click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

การตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์เชื่อมโยงกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันมีสิ่งที่เรียกว่า Influencer Marketing ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะใน Instagram, Facebook, TikTok, YouTube และช่องทางออนไลน์อื่น ๆ  ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างแบรนด์และกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ โดย Influencer จะรีวิว แนะนำ บอกต่อสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและใช้บริการของลูกค้า โดยกลุ่มที่กำลังมาแรงในตอนนี้คือ ‘Micro Influencers’ เป็น Influencer ที่ได้รับความสนใจจากทั้งธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้  ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับแบบรอบด้าน รวมทั้งข้อดีและเคล็ดลับการเลือกใช้บุคคลให้ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

Micro Influencer คือ

Micro influencer คือ

บุคคลในที่มีชื่อเสียงและมีความถนัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น อาหาร กีฬา เกม เครื่องสำอางและอื่น ๆ มีผู้ติดตามไม่เกิน 100,000 คน แต่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะทางได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ติดตามมักมีความสนใจคล้ายกับไมโครอินฟลูเอนเซอร์ ดังนั้น เมื่อไมโครอินฟลูเอนเซอร์รีวิวหรือโฆษณาสินค้าใดก็จะถูกมองว่ามีความน่าเชื่อถือและเพิ่มยอดขายของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นนักกีฬาวิ่ง เมื่อโปรโมตรองเท้าวิ่งก็ย่อมได้รับความสนใจจากผู้ติดตามและไปสู่การซื้อสินค้านั่นเอง การเจาะตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ผ่านไมโครอินฟลูเอนเซอร์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม Influencer Marketing ไม่ได้มีเพียงไมโครอินฟลูเอนเซอร์ แต่ยังถูกแบ่งเป็นแบบอื่น ๆ อีก ดังนี้

อินฟลูเอนเซอร์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ

1. Celebrity

กลุ่มที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป มักเป็นดารา นักแสดง นักร้อง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างมากในสังคมออนไลน์ แม้ Celebrity จะไม่ได้เข้าถึงผู้ติดตามเฉพาะทางมากเท่าไม่แต่ก็ช่วยเพิ่มโอกาสให้คนทั่วไปเห็นสินค้าหรือบริการได้ในวงกว้าง

2. Macro Influencer

มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 คน สามารถดึงคนจำนวนมากให้รู้จักสินค้าหรือบริการได้ แต่ไม่ได้เน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่ต้องการผลักดันแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำของคนทั่วไปได้มากขึ้น

3. Micro Influencer

มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย 10,000 – 100,000 คน เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ติดตามจึงให้ความเชื่อถือเพราะมองว่าเป็นผู้ที่มีความถนัดและรู้จริงในด้านนั้น ๆ และสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของผู้ติดตามได้ อีกทั้งค่าตอบแทนยังไม่สูงเท่า Celebrity และ Macro Influencer แต่กลับกระตุ้นยอดขายและนำเสนอแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ดี จึงถือว่าคุ้มค่ามากทีเดียว

4. Nano Influencer

มีจำนวนผู้ติดตามอยู่ที่ 1,000 – 10,000 คน เป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับเริ่มต้น มีลักษณะเด่นคือคนเข้าถึงได้ง่ายที่สุด เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่ได้มีงบประมาณมากนัก

ข้อดีของ Micro Influencer

ข้อดีของ Micro influencer

ได้รับความนิยมจากธุรกิจมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่หลายธุรกิจมักจะเน้นกลยุทธ์การตลาดไปที่อินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดผู้ติดตามจำนวนมากอย่าง Celebrity หรือ Macro Influencer แต่ปัจจุบันไมโครอินฟลูเอนเซอร์กลายเป็นตัวเลือกที่โดดเด่น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ดังนี้

1. ลูกค้าเชื่อมั่น

เนื่องจากเป็นผู้ที่สนใจ มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เมื่อรีวิวหรือแนะนำสินค้าและบริการ ผู้ติดตามจึงให้ความเชื่อมั่นเพราะเป็นการแนะนำจากผู้รู้ตัวจริงและยังมีภาพลักษณ์ที่จริงใจ ไม่ดูเป็นการยัดเยียดเพื่อโฆษณามากเกินไป 

2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้า

ผู้ติดตามมักมีความชอบไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่แบรนด์จะสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ เพราะลูกค้าเหล่านี้มีส่วนร่วมกับโพสต์ที่ โปรโมตและมีแนวโน้มที่จะคล้อยตามอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาติดตาม

3. ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

ค่าใช้จ่ายสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ที่มียอดผู้ติดตามจำนวนมากนั้นแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งทางแบรนด์อาจได้รับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มเพราะไม่ใช่ผู้ติดตามทุกคนจะสนใจสินค้า ในทางกลับกัน สำหรับการจ้างงานทางแบรนด์ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนสูงลิ่ว แต่กลับเพิ่มยอดขายและเข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนการเลือก Micro Influencer

ขั้นตอนการเลือก Micro influencer

เป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแคมเปญ จึงควรมีวิธีการเลือกที่เป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้ร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามกับแบรนด์ได้ นำไปสู่การสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่แบรนด์ โดยขั้นตอนการเลือกมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของแคมเปญ

เริ่มแรกแบรนด์ต้องกำหนดเป้าหมายของแคมเปญก่อน เช่น ต้องการเพิ่มยอดขาย, เพิ่มผู้ติดตามทางช่องโซเชียลมีเดีย, เพิ่มจำนวนการกล่าวถึงแบรนด์, เพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์ เป็นต้น การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนจะทำให้รู้ว่าการร่วมมงานกับอินฟลูเอนเซอร์นั้นคุ้มค่ากับรูปแบบธุรกิจของเราหรือไม่

2. วิเคราะห์ผู้ติดตาม

ผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์คือกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการตีตลาด จึงต้องวิเคราะห์ผู้ติดตามก่อนว่ามีแนวโน้มซื้อผลิตภัณฑ์ของทางแบรนด์หรือไม่ โดยสามารถศึกษาจาก Demographic (เพศ อายุ เชื้อชาติ ความสนใจ สถานะทางเศรษฐกิจ ฯลฯ) หากพบว่าเหมาะจะเป็นกลุ่มลูกค้าของทางแบรนด์จึงค่อยมองหาอินฟลูเอนเซอร์ที่มีไลฟ์สไตล์ตรงกับผู้ติดตามก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น

3. ความเกี่ยวข้องกับแบรนด์

อินฟลูเอนเซอร์ที่จะร่วมงานกับแบรนด์ควรมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์ เช่น หากทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องสำอางก็ควรเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ชื่นชอบการแต่งหน้าหรือทำคอนเทนต์การแต่งหน้าเป็นประจำ เพราะการอยู่ในวงการเดียวกันจะทำให้ไมโครอินฟลูเอนเซอร์สามารถทำความเข้าใจแบรนด์ได้ง่ายและตรงจุดมากขึ้น อีกทั้งหากไมโครอินฟลูเอนเซอร์ได้ลองใช้ผลิตภัณฑ์จริงก็จะสามารถอธิบายรายละเอียดแก่ผู้ติดตามได้ดียิ่งขึ้น เป็นการดึงดูดให้ผู้ติดตามลองใช้สินค้าตามนั่นเอง

4. พิจารณาความน่าเชื่อถือ

การคัดเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่น่าเชื่อถือส่งผลให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือตามไปด้วย หลีกเลี่ยงการว่าจ้างผู้ที่ซื้อจำนวนผู้ติดตาม หรือซื้อ Engagement นอกจากนี้ยังควรศึกษาว่าคอนเทนต์ก่อน ๆ ของอินฟลูเอนเซอร์มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด รีวิวอย่างจริงใจหรือแต่งเติมข้อมูลจนเกินความเป็นจริงหรือไม่ หากแบรนด์ร่วมงานกันอาจสร้างภาพลักษณ์เชิงลบต่อแบรนด์ได้ ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว

5. รายละเอียดการจ้างงาน

ก่อนเริ่มงานทางแบรนด์ควรบอกเล่ารายละเอียดของสินค้าหรือบริการและบอกเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้อินฟลูเอนเซอร์เห็นภาพและสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้ตรงจุดประสงค์ของแคมเปญ ทางแบรนด์อาจให้อินฟลูเอนเซอร์ทำคอนเทนต์ตามความถนัดหรือจะกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมก็ได้ เช่น วันที่ลงคอนเทนต์, ช่องทางออนไลน์ที่เผยแพร่อย่าง Facebook, Instagram, YouTube หรือเป็นคำพูดที่อยากให้ถ่ายทอด เป็นต้น

