click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ในปัจจุบันการทำธุรกิจออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนจากการซื้อของหน้าร้านมาเป็นซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพราะนอกจากจะสะดวกสบายไม่เสียค่าเดินทางแล้ว ยังมีโปรโมชัน ส่วนลด และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ให้ลูกค้าเข้าร่วมมากมาย โดยช่องทางที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญคือทางเว็บไซต์ เพราะเป็นช่องทางออนไลน์ที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย โดยสามารถสร้างเว็บไซต์ได้เองจาก Shopify เป็นการสร้างเว็บไซต์ที่มีระบบการจัดการหลังบ้านที่ดี เหมาะกับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำเองหรือธุรกิจไม่ใหญ่มาก หน้าเว็บไซต์ก็จะถูกออกแบบให้ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ดึงดูดให้มาซื้อสินค้าและใช้บริการซ้ำในภายหลังได้ เห็นได้ว่าการมีเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งยังสร้างไม่ยากอย่างที่คิด หรืออยากปรึกษา Cotactic บริษัทรับทำเว็บไซต์ เพื่อหาแนวทางในการสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจของคุณ ทั้งนี้บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักรูปแบบของ Shopify ฟีเจอร์หลัก รวมถึงข้อดีข้อเสีย ตามไปอ่านกันได้เลย

Shopify คือ

Image3

Shopify คือแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์หรือเว็บไซต์ E-Commerce แบบครบวงจร สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าถึงลูกค้าผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ แม้ไม่มีความรู้ด้านการสร้างเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมหรือ Coding ก็สามารถสร้างเองได้ง่าย ๆ ผ่าน Shopify โดย Shopify มีทั้งระบบซื้อขาย จ่ายเงิน รวมทั้งระบบหลังบ้านไว้แก้ไขในส่วนที่ต้องการ และการออกแบบของ Shopify มีลักษณะที่ใช้งานง่าย เหมาะกับลูกค้าที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก ทั้งยังมีสีสันรูปแบบสวยงามดึงดูดตา และความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ยังรวดเร็ว ทั้งหมดล้วนสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ลูกค้าจนลูกค้ากลับมาใช้งานซ้ำในภายหลัง โดย Shopify มีด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่

1. Basic Shopify

Basic Shopify นี้ได้รับความนิยมและราคาถูกที่สุดคือ 19 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการเดี่ยว และเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการมือใหม่เริ่มต้นทำเว็บไซต์ผ่าน Shopify ด้วย โดยในเดือนแรกมีโปรโมชันจ่ายเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อทดลองระบบก่อน โดย Basic Shopify มีคุณสมบัติโดดเด่น อย่างเช่น การรองรับการแชทตลอด 24 ชั่วโมง, มี POS Lite เป็นต้น

2. Shopify

แบบที่สองเป็น Shopify มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 49 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มเล็ก มีคุณสมบัติเหมือน Basic Shopify แต่มีบางอย่างเพิ่มให้ เช่น เพิ่มบัญชีสำหรับพนักงาน 5 บัญชี เป็นต้น

3. Advanced Shopify

Advanced Shopify มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 299 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังขยับขยาย มีฟังก์ชันเพิ่มเติมจาก Basic Shopify และ Shopify เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงิน 10 เท่า, เพิ่มบัญชีของพนักงานเป็น 15 บัญชี เป็นต้น

4. Shopify Plus

Shopify รูปแบบสุดท้ายคือ Shopify Plus มีค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ เหมาะกับธุรกิจที่มีความซับซ้อน มีสินค้าหลายประเภทและมียอดขายที่สูง ฟังก์ชันที่มีมาให้กับ Shopify Plus ย่อมมีมากกว่าทั้ง 3 รูปแบบก่อนหน้า ฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น ไม่จำกัดบัญชีสำหรับพนักงาน, มีการรายงานและการวิเคราะห์, B2B (การทำการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ) เป็นต้น

