ใช้ในขั้นนี้ ได้แก่

2.1 SEO 

Search Engine Optimization เป็นเทคนิคการนำเสนอการสื่อสารแบรนด์ ตามความสนใจ Keyword สำคัญ ๆ ที่จะพาลูกค้าในอนาคตมาค้นพบแบรนด์ผ่านเครื่องมือสืบค้นข้อมูลดิจิทัลอย่าง Google หรือ Bing ซึ่งหากแบรนด์จัดทำเนื้อหารองรับความสนใจได้มากเท่าไหร่ และสามารถให้ข้อมูลพร้อมความกระจ่างแก่กลุ่มเป้าหมายได้ดี ก็จะสร้างความประทับใจแรกให้ผู้คนหน้าใหม่อยากทำความรู้จักแบรนด์คุณเพิ่มเติม และเพิ่มโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์และบริการของคุณ โดยไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาให้แก่แพลตฟอร์มสักบาท

2.2 SEM

Search Engine Marketing เป็นเทคนิคที่ช่วยเจ้าของธุรกิจและนักการตลาดแบบเร่งด่วน ผ่านการเสียเงินซื้อพื้นที่โฆษณาเว็บไซต์ของคุณบนหน้าแรกของแพลตฟอร์มสืบค้นข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าใหม่คลิกเข้ามาทำความรู้จักแบรนด์ ตามแต่ Keyword สำคัญที่นักการตลาดเลือกสื่อสาร Solution และข้อมูลสำคัญ ที่ทำให้ลูกค้าสนใจอยากศึกษาเพิ่ม จนคลิกเข้ามาสัมผัสเสน่ห์ของแบรนด์ผ่านหน้าเว็บไซต์ ถ้าแบรนด์ตอบโจทย์ของผู้สนใจและตอบสนองความต้องการข้อมูลได้ดีเพียงพอ ลูกค้าก็อาจตัดสินใจติดต่อเข้ามาหาแบรนด์เพื่อรับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

รูปแบบการสื่อสาร brand awareness ในขั้นค้นคว้าหาข้อมูลระหว่างการตัดสินใจซื้อ

ขั้นที่ 3 เปรียบเทียบคุณสมบัติและราคา (Evaluation of Alternatives)

พฤติกรรมนักช้อป

กลุ่มเป้าหมายมองหาข้อเปรียบเทียบ เพื่อประเมินคุณภาพและความโดดเด่นที่ตอบโจทย์ของแต่ละตัวเลือกก่อนตัดสินใจซื้อ

รูปแบบการสื่อสาร Brand Awareness ที่แนะนำ

แบรนด์ต้องสื่อสารการตลาดโดยมุ่งเน้นคุณค่า ซึ่งกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่เราอยากแนะนำให้ใช้ในขั้นนี้ ได้แก่

3.1 Testimonials ผ่านหน้าเว็บไซต์ Landing Page

การสื่อสารแบรนด์ผ่านลูกค้าตัวจริงที่มีตัวตนและมีความน่าเชื่อถือสูงจะช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าหน้าใหม่รู้สึกวางใจในแบรนด์มากขึ้น

3.2 Influencer Marketing

การสื่อสารแบรนด์ผ่านการจ้าง Influencer ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิด สามารถโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้โดยตรง จะช่วยให้ง่ายต่อการเปิดใจลูกค้าใหม่ให้อยากลองใช้ผลิตภัณฑ์และสินค้าของแบรนด์

3.3 User-Generated Content (UGC) Review และ Affiliate Marketing

การสื่อสารแบรนด์ผ่านการสร้างรีวิวโดยบุคคลทั่วไป เพื่อเพิ่มกระแสของแบรนด์ระดับ Nano Influencer บน Social Media โดยแทบไม่ต้องใช้งบประมาณการตลาด ซึ่งกำลังจะกลายเป็นสามัญที่ขาดไม่ได้ในการทำการตลาดออนไลน์ เพียงเปิดโอกาสให้ลูกค้าของแบรนด์ ซื้อสินค้ามาทดลองใช้เองและเข้าร่วมรีวิวหากใช้แล้วดีอยากบอกต่อ เพียงแนบลิงก์ในโพสต์สาธารณะของพวกเขา เพื่อนำทางผู้คนไปยังร้านค้าออนไลน์ของแบรนด์ ถ้าหากพวกเขาป้ายยาให้คนรอบตัวและผู้ติดตามซื้อตามได้สำเร็จ ก็จะได้รับส่วนแบ่งการขายตามจำนวนการซื้อจริงซึ่งสามารถพิสูจน์ได้

รูปแบบการสื่อสาร brand awareness ในขั้นเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคา

ขั้นที่ 4 ประเมินคุณค่าและความถูกใจ (Value Assessment)

พฤติกรรมนักช้อป

กลุ่มเป้าหมายกำลังอยู่ระหว่างเปรียบเทียบคุณภาพประกอบกับช่วงราคาที่ตนเองมีกำลังซื้อ

รูปแบบการสื่อสาร Brand Awareness

แบรนด์ต้องสื่อสารการตลาดโดยกระตุ้นความสนใจด้วยดีลสุดคุ้ม เพิ่มของสมมนาคุณ ส่วนลด หรือโน้มน้าวให้ยอมจ่ายเพิ่มเพื่อรับสิทธิพิเศษที่ให้มากกว่า ซึ่งกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่เราอยากแนะนำให้ใช้ในขั้นนี้ ได้แก่

4.1 Sponsorship

สื่อสารแบรนด์ผ่านเนื้อหารายการออนไลน์ของเหล่า Content Creator ชื่อดังที่เป็นนักรีวิวผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ พร้อมแจกโค้ดส่วนลดสำหรับนำมาใช้รับสิทธิพิเศษที่หน้าร้านหรือซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ของแบรนด์ หรือแบรนด์อาจเข้าร่วมสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ให้ผู้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สนับสนุนคุณค่าที่แบรนด์อยากส่งมอบโดยสามารถถ่ายทำหรือเก็บภาพผู้คนที่เข้าร่วมงานมาสื่อสารแบรนด์ต่อยัง Owned Media ของแบรนด์ได้น่าสนใจและมีความหมายพิเศษมากไปกว่าการโฆษณา รวมถึงงานทอล์ก Conferrence ระดับชาติที่มักมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบรนด์จะได้รับข้อมูลลูกค้าจากการสมัครลงทะเบียนเป็น Visitor ตามแต่ระดับข้อตกลงที่ผู้เข้าร่วมยินยอม  เพื่อทำ Retargeting เสนอขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้ในภายหลังจบงานผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ต่อไป

4.2 Giveaway Contest 

ชวนผู้ติดตามแบรนด์ที่กำลังจะกลายมาเป็นลูกค้า รวมถึงลูกค้าเก่าที่ห่างหายไปนาน มาร่วมสนุกกับแคมเปญการตลาด ลุ้นรับรางวัล Branded Merchandise หรือรับตัวอย่างทดลองไปใช้ฟรี โดยมีข้อแลกเปลี่ยน เช่น สร้างสรรค์ UGC ตามโจทย์ที่แบรนด์ให้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

รูปแบบการสื่อสาร brand awareness ในขั้นประเมินความคุ้มค่าและความถูกใจ

ขั้นที่ 5 อยู่ระหว่างตัดสินใจซื้อ (Assessment of Purchase Decision)

พฤติกรรมนักช้อป

กลุ่มเป้าหมายมีตัวเลือกในใจแล้วแต่ยังคงลังเลใจ และยังชะลอการตัดสินใจซื้อออกไป

รูปแบบการสื่อสาร Brand Awareness

แบรนด์สามารถสื่อสารการตลาดเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อให้ง่ายขึ้น ด้วยกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่เราอยากแนะนำให้ลองใช้ ได้แก่

5.1 Email Marketing

ลูกค้าหลายคนอาจเลือกสินค้าใส่ตระกร้าร้านออนไลน์ทิ้งไว้แต่ยังไม่สั่งซื้อ แบรนด์สามารถส่งอีเมลแจ้งเตือนให้พวกเขากลับมาลองพิจารณาดูใหม่อีกครั้งได้ หรือส่งข่าวสารผ่านอีเมลชวนมาร่วมกิจกรรม หรือใช้สิทธิพิเศษในช่วงเทศกาลที่กำลังจะมาถึง

5.2 Live Commerce

ไลฟ์สดขายของผ่านแพลตฟอร์ม Live Streaming ต่าง ๆ เป็นที่นิยมอย่างมากในฝั่งเอเชีย เพราะลูกค้าบนโลกโซเชียลมักชอบสื่อสารพูดคุยกับผู้ขาย สอบถามข้อสงสัย หรือชอบฟังเรื่องเล่าโน้มน้าวใจก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งในปัจจุบันมีระบบที่ออกแบบมาเพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อและผู้ขายโดยเฉพาะ เพื่อสนองตอบความต้องการได้ทันใจ ใครสนใจอยากได้ก็สั่งปุ๊บจ่ายปั๊บ