6. วิเคราะห์ และติดตามผล

ธุรกิจควรมีการประเมินผลตลอดระยะเวลาของแคมเปญเพื่อวิเคราะห์ว่าแบรนด์ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยสามารถประเมินจากการวัดผล ROI ที่บ่งชี้ความสำเร็จ เช่น Reach (การมองเห็น), Engagement (การมีส่วนร่วม เช่น ไลก์, คอมเมนต์และแชร์), Awareness (การที่แบรนด์ถูกพูดถึง), การมียอดเข้าชมเพจหรือเว็บไซต์เพิ่มขึ้น เป็นต้น หากผลตอบรับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ก็ต้องกลับมาพิจารณาถึงสาเหตุอีกครั้งอย่างละเอียด เพื่อให้การทำการตลาดครั้งต่อไปไม่ผิดพลาดอีก

ตัวอย่าง Micro Influencer

1. Lonni Smith

"</p

Lonni Smith ผู้มีอิทธิพลด้านความสวยความงาม มีผู้ติดตามใน Instagram ประมาณ 68,000 คน และจากยอดผู้ติดตามที่มีไม่น้อยทำให้ Lonni ได้ร่วมงานกับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ และยังก่อตั้งบริษัท Sevyn Care ซึ่งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายแบบออร์แกนิกเป็นของตัวเอง อีกทั้ง Lonni ยังถูกจัดให้เป็นไมโครอินฟลูเอนเซอร์ที่โดดเด่นเป็นอันดับต้น ๆ ในปี 2022 อีกด้วย

2. Francesca Newman-Young

"</p

Francesca Newman-Young เป็นผู้ที่มีความสนใจทั้งด้านไลฟ์สไตล์ แฟชั่น และการท่องเที่ยว Francesca มีผู้ติดตามราว 96,000 คนใน Instagram และได้ร่วมงานกับหลายธุรกิจ เช่น John Frieda เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ทำให้ Francesca ถูกนับว่าเป็นคนที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ระดับหนึ่งทีเดียว

3. Alina Gavrilov

"</p

Alina Gavrilov เป็นอินฟลูเอนเซอร์ด้านแฟชั่นและการแต่งกาย Alina ถือได้ว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ โดยมีผู้ติดตามใน Instagram กว่า 100,000 คน เสื้อผ้าแต่ละชุดที่ Alina ใส่ในชีวิตประจำวันจึงได้รับความสนใจไม่น้อย และเหมาะที่แบรนด์จะร่วมงานเพื่อทำ  Influencer Marketing

สรุป

Micro Influencer เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมออนไลน์ระดับหนึ่ง แม้มีผู้ติดตามไม่มากแต่กลับเป็นกำลังสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ เพราะบุคคลกลุ่มนี้ทำหน้าที่เชื่อมโยงแบรนด์ให้เข้ากับลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้เป็นอย่างดี เพิ่มยอดขายให้แบรนด์ได้อย่างดีเยี่ยมและผลักดันให้แบรนด์เป็นรู้จักในสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตามควรเลือกบุคคุลที่มีคุณภาพและเข้าใจจุดประสงค์ของแบรนด์ เพื่อให้สร้างสรรค์คอนเทนต์ออกมาได้น่าสนใจและจริงใจ ไม่ให้ดูเป็นการโฆษณาเกินจริง เห็นได้ชัดว่าการทำการตลาดรูปแบบนี้เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความคุ้มค่าให้กับธุรกิจได้จึงไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง!

สนใจปรึกษา Cotactic

Digital Marketing Agency ประสบการณ์กว่า 8 ปี ที่พร้อมจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมวางแผนงานการตลาดดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของคุณ 

ปลดล็อกศักยภาพแบรนด์ของคุณอย่างเข้าใจวัตถุประสงค์เบื้องลึก ช่วยคุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจขึ้นไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ใช่ พร้อมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะคอยสนับสนุนงานสื่อสารการตลาดออนไลน์ ให้คุณประหยัดเวลาและทรัพยากรภายในของคุณ เพิ่มผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อทุกการลงทุนในโฆษณาออนไลน์

ติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรีจาก COTACTIC ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารู้โจทย์ที่ท้าทายของคุณในเบื้องต้น คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544 

Sources:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Google SERP

ทำไมแบรนด์ถึงควรทำ SEO เรียนรู้กลยุทธ์ติดอันดับการค้นหาผ่าน Google SERP หรือ SERPs

RMF Model

RFM Model คืออะไร? ทำไมการแบ่งกลุ่มลูกค้าถึงสำคัญ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้