ฟีเจอร์หลักๆ ของ Shopify

1. ระบบจัดการสินค้า

แต่ละธุรกิจประกอบด้วยสินค้าหลายอย่างซึ่งต้องการการจัดการที่เป็นระบบระเบียบ Shopify เองมีการจัดการสินค้าที่รวมอยู่ในส่วนกลาง เก็บประวัติการสั่งซื้อและการจ่ายเงินของลูกค้า รวมทั้งข้อมูลการติดต่อของลูกค้าด้วย

2. ระบบชำระเงินที่ปลอดภัย

Shopify จัดการระบบการจ่ายเงินที่หลากหลาย รวดเร็ว และปลอดภัย สร้างความสะดวกสบายและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ เช่น การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต, มี Third-Party Payment เช่น Paypal หรือ Omise ซึ่งนอกจากจะง่ายทั้งกับฝั่งลูกค้าและฝั่งผู้ประกอบการแล้ว ยังมีการคืนเงินให้ลูกค้าได้ภายใน 1 สัปดาห์เมื่อเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ขึ้น

3. เทมเพลตสำเร็จรูป

Shopify เป็นเทมเพลตสำเร็จรูปเพื่อให้ผู้ประกอบการทำเว็บไซต์ออนไลน์ได้ไม่ยาก มีระบบครบพร้อมสำหรับทำการค้าและบริการออนไลน์ ทั้งยังสะดวกและเป็นมิตรต่อลูกค้าเพราะมีระบบที่เข้าใจง่ายและยังออกแบบสวยงาม สร้างความประทับใจให้ผู้มาใช้งาน

4. เครื่องมือส่งเสริมการขาย

ใน Shopify ผู้ประกอบการสามารถทำ Online Marketing เช่น การเขียน Blog, การทำ SEO, การทำลิงก์ไปยังช่องทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะ Facebook, Instagram, X (Twitter) รวมทั้งช่องทาง Online Marketplace อื่น เช่น Amazon หรือ eBay เพื่อเพิ่มยอดขายผ่านการโปรโมตในช่องทางต่าง ๆ

5. ระบบติดตามการขาย และรายงานผล

Shopify มีการติดตามและรายงานยอดขาย โดยผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบผลการขายล่าสุดได้ตลอด โดยใช้เวลาประมาณ 1 นาที แต่หากเป็นข้อมูลการขายสินค้าที่ลดราคาอาจใช้เวลานาน 12-72 ชั่วโมง การมีระบบติดตามและรายงานยอดขายทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาการตลาดของตนให้ดียิ่งขึ้นได้

ธุรกิจที่เหมาะใช้ Shopify

Image5

ธุรกิจที่เหมาะใช้ Shopify ส่วนมากเหมาะกับผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นแบรนด์ใหญ่แต่ต้องการขยับขยายธุรกิจในช่องทางออนไลน์ให้เป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และมีจำนวนพนักงานน้อย ไม่ได้มีเงินทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญการทำเว็บไซต์ Shopify จึงเป็นหนทางที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ แล้ว Shopify เหมาะกับธุรกิจใดบ้าง ตามมาดูไปพร้อมกันได้เลย

1. ธุรกิจ E-Commerce ที่ยังไม่มีเว็บไซต์

ธุรกิจ E-Commerce เป็นธุรกิจที่มองเห็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าผ่านการใช้ช่องทางออนไลน์ เช่น โซเชียลมีเดียต่าง ๆ อย่าง Facebook, Instragram, X (Twitter) หรือบางธุรกิจก็มี Application อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ยังคงเป็นหนึ่งช่องทางที่ใช้เป็นสื่อกลางกับลูกค้าได้ ธุรกิจ E-Commerce จึงควรมีเว็บไซต์เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า

