การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard) คืออะไร?
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard) คือ การนำเรื่องราวมาถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพ โดยใช้ภาพวาด ภาพถ่าย หรือภาพกราฟิก เรียงต่อกันเป็นลำดับเพื่อบอกเล่าเรื่องราว มักใช้ในการผลิตภาพยนตร์ แอนิเมชั่น โฆษณา และวิดีโออื่นๆ สตอรี่บอร์ดช่วยให้ผู้สร้างสื่อสามารถวางแผนและสื่อสารเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เห็นภาพรวมของเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ มุมกล้อง และองค์ประกอบอื่นๆ ของสื่อได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สร้างสื่อสามารถทดสอบไอเดียใหม่ๆ และปรับปรุงเรื่องราวได้ก่อนที่จะนำไปผลิตจริง
วิธีการทำ Storyboard ที่สร้างสรรค์ และทรงพลัง!
การเขียน Storyboard คือการเรียงลำดับภาพในความคิดออกมา ก่อนที่จะถ่ายจริง ซึ่งเขียนออกมาเป็นฉากเรียงลำดับ 1,2,3,…. ซึ่งทำให้เห็นภาพของเรื่องราวที่จะเล่า ปัญหาส่วนใหญ่ของคนที่จะเริ่มทำคือ ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนมีองค์ประกอบอะไรที่ต้องใส่เข้าไปบ้าง ซึ่งวันนี้ Cotactic Media บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress เอเจนซี่การตลาดโฆษณา ได้มีเทคนิคการทำ Storyboard แบบพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้ และยังเหมือนมือโปรอีกด้วย
*Note: ดาวน์โหลดฟรี!! Storyboard Template ท้ายบทความ
5 เทคนิค วิธีการทำ Storyboard ฉบับมือโปร
1. เทคนิคหา Key Message ให้โดนใจคนดู
-
ทำ Research กับกลุ่มคนดู
ว่าเขาเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มีความชอบหรือสนใจ ซึ่ง Insight การทำ Storyboard เหล่านี้จะเป็นจุดที่คอยดึงคนเข้ามาดู Video ของเรามากขึ้น
เช่น โฆษณาของ K PLUS ชื่อ FACE OFF นั้นหยิบ Insight ที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่คุ้นเคย ซึ่ง แอป KPLUS ในตอนนั้นกำลังจะ Update ครั้งใหญ่ โฆษณา FACE OFF จึงสื่อสารว่าถึงหน้าตาจะเปลี่ยนไปแต่คุณภาพในการใช้งานยังเหมือนเดิม
-
ปัญหา” ของคนดู
บางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังประสบปัญหาเรื่องเล็กน้อยในชีวิต เราต้องสังเกตพฤติกรรม เพื่อนำจุดนั้นมาทำ Key Message และตอบ Pain Point ของคนดูได้
เช่น โฆษณา AirPay ที่ได้จับ Pain Point “คนข้างหน้าเรื่องเยอะเสมอ” ทั้งๆที่เราอยากจะแค่จองตั๋วหนัง แต่ต้องมารอคนจ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งเป็น Pain Point ที่เจอได้ทุกวัน และ AirPay ก็นำเสนอตัวเองเป็น Solution ในการแก้ปัญหานี้
-
ความแตกต่าง
การบอกว่าเราแตกต่าง แปลกใหม่กว่าคนอื่นอย่างไร ก็เป็นอีกหนึ่ง Key Message ที่ใช้กันเยอะ เพราะถ้ายิ่งทำออกมาได้ชัดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความน่าสนใจได้มากขึ้นเท่านั้น
เช่น โฆษณาของ Sunsilk ชื่อ The Hair Talk ที่บอกเล่าเรื่องผ่าน LGBT กับครอบครัว ซึ่ง Sunsilk ใช้ความแตกต่างในเรื่องของยาสระผมที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นแบรนด์สำหรับผู้หญิงเท่านั้น
2. Storytelling
-
เล่าตามเหตุการณ์ปกติ
เป็นการเล่าเรื่อง จาก 1 ไป 2 ไป 3 ปกติ ซึ่งการเล่าเรื่องแบบนี้มีข้อดีคือ ทำให้คนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การทำ Storyboard ไม่ต้องคิดเยอะ แต่ถ้าเนื้อหาของเรานั้นไม่ได้มีความน่าสนใจพอ ก็จะทำให้คนดูอาจจะเบื่อ ดูไม่จบ แต่เทคนิคนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดี คือการเล่าเรื่องให้คนเข้าใจ
ตัวอย่างโฆษณาของ Kleenex Thailand ชื่อ Tiny Doll ที่ใช้เทคนิคการเล่าตามเหตุการณ์ปกติ แต่เพิ่มความน่าสนใน Video ด้วยการถ่ายแบบ Long Take
-
การเรียงลำดับเรื่องใหม่
การเล่าเรื่องแบบนี้ สามารถกระโดดข้ามไปมาได้ จะเอาตอนท้ายเรื่องมาไว้ต้นเรื่อง หรือ ต้นเรื่องไปไว้กลางเรื่องก็ได้ เทคนิคนี้จะมีความยืดหยุ่นในการเล่าเรื่อง เพราะมีความอิสระในการตีความใหม่ทั้งหมด แต่จะมีข้อเสียคือถ้าลำดับเรื่องไม่ดี ก็จะทำให้คนดูไม่เข้าใจเนื้อหาที่อยากจะสื่อไป
โฆษณา My Beautiful Woman ของ Wacoal ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบตัดสลับกันในตอนท้าย โดนที่ผู้กำกับตั้งใจที่จะให้คนดูเกิดความเข้าใจผิด เพื่อที่จะเฉลยในตอนท้ายแล้วเกิดความประทับใจในเรื่องนี้
3. Mood and Tone
-
Mood
Mood คือ อารมรณ์ของ Video เช่น สนุกสนาน เศร้า ร่าเริง ความสงบ ประหลาดใจ โกรธ
-
Tone
Tone คือ สีที่ใช้ในวีดีโอ โดยสีจะบอกความรู้สึกที่เรารู้กัน สีโทนเย็นหรือสีโทนร้อน ซึ่งขึ้นกับว่าต้องการจะสื่อออกมาในทิศทางไหน เช่น ถ้าอยากให้ภาพใน Video ดูสนุก สดใส อาจจะต้องใช้สีโทนร้อนเพื่อทำให้คนดูรู้สึกถึงความีชีวิตชีวา ไม่หยุดนิ่ง แต่กลับกันเราอยากจะให้ Video รู้สึกน่ากลัว ลึกลับ อาจจะต้องใช้สีโทนเย็นเพื่อให้รู้สึกสุขุมขึ้น นิ่งขึ้น
ตัวอย่างงานกำกับจาก เอก Suneta ชื่อ “สบู่ยี่ห้อนึง” ที่ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นว่า Mood&Tone มีความสำคัญต่อความรู้สึกในงาน Video มากแค่ไหน
4. Shot References
-
เทคนิคการหา Shot References
เทคนิคการหา Reference Shot นั้นคือการเลือกภาพที่สื่อความหมายที่เราอยากสื่อมากที่สุด เพราะต่อให้เป็นท่าทางเดียวกัน แต่มุมกล้องต่างกันบริบทไม่เหมือนกัน ก็ทำให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนไป ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงแสงเงาของภาพเข้าไปด้วย
จากตัวอย่างจะเป็นฉากการเขียนสมุดบันทึก ซึ่งเป็นท่าทางเดียวกัน แต่ด้วยมุมกล้องและแสง ทำให้มีอารมณ์ที่ต่างกันสิ้นเชิง
- มุมกล้องเห็นครึ่งตัว ท่าทางกำลังจดบันทึกและแสงในภาพให้ความตอนเช้า ทำให้รู้สึกเป็นกิจวัตรประจำวันทั่วไป
- มุมนี้ทำให้เห็นว่าอยู่ในห้องที่ดูอึดอัดด้วยแสงไฟ บวกกับท่าทางการเขียนที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
- มุมแทนสายตานี้ให้ความรู้สึกเหมือนคนดูกำลังเขียนเองอยู่ บวกกับแสงในภาพค่อนข้างสว่าง ยิ่งทำให้เห็นว่าสิ่งที่เขียนอยู่เป็น Code ที่ดูไม่มีความลับอะไร
-
งานที่ควรนำมาเป็น References
การหา Shot Reference นั้นควรหาจากงาน โฆษณา / Music Video / หนัง / Filmmaker เพราะงานประเภททาง Production จะมีการคิดเรื่องแสง เงา ท่าทาง เพื่อให้ฉากสวยงามอยู่แล้ว เหมาะแก่การนำมาเป็น Reference ได้เลยโดยไม่ต้องไปคิดเอาเอง
Website สำหรับหา Video References
Website สำหรับหา Shot References
5. Transition ที่ใช้เพิ่มสีสันในงาน Video
-
Cut
คือการเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งแบบทันทีทันใด โดยไม่ใช้เทคนิคใดๆ ในการเชื่อมต่อภาพ ลักษณะที่ปรากฏออกมาจึงเป็นภาพที่ต่อด้วยภาพ จะถ่ายทอดความรู้สึกฉับไว นอกจากนี้เรายังรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา
-
Fade
คือการเปลี่ยนภาพ โดยภาพจะแทนที่ด้วยฉาก โดยการ Fade นี้ สามารถแบ่งออกเป็น Fade In และ Fade Out
Fade In ใช้สำหรับการเริ่มต้นของเรื่องราว หรือเหตุการณ์
Fade Out คือภาพหลักจะค่อยๆ จางลงกลายเป็นภาพสีดำ
-
Dissolve
Dissolve คือการเปลี่ยนภาพ โดยภาพแรกค่อยๆจางไปสู่อีกภาพ โดยที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเหมือนการ Cut เทคนิคจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ราบรื่น และนุ่มนวล โดยจะใช้เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว
-
Wipe
การปาด คือหน้าจอจะมีลักษณะของการปาดภาพที่ต้องการจะเปลี่ยน ทับลงบนภาพที่ปรากฎอยู่
การใช้ Wipe อาจสร้างความรู้สึกไม่สมจริงของเรื่องราว ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อแบ่งเรื่องราวทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน
-
Digital Effect
เป็นเทคนิค Transition แบบใหม่ ที่นำมาใช้กับงานที่เน้นความน่าสนใจของภาพ เช่น งานโฆษณา หรือ Motion Graphics เทคนิคช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับงาน หากเป็นงานประเภทที่ต้องการดึงดูดความสนใจสูง
และนี่ก็คือเทคนิคทั้ง 5 สำหรับการเขียน Storyboard ที่ระดับมือโปรมักจะทำกัน แต่ถ้าคุณเป็นมือใหม่ยังเริ่มต้นไม่ถูก คุณสามารถดาว์โหลด Template Storyboard จากพวกเรา Cotactic ได้เลย
Download Storyboard Template by Cotactic Media