click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

สำหรับคนทำ SEO ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการสร้างคอนเทนต์คุณภาพให้เว็บไซต์ติด Ranking SEO ในอันดับต้น ๆ ในทางกลับกัน หากคอนเทนต์ที่เคยทำตกอันดับจนน่าใจหาย ก็อาจทำให้คุณคิดว่าตนเผลอทำอะไรผิดพลาด แต่อันที่จริงแล้ว อันดับใน Google สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะ Google Algorithm ที่ใช้ในการจัดอันดับจะมีการอัพเดทการทำงานตลอดเวลา และการอัพเดทครั้งล่าสุดก็เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การอัพเดทครั้งนี้จะส่งผลต่อการจัดอันดับอย่างไร คนทำ SEO ต้องปรับตัวแค่ไหน มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน!

Google Algorithm Update คืออะไร

Google Algorithm คืออะไร?

Google Algorithm คือ ระบบที่ Google ใช้พิจารณาว่าข้อมูลใดตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และควรแสดงในหน้าการค้นหาเป็นลำดับแรก ๆ โดยพิจารณาจากการใช้ Keyword, การสร้าง Backlink, คุณภาพเนื้อหา และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ปกติแล้ว Google จะอัพเดท Algorithm เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการ Search หาข้อมูล ซึ่งถ้าการอัพเดทครั้งใดทำให้ผู้ใช้เห็นผลกระทบได้ชัดเจน เช่น การอัพเดทความเร็ว หรือการอัพเดทหลัก ที่อาจทำให้บางเว็บไซต์มีอันดับสูงขึ้นหรือลดลง Google จะมีประกาศแจ้งล่วงหน้าผ่านทาง Google Search Central

ประวัติการอัพเดทครั้งสำคัญของ Google Algorithm

แม้ Google Algorithm Update จะเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่มีเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นที่สั่นสะเทือนวงการคนทำ SEO ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอัพเดท AI ให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์มากขึ้น และนี่คือตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

  • Panda ตัวช่วยลดเนื้อหาคุณภาพต่ำ

Google Update ตัวแรก Panda Algorithm เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เพื่อตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาในเว็บไซต์ ป้องกันการคัดลอก และละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น โดยคอนเทนต์ที่เสี่ยงถูกตรวจจับโดย Panda คือคอนเทนต์ที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์อื่น, ใช้ Keyword ซ้ำ ๆ มากเกินไป หรือมีจำนวนคำค่อนข้างน้อย

  • Pengiun ตัวช่วยตรวจสอบสแปม

ต่อมาในเดือนเมษายน 2012 Penguin Algorithm ก็ถือกำเนิดขึ้น พร้อมความสามารถในการตรวจจับ Off-page Blog จากเว็บไซต์ภายนอกที่ไม่มีคุณภาพ เช่น มาจากเว็บไซต์ที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อดัน Ranking SEO โดยเฉพาะ หรือเว็บไซต์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นสแปม 

  • Hummingbird เพื่อการแสดงผลที่แม่นยำ

เพื่อการตีความคำค้นหาที่ตรงใจผู้ใช้มากขึ้น Google Update อัลกอริทึมตัวใหม่ชื่อ Hummingbird Algorithm เมื่อเดือนสิงหาคม 2013 โดยเน้นการประมวลผลคำค้นหายาว ๆ หรือการค้นหาที่เป็นประโยค และพยายามแสดงผลให้ตรงกับที่ผู้ใช้มุ่งหวัง มากกว่าการโฟกัสเฉพาะคำค้นหาหลัก

  • Mobile Friendly Update เพื่อการใช้งานบน Smartphone และ Tablet

ในเดือนเมษายน 2015 Google มีการอัพเดท Algorithm ใหม่คือ Mobile Friendly Update เพื่อตรวจสอบและให้คะแนนเว็บไซต์ที่เหมาะแก่การใช้งานบน Smartphone หรือ Tablet นั่นหมายความว่า เว็บไซต์ที่ไม่ได้ดีไซน์ให้ใช้งานได้ง่ายบนอุปกรณ์เหล่านี้ อาจถูกช่วงชิง Ranking SEO และตกอันดับไป