2. ธุรกิจที่ต้องการสร้างหรือขยายฐานลูกค้า

การทำการตลาดของธุรกิจมีหลากหลายรูปแบบ แบบออฟไลน์ เช่น การจัดบูธหรืองาน Event เพื่อโปรโมตธุรกิจ และแบบออนไลน์ เช่น ทาง Social Media หรือช่องทาง Online Marketplace เช่น Amazon, eBay แต่การมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์เพิ่มอีกทางจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าให้เข้าถึงสินค้าและบริการได้มากขึ้น เป็นการขยายฐานลูกค้าได้ดีอีกทาง

3. ธุรกิจ Dropshipping

ธุรกิจ Dropshipping เป็นการขายของผ่านตัวแทนจำหน่าย ไม่ต้องซื้อของตุนไว้สำหรับขาย เมื่อมีลูกค้ามาซื้อของก็ติดต่อธุรกิจต้นทางให้เป็นผู้จัดส่งของให้ลูกค้า Shopify จะช่วยสนับสนุนให้มีช่องทางการติดต่อกับลูกค้าผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ได้ เพราะเว็บไซต์เป็นช่องทางยอดนิยมและมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นลูกค้าจึงนิยมใช้ช่องทางนี้ซื้อสินค้ากัน

4. ธุรกิจร้านค้าออนไลน์

ธุรกิจร้านค้าออนไลน์ใหญ่ ๆ ต่างก็มีเว็บไซต์ของตนเองเพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ไม่เพียงธุรกิจใหญ่ที่ทำแต่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กก็ควรมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์เป็นของตนเองเช่นกัน เพราะเว็บไซต์เป็นช่องทางให้ลูกค้าติดต่อและซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดาย ไม่ซับซ้อน สร้างความประจับใจให้ลูกค้าได้

ข้อดีและข้อเสียของ Shopify

Image1

หลังจากทำความรู้จัก Shopify ว่าคืออะไรและเหมาะกับธุรกิจแบบไหนไปแล้ว คราวนี้ก็มาดูกันว่าการทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ผ่าน Shopify มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด เราจะพาไปดูทั้งข้อดีและข้อเสียของ Shopify เพื่อประกอบการพิจารณาว่าคุ้มค่าหรือไม่ในการใช้งาน Shopify

ข้อดีของ Shopify

1. ใช้งานง่าย

Shopify เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาให้ผู้ประกอบการเข้าใจง่ายที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อน โดย Shopify จะช่วยวิเคราะห์ธุรกิจของเราว่าควรจะมีเว็บไซต์ในรูปแบบใดได้บ้าง

2. เทมเพลตให้เลือกหลากหลาย

Shopify ช่วยประเมินได้ว่าธุรกิจของเราเหมาะกับธีมแบบไหน หากต้องการออกแบบเว็บไซต์เองก็สามารถทำได้ ทั้งการเลือกสี เลือกรูปภาพและภาพพื้นหลังได้ ดีไซน์เว็บไซต์ได้ตามที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายที่สุด

3. รองรับการชำระเงินหลายรูปแบบ

Shopify รองรับการชำระเงินหลายรูปแบบทั้งจากการตัดเงินผ่านบัตรเครดิตจากธนาคารในประเทศ และการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศด้วย เช่น Apple Pay, Google Pay หรือการจ่ายแบบ Third-Party Payment ทั้งยังเก็บประวัติการสั่งซื้อและการชำระเงินของลูกค้าไว้อีกด้วย

4. ระบบซัพพอร์ต 24 ชั่วโมง

Shopify มีการสนับสนุนดูแลผู้ประการตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากอาจมีผู้ประกอบการที่ยังติดขัดกับระบบของ Shopify ดังนั้น Shopify จึงจัดเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยดูระบบหลังร้าน พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องอื่น ๆ ตลอดเวลา ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องกังวลหากเกิดปัญหาขึ้น

5. รองรับ SEO, HTML, CSS และอื่นๆ

เครื่องมือการทำการตลาดที่สำคัญอย่าง SEO, HTML, CSS และอื่น ๆ Shopify ก็รองรับทั้งหมด เพราะเล็งเห็นแล้วว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าเห็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ผ่านหน้า Google Search ได้มากขึ้น อาจส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ นี่จึงเป็นหนึ่งในข้อดีของ Shopify นั่นเอง