5.3 จุดกระแสสร้าง UGC จาก Pop-up Store

การออกร้านขายของสมัยนี้ไม่ใช่แค่ตั้ง Booth ขายสินค้าอีกต่อไป แต่แบรนด์จะต้องเล่าเรื่องอย่างสร้างสรรค์ หา Theme สื่อสารแบรนด์ สร้างจุดดึงดูดสายตา ให้ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาอยากหยุดเข้าร่วมถ่ายภาพ เพื่อสร้างกระแสบอกต่อผ่าน Social Media ที่อาจจะลงทุนเท่า ๆ การติด Billboard ในย่านสำคัญ และยังสามารถเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าที่เริ่มให้ความสนใจได้มาเยี่ยมชม ทดลองใช้สินค้าจริงดูก่อน เพิ่มโอกาสให้ Sales ปิดดีลการขายได้ง่ายกว่า

รูปแบบการสื่อสาร brand awareness ในขั้นอยู่ระหว่างการตัดสินใจซื้อ

ตัวอย่างการสื่อสารสร้าง Brand Awareness ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่าง

Cotactic รวบรวมตัวอย่าง 5 แบรนด์ดังทั้งในต่างประเทศและในไทย ที่ทำการตลาดสร้าง Brand Awareness ในแบบของตัวเองจนปัง ในหลากหลายรูปแบบมาให้เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดลองศึกษาและเก็บไว้เป็นไอเดีย

1. Nike

กรณีศึกษากลยุทธ์การสร้าง Brand Awareness ของ Nike

‘Just do it’ (1987)

วลีเด็ด “Just do it” สโลแกนฮิตติดหูโดย ‘Dan Wieden’ ครีเอทีฟโฆษณาผู้คิดถ้อยคำง่ายแต่ทรงพลังนี้ หลักจากโฆษณาตีพิมพ์ลงนิตยสารและขึ้น Billboard ก็เปลี่ยนวิถีแบรนด์ไปตลอดกาล พลิกยอดขายเอาชนะแบรนด์คู่แข่งอย่าง Reebok ที่ครองตลาดอยู่ในสมัยนั้น จนได้ส่วนแบ่งทางการตลาดมาถึง 25% และตั้งแต่นั้นมา Nike ก็ไม่ได้เป็นแค่แบรนด์ Sportswear ขายรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา แต่ขายแนวคิดของคนเท่คนอึดที่ฮึดลงมือทำจนฝันกลายเป็นจริงด้วย แรงขับเคลื่อนจากถ้อยคำนี้ เป็นเหมือน Quote สร้างแรงบันดาลใจ ช่วยเพิ่มความนิยมให้ผู้คนหันมาสวมใส่กันมากขึ้น เพื่อสะท้อนแนวคิด Lifestyle การดำเนินชีวิตที่ตนเองให้การยอมรับนับถือ จน Nike ค่อย ๆ กลายเป็นตัวเลือกของ Fashion Icon ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดหลายคนมาถึงปัจจุบัน

‘Believe in something. Even if it means sacrificing everything.’ (2018)

“Dream Crazy” คือแคมเปญสื่อสารการตลาดที่ทำให้ Nike ได้รับรางวัล Creative Arts Emmys ในปี 2019 หลังจากไม่เคยชนะมานานตั้งแต่ปี 2002 เพราะการเลือก ‘Colin Kaepernick’ นักเตะ NFL ผู้ยืนหยัดต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติและสีผิวในวงการกีฬาของสหรัฐอเมริกา เพิ่มมูลค่าแบรนด์ขึ้น 6 พันล้านเหรียญภายใน 2 สัปดาห์

‘You can’t stop us’ (2020)

ภาพยนตร์โฆษณา Video Commercial ชุดต่อ ๆ มาก็ยังคงตอกย้ำการสื่อสารจุดยืนเดิมของแบรนด์ ที่สนับสนุนความฝันของทุกคนที่มีล้มมีลุก แต่ไม่เคยหยุดยอมแพ้ ส่งต่อความเชื่อที่ว่า หากคนเรามีความปรารถนาที่แรงกล้ามากพอ ก็พร้อมจะรีดศักยภาพ และยืนหยัดเอาชนะทุกอุปสรรคจนกว่าจะไปถึงความสำเร็จ

2. Coca-Cola

Share a Coke’ (2013)

กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ของ Coke ที่วางบทบาทของแบรนด์ให้เป็นตัวกลางเชื่อมโยงมิตรภาพระหว่างเพื่อน เน้นสื่อสารเล่าเรื่องผ่านความรู้สึกมีความสุขที่ได้ร่วมแบ่งปันเครื่องดื่มซ่า ๆ เพื่อส่งต่อความสดชื่นให้แก่คนรอบข้างในแคมเปญ “Share A Coke” นั้น เป็นตัวอย่างที่ยังร่วมสมัย แม้ยุคนั้นจะยังไม่มี Social Media แต่ก็ฮอตฮิตติดกระแสกลายเป็นที่พูดถึงอย่างมาก และยังนับเป็น Persoalized Marketing ยุคแรก ๆ อีกด้วย เพราะผู้ให้สามารถเลือกซื้อน้ำอัดลมที่มีชื่อตรงกับผู้รับบนกระป๋องได้ จึงเหมาะอย่างมากที่จะมอบให้แก่คนสำคัญในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงความใส่ใจเล็ก ๆ ที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้รับรู้สึกเป็นคนพิเศษได้ แม้จะเป็นของขวัญราคาไม่แพงก็ตาม ซึ่งกลยุทธ์นี้ช่วยเพิ่มยอดขายให้แบรนด์ได้ 8% ภายใน 2 ไตรมาส

Create Real Magic’ (2023)

Coke หยิบยืมเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่กำลังมาแรง ดึงพันธมิตร OpenAI ช่วยสร้าง Generative AI Platform ที่ใช้ GPT-4 และ DALL-E มาช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ ให้ผู้คนมาลิ้มลองสัมผัสการสร้างภาพฝันในจินตนาการไปกับโค้ก ด้วยการจัดประกวด Digital Artist Contest เพื่อคัดเลือกภาพขึ้นแสดงบน Billboard ที่หน้า New York’s Time Square และ London’s Piccadilly Circus

3. Apple

กรณีศึกษาการสร้างการรับรู้แบรนด์ของ Apple ผ่านงานเปิดตัวแสดงสินค้า (Product Launch Events) ซึ่งมักสร้างภาพตราตรึงในใจผู้คน จนกลายเป็นแบรนด์ Tech ที่มีสาวกตั้งตาคอยเกาะขอบเวทีและขอบจอ รอดูนวัตกรรมและดีไซน์ล้ำสมัยในทุก ๆ ปี ผ่านการนำเสนอ Keynote ที่ไม่เหมือนใครของ CEO และทีมผู้บริหาร ที่มุ่งเน้นขายประสบการณ์ให้ลูกค้า ซึ่งไม่เคยคาดคิดเหมือนกันว่าตัวเองมีความต้องการสิ่งนี้มาก่อน ทั้งตอบโจทย์และน่าตื่นตาตื่นใจไปพร้อมกัน จนทำให้ใคร ๆ ต่างเกิดความรู้สึกอยากได้ อยากครอบครองเป็นเจ้าของ และอยากลองใช้ก่อนใคร

‘Reinvents the Phone with iPhone’ (2007)
การกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของผู้ก่อตั้ง Steve Jobs พา iPhone มาเปิดตัวสั่นสะเทือนวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยการหลอมรวมโทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป และเครื่องฟังเพลงเข้าไว้ด้วยกัน

‘Shot on iPhone’ (2023)

Apple’s CEO คนปัจจุบัน Tim Cook มาเปิดเผยเบื้องหลัง Event ครั้งนี้ว่าถ่ายทำด้วย iPhone 15 Pro เพื่อแสดงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่ไร้ขีดจำกัด รวมถึงยังมี IPPAWARDS จัดประกวดภาพถ่ายจากกล้องโทรศัพท์ iPhone ทุกปี ตัดสินโดยคณะกรรมการทรงคุณวุฒิในวงการสื่อ ให้ใบประกาศเกียรติคุณ และรางวัลสูงสุดจะได้รับทองคำแท่ง พร้อมจัดแสดงภาพถ่ายบน Digital Art Gallery บนเว็บไซต์และ IPPAWARDS Instagram

4. Stanley

Standley แบรนด์แก้ว Tumbler เก็บความเย็นของสายแคมปิ้งรุ่นปู่ ที่มีอายุแบรนด์ยาวนานกว่า 110 ปี เพิ่มความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ธุรกิจโตพรวดขึ้นจากปี 2019 ทำรายได้ราว 74 ล้านเหรียญ มาถึงปี 2023 รายได้พุ่งไปถึง 750 ล้านเหรียญ เนื่องมาจากพลังของการ Recommend

สื่อยักษ์ใหญ่อย่าง The Wall Street Journal ยกให้เป็น “The new office status symbol” หลังจากแบรนด์ปรับปรุงภาพลักษณ์และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยขึ้น สอดคล้องกับรสนิยมของคนรุ่นใหม่ หันมาเจาะตลาด Gen Z มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อได้ไป Collaboration กับ Stabucks ในปี 2023 สีสันของแก้วจึงมีความ Chic ขึ้นเป็นพิเศษ จนขายดีหมดแผงต้องจองซื้อออนไลน์

แบรนด์ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าหน้าใหม่ใน TikTok ที่มักมาอวดแก้วของตนเองผ่านแฮชแท็ก #StanleyQuencher และ #StanleyCup รวมจำนวนการรับชมวิดีโอมากกว่า 153M ถึง 290.8M ครั้ง และที่เป็นกระแสไวรัลสุด ๆ คือรีวิวหลังผู้ใช้รายหนึ่งประสบอุบัติเหตุรถยนต์เกิดไฟลุกภายในตัวรถ แต่แก้วกลับยังคงรอดมาได้ สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทนทานของวัสดุคุณภาพ ช่วยยืนยันความเป็นของจริงและตัวจริงอย่างที่เขาเลื่องลือกัน

5. Jones Salad

ร้านอาหารคลีนแฟรนไชส์สัญชาติไทยที่ผสมผสานรสชาติน้ำสลัดแบบ Fusion Food ที่โด่งดังจากการสื่อสารแบรนด์ผ่านงานเขียนการ์ตูนให้ความรู้สุขภาพบน Facebook Page ซึ่งเรา ๆ ชาวไทยต่างก็ต้องเคยผ่านตากับ Character คุณลุงมีหนวดสวมชุดเอี๊ยม ผูกผ้าพันคอแบบชาวสวนเหมือนตัวละครในเกมปลูกผัก ที่ทั้ง Friendly และมีอารมณ์ขัน มักมาปรากฎตัวอยู่ในภาพ Infographic นำเสนอเนื้อหาสาระประโยชน์ อ่านเข้าใจง่าย เพราะเจ้าของแบรนด์วาดฝันไว้ว่าอยากจะส่งต่อคุณค่า “ลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล ด้วยการทำเรื่องสุขภาพให้ง่าย สนุก และอร่อย”

ความขยันสื่อสารแบรนด์อย่างสม่ำเสมอมายาวนานเป็นสิบปี ตั้งแต่ปี 2013 และยังคงอยู่ยงถึงปัจจุบัน จนกลายมาเป็นร้านประจำของใครหลายคน นับเป็นอีกกรณีศึกษาการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง สามารถสร้างฐานแฟนผู้ติดตามเพจหลักล้าน ยอดขายหลักร้อยล้าน ที่ไม่ง่ายในยุคนี้ ต้องอาศัยทั้งความต่อเนื่องและความตั้งใจดี ที่ทำให้ผู้คนเต็มใจจะช่วยแชร์โพสต์ของแบรนด์ออกไปเป็นวงกว้าง ด้วยความห่วงใยเพื่อน ๆ รอบตัวด้วยนั่นเอง

ตัวอย่าง Brand Awareness ของ Jones Salad

Credit: Jones Salad

Cotactic Media หวังว่าเราจะได้มีส่วนช่วยเจ้าของธุรกิจและนักการตลาด เพิ่มความเข้าใจวิธีการสื่อสารแบรนด์ในวงกว้าง เห็นหัวใจสำคัญของการสร้าง Brand Awareness และเข้าใจรายละเอียดยิบย่อยของแต่ละรูปแบบงานสื่อสารการตลาด เพื่อจะเลือกกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ใช่ เตรียมตัวจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดในแบบที่เป็นคุณ

สนใจปรึกษา Cotactic

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่มีทีมการตลาด หรือเป็นนักการตลาดที่ต้องการผู้ช่วยทำโฆษณาให้ติดตลาดออนไลน์ ไม่อยากสูญเงินเปล่าให้แพลตฟอร์มโฆษณาจากการลองผิดลองถูกเองแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ

ลองให้ Cotactic Media เสือในวงการ Digital Marketing Agency อย่างเรา ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 8 ปี คอยเป็นผู้ช่วยคุณเพิ่มความมั่นใจในทุกความท้าทายทางธุรกิจ เราพร้อมให้คำปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและสร้างยอดขายไปพร้อมกัน ช่วยคุณต่อสู้กับคู่แข่งในแบบฉบับของคุณ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้แบรนด์คุณเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ติดต่อขอรับคำปรึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์กับ Cotactic ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารับทราบโจทย์ของคุณ คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


Phone: 065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic

Line: @cotactic

——————————————————————–

Sources:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Micro Influencer

Micro Influencer พลังเล็กที่ทรงอิทธิพลกว่าที่คิด

Google SERP

ทำไมแบรนด์ถึงควรทำ SEO เรียนรู้กลยุทธ์ติดอันดับการค้นหาผ่าน Google SERP หรือ SERPs

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้