Google Algorithm Moblie friendly

ที่มา: dailytech

  • BERT อีกขั้นของการแสดงผลลัพธ์อย่างเข้าใจบริบท

BERT Algorithm เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม 2019 ทำงานโดย AI Neural Network ซึ่งทำงานแบบเดียวกับระบบประสาทของมนุษย์ เพื่อให้สามารถเข้าใจภาษาของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น โดย Algorithm นี้จะมุ่งเน้นที่การตีความบริบทของ Long-tail Keyword หรือคำค้นหาขนาดยาวแบบจำเพาะเจาะจง เพื่อเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

  • เตรียมตัวเข้าสู่ Mobile-first Indexing Website

หลังจากปี 2015 ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการค้นหาผ่านมือถือ ในเดือนกรกฎาคม 2020 Google Update อย่างเป็นทางการให้ทั้งเว็บไซต์เก่าและเว็บไซต์ใหม่ เตรียมพร้อมดีไซน์หน้าเว็บไซต์แบบ Mobile Version 

Google Algorithm Update the customer journey

ที่มา: Search Engine Land

  • MUM ตัวช่วยใหม่ที่ไปไกลกว่า BERT 

ในเดือนพฤษภาคม 2021 Google มีการอัพเดท Algorithm ใหม่ MUM (Multitask Ultified Model) ที่ทรงประสิทธิภาพในการตีความ Long-tail Keyword ได้มากกว่า BERT ถึง 1,000 เท่า

การอัพเดทล่าสุดของ Google Algorithm 2022

กว่า 10 ปีที่ผ่านมา Google Algorithm Update ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานหลายครั้ง จนกระทั่งการอัพเดทหลักครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งการอัพเดทครั้งนี้ Google ให้ข้อมูลว่า เป็นเพียงการอัพเดทระบบ Search โดยรวม ไม่ได้เจาะจงไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ แต่อาจทำให้อันดับของเว็บไซต์เปลี่ยนแปลงได้ และดังเช่นที่เราได้กล่าวไว้ เจ้าของเว็บไซต์ที่อันดับลดลงมาก อาจรู้สึกว่ามีบางสิ่งต้องแก้ไข ซึ่งในประเด็นนี้ Google แนะนำว่า หากหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้ละเมิดหลักเกณฑ์สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ เช่น คัดลอกเนื้อหา, ใช้ Keyword ที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือจงใจหลอกลวงผู้ใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานแต่อย่างใด

คนทำ SEO ควรรับมืออย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงของ Google Algorithm Update ในแต่ละครั้งย่อมส่งผลกระทบต่อการทำ SEO ไม่มากก็น้อย สิ่งที่เราสามารถทำได้ ก็คือการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาตามคำแนะนำของ Google ดังนี้

Google Algorithm Update คนทำ SEO ควรรับมืออย่างไร

  • ข้อมูลน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

ลองพิจารณาว่า คอนเทนต์ที่คุณสร้างสรรค์ลงเว็บไซต์ เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือมีแหล่งอ้างอิง เช่น ต้นฉบับรายงาน, งานวิจัย, หรือการวิเคราะห์ข้อมูล ที่น่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่

  • หลีกเลี่ยงบทความขนาดสั้น ไม่มีสาระสำคัญ

คอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพสำหรับ Google คือบทความที่มีเนื้อความน้อย ขาดแรงจูงใจ และไม่ได้ให้ความรู้ในด้านที่จำเพาะเจาะจง 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำเร้าความรู้สึกเกินจริง

สำหรับ Google พาดหัวหรือชื่อเรื่องที่เต็มไปด้วยประโยคเร้าความรู้สึก โดยไม่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา ถือเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพต่ำ 