6. รองรับ Facebook Pixel และ Google Analytics

การวิเคราะห์เกี่ยวกับการขายเป็นสิ่งสำคัญในการทำการตลาด Shopify เองให้การรองรับ Facebook Pixel ซึ่งเป็นเครื่องมือในการติดตามและเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า และ Google Analytics ใช้เพื่อวิเคราะห์และเก็บสถิติของเว็บไซต์ โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์พร้อมพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้ดียิ่งขึ้นได้ การรองรับฟีเจอร์นี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้

ข้อเสียของ Shopify

1. ค่าใช้จ่าย

สำหรับ Shopify ทั้ง 4 รูปแบบคือ Basic Shopify, Shopify, Advanced Shopify และ Shopify Plus มีค่าใช้จ่ายต่างกัน แม้เดือนแรกจะเปิดให้ใช้ทั้ง 4 แบบโดยคิดค่าบริการเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่เดือนถัดไปก็จะเสียเต็มอัตรา โดยรูปแบบที่มีฟังก์ชันพิเศษก็จะเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนมากกว่ารูปแบบที่มีฟังก์ชันน้อย อีกทั้งสำหรับฟีเจอร์นอกเหนือจากนี้ผู้ประกอบจะต้องชำระค่าบริการเพิ่มเติมเอง ทำให้หลายคนมองว่า Shopify เก็บค่าบริการที่ค่อนข้างยิบย่อย

2. ความยุ่งยากของการปรับแต่ง

แม้ Shopify จะมีธีมและเทมเพลตให้เลือกใช้มากมาย แต่หากต้องการแก้ไขรายละเอียดของธีมและเทมเพลตอาจต้องใช้ความรู้พื้นฐานด้าน Coding หรือการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไข แต่หากไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมก็ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อธีมและเทมเพลต ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการมองว่าไม่ค่อยสะดวกสำหรับการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์เท่าใดนัก

สรุป

Shopify เป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ประกอบการมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์เป็นของตัวเองได้ โดยมีระบบดูแลหลังบ้านที่ไม่ซับซ้อน การออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งานของทั้งผู้ประกอบการและลูกค้า พร้อมทั้งรองรับฟังก์ชันที่สำคัญต่อการทำการตลาดอย่างเครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนการติดตาม วิเคราะห์และรายงานผลการขาย Shopify จึงเป็นจุดเริ่มต้นการทำเว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามและควรศึกษาไว้เป็นช่องทางการทำการตลาดเพื่อขยายขนาดของธุรกิจ

สนใจปรึกษา Cotactic

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่มีเว็บไซต์ หรือมีเว็บไซต์แล้ว แต่เว็บไซต์ของคุณยังไม่ติดอันดับใน Google อย่าเพิ่งปิดกั้นเส้นทางการเติบโตของธุรกิจด้วยคำว่า “ยังไม่เห็นความจำเป็น” เพราะเว็บไซต์เป็นสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้

ลองให้ Cotactic Media บริษัทรับทำเว็บไซต์และรับทำ SEO ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญกว่า 8 ปี คอยเป็นผู้ช่วยคุณเพิ่มความมั่นใจในทุกความท้าทายทางธุรกิจ เราพร้อมให้คำปรึกษาด้านการสร้างเว็บไซต์ วางโครงสร้างให้รับกับ SEO และช่วยคุณสร้างยอดขายไปพร้อมกัน

ติดต่อขอรับคำปรึกษารับทำเว็บไซต์กับ Cotactic ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารับทราบโจทย์ของคุณ คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

User Experience (UX) คืออะไร ทำไมถึงต้องให้มืออาชีพช่วยออกแบบ

User Experience คืออะไร ทำไมต้องให้มืออาชีพออกแบบ

Image9

10 แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ฟรี สวยสำเร็จรูปในไม่กี่ขั้นตอน

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้