  • ระวังการคัดลอกเนื้อความจากเว็บไซต์อื่น

ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลอื่น แต่ได้เพิ่มคุณค่าอย่างมีสาระสำคัญ และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อนำเสนอความรู้ในหัวข้อใหม่ ๆ

  • คำผิดและการจัดวางที่ถูกต้องมีผลต่อ Ranking SEO

พึงระวังเรื่องคำที่สะกดผิด หรือการสะกดคำแบบพิเศษตามสไตล์ของผู้เขียน และการจัดลำดับ Title, H1, H2, H3 ในบทความ เพราะมีผลต่อการให้คิดคะแนนตอนทำ SEO

  • พยายามอย่าใส่ Keyword มากเกินไป

การทำ SEO แบบเก่า อาจเน้นการใส่ Keyword ลงไปในเนื้อหามาก ๆ เพื่อให้ติดอันดับสูง ๆ ใน Ranking แต่ในระยะหลังมีคนคิดค้นโปรแกรมสำหรับการทำ SEO ที่มุ่งหวังการปั่นอันดับโดยเฉพาะ Google จึงพัฒนา Algorithm ที่สามารถคัดกรอง Keyword ที่ไม่เป็นธรรมชาติได้ และเพื่อไม่ให้ระบบหักคะแนนเว็บไซต์ของเรา คุณจึงควรกระจาย Keyword ให้พอดี (ตำแหน่งที่ควรมี: ในชื่อเรื่อง, หัวข้อรอง, Meta Description, Alt Images และสรุปท้ายบทความ) และอย่าลืม Long-tail Keyword เพื่อรองรับการค้นหาแบบเจาะจง

รู้จักกับหลักเกณฑ์ประเมินคุณภาพเนื้อหา E-A-T

E-A-T คือ หลักเกณฑ์ที่ Google Algorithm ใช้ประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ เพื่อจัดอันดับคะแนนในการทำ SEO โดยมีรายละเอียดดังนี้

Google Algorithm Update EAT

ที่มา: mariehaynes

  • E (Expertise)

หมายถึง “ทักษะเฉพาะทาง” ซึ่งประเมินจากเนื้อหาที่จำเพาะเจาะจงในบทความ ความเชี่ยวชาญของผู้เขียน และ การเลือกใช้ Keyword ตรงกับเรื่องที่เขียน ที่มอบองค์ความรู้เพิ่มเติมให้กับผู้อ่านอย่างแท้จริง

  • A (Authority)

หมายถึง “การเป็นเจ้าของเนื้อหาอย่างแท้จริง” โดยวัดจากจำนวนการแชร์ออกไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่จะทำให้คนเข้าถึงมากขึ้น หรือการที่ผู้คนพยายาม Search หาข้อมูลโดยใช้ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อผู้เขียน และความสดใหม่ของเนื้อหา ที่พิสูจน์ได้ว่าผู้เขียนคือคนริเริ่ม ไม่ใช่การคัดลอกจากคนอื่น

  • T (Trustworthy)

หมายถึง “ความน่าเชื่อถือ” พิจารณาจากแหล่งที่มาของข้อมูล และการระบุตัวตนอย่างชัดเจน เช่น มีการสร้าง Domain ที่น่าเชื่อถือ หรือการระบุ Contact ไว้อย่างชัดเจนบนหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น 

 

การทำ SEO นอกจากจะต้องผลิตคอนเทนต์คุณภาพ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจอื่นแล้ว ยังต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี และติดตามการอัพเดทใหม่ ๆ ของ Google Algorithm ตลอดเวลา เพื่อรักษาอันดับใน Ranking SEO และเพื่อเพิ่มการเข้าถึงที่ยั่งยืนให้กับเว็บไซต์ต่อไป

——————————————————————– 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการรับทำเว็บไซต์ WordPress ทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับ E-E-A-T ส่วนสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ติดหน้าหนึ่ง

ทำ SEO ให้ปังด้วยหลัก E-E-A-T Factor

อัปเดต 15 เครื่องมือทำ SEO ปี 2024

SEO Tools อัปเดต 10 เครื่องมือทำ SEO ปี 2024